บทความวิจัย



ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนที่เคยติดโรคโควิด-19 อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา  Related of Health Literacy with Health Promoting and Disease Preventive Behaviors of People COVID-19 Infected Theparak District, Nakhon Ratchasima Province

นายประภาส ปืนกระโทก
    ศูนย์พัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น. เทพารักษ์. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนที่เคยติดโรคโควิด-19 อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ตัวแปรที่ศึกษา คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่เคยติดโรคโควิด-19 จำนวน 280 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติ Chi-Squareและเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient)



ผลการศึกษา พบว่า

1. ประชาชนที่เคยติดโรคโควิด - 19 อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ คะแนน ร้อยละ 11.11 (SD=15.93) ระดับปรับปรุง การตัดสินใจเลือกปฏิบัติ คะแนนเฉลี่ย 3.97(SD.0.57) ระดับดี การเข้าถึงบริการบริการสุขภาพ การสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญการจัดการเงื่อนไขการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค คะแนนเฉลี่ย 4.02 4.12 4.02 4.13และ3.69 (SD.0.66 0.55 0.59 0.53 และ0.43) ระดับดีมาก



2. ประชาชนที่เคยติดโรคโควิด - 19 อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา อาชีพ รายได้/เดือน ระยะเวลากักตัว และการได้รับวัคซีน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

3. ประชาชนที่เคยติดโรคโควิด - 19 อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ที่มีการเข้าถึงบริการสุขภาพ การสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญ การจัดการเงื่อนไข การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

4. ประชาชนที่เคยติดโรคโควิด - 19 อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ที่มีความรู้ความเข้าใจ มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05




คำสำคัญ : -

-

keywords : -

อ้างอิง


กรมควบคุมโรค. (2563). คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย.

กรมควบคุมโรค. (2563). มาตรการและแนวทางการดำเนินการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19).

กระทรวงมหาดไทย. (2563). มาตรการป้องกัน และลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด-19) เข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). การดำเนินงานเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในชุมชน.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ขอความร่วมมือสนับสนุนการรณรงค์ "อสม. เคาะประตูบ้านต้านโควิด19".

กระทรวงสาธารณสุข.(2565). แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น. กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

กามีละ ซงศิริรัตน์ ปานอุทัย และภารดี นานาศิลป์. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุมุสลิม. พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(3); 83-94.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ ด้านสุขภาพเรื่องการป้องกันวัณโรคในชุมชน.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). แนวทางการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ.2 ส. และลดเสี่ยง. นนทบุรี: นิวธรรม ดาการพิมพ์

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2557). คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของคน ไทย อายุ 15ปีขึ้นไป ในการปฏิบัติตามหลัก 3อ 2ส (ABCDE-Health Literacy Scale of Thai Adults). นนทบุรี:นิวธรรมดาการพิมพ์

กรมควบคุมโรค. (2564ก). ข่าวเพื่อสื่อมวลชน. สืบค้น 1 มกราคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/news.php

กรมควบคุมโรค. (2553). ค าแนะน าจากกระทรวงสาธารณสุข ส าหรับประชาชนในการป้องกันภัย หนาว. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.riskcomddc.com/advice-aboutdisease-detail.php?id=16607

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวคิดหลักของความรอบรู้ด้านสุขภาพ. สำนักโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน.

กองสุขศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.(2558). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับวัยทำงาน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ ด้านสุขภาพ เรื่อง การป้องกันวัณโรคในชุมชน.

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ และนรีมาลย์ นีละไพจิตร. การสำรวจความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ (Health literacy) ของผู้ป่วยโ ร ค เ บ า ห ว า น แ ล ะ ค ว า ม ดั น โ ล หิ ต สูง [อินเทอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม Thai Journal of Health Education January – June 2021 Vol.44 No.1 862 5 6 0 ] . เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก :http://www.hed.go.th/news/5523.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการสร้าง. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์; 2560.

เชาวลิต เลื่อนลอย. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย . วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 2(1); 18-33.

ณัฐริกา พร้อมพูน กฤษิณี เหลื่อง วรางคณา คงสวัสดิ์ กฤติญา เส็งนา และภูษณิศา มนีาเขตร. (2565). ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันโรคโควิด-19 และพฤติกรรมสุขภาพแบบชีวิตวิถีใหม่ ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและการพยาบาล มหาวิทยาลยัอุบลราชธานี, 1(1); 16-27.

ดาวรุ่ง เยาวกูล ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม นิภา มหารัชพงศ์. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตสุขภาพที่ 6 . วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(1): 257-272.

ธณกร ปัญญาใสโสภณ.(2564). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ. วิทยาลัยนครราชสีมา: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เลิศศิลป์ สาส์ณโฮลดิ้ง.

ธีราเมษฐ์ จิราวุฒิพันธ์ ศิริรัตน์ ปานอุทัย และเดชา ทำดี. (2565 ). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในพระสงฆ์สูงอายุโรคเรื้อรังหลายโรคร่วม . พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(3): 42-55.

นฤมล ตรีเพชรศรุอุไร และเดชา เกตุฉ่ำ. (2554). การพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคอ้วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ระยะที่ 1). นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

ไฟซอล จะปะกิยา มุฟลิหยาลอCua Ngoc Le และสุปรีชี แก้วสวัสดิ์. (2563 ). การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้โอกาสเสี่ยง และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 35(2); 49-58.

เยาวดีวิบูลย์ศรี. (2545). การวัด และการสร้างแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัชนี เต็มอุดม ศิริลักษณ์ ใจช่วงกนกพร ไทรสุวรรณ์พเยาวดี แอบไธสง และบารเมษฐ์ภิราล้ำ. (2564). การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น,28(1); 1-13.

วชิระ เพ็งจันทร์. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. ในเอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรมอนามัย เรื่อง ความรอบรู้สุขภาพมุ่งสู่ประเทศไทย, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

วรรษมน จันทรเบญจกุล. (2563). การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้น 4 สิงหาคม 2563, จาก

https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/handout002_26022020.pdf

วิชัย เทยีนถาวร และณรงค์ ใจเที่ยง. (2564 ). ศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในกลุ่มวัยเรียนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(2); 126-137.

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 44(3); 183-197.

ศศิธร คำมี มาลี เอื้ออำนวย และวรรณ์วิการ์ ใจกล้า. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกันโรคโควิด 19 ของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาลตำรวจ, 14(1); 14-23.

ศูนย์ข้อมูลโควิด19 (ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19; ศบค.). ข้อมูลแถลงข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 (ศบค.) วันที่ 5เมษายน 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.facebook.com/informationcovid19/photos/pcb.535856308032698/535855348032794

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ. ฉบับปรับปรุง นนทบุรี.2541.

สุภาวดี ธิติมูล ณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์ ศิริรัตน์ ปานอุทัย. (2565 ). รอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ . พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(3); 56-69.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2564). ศูนย์ข้อมูลโรคโควิด-19 จังหวัดนครราชสีมา. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา [Internet]. 2021 [cited 2022 April 22]. Available from: https:// www.prachachat.net/local-economy/news-869406.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2565). ศูนย์ข้อมูลโรคโควิด-19 จังหวัดนครราชสีมา. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทพารักษ์. (2565). ศูนย์ข้อมูลโรคโควิด-19 อำเภอเทพารักษ์. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา.

อมร ลีลารัศมี. (2563). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ COVID-19 จากเชื้อไวรัสSARS-CoV-2. Retrieved from https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/tmc-covid19-19.pdf

อำพล จินดาวัฒนะ สุรเกียรติ อาชานุภาพ และสุรณี พิพัฒน์โรจนกมล. (2551). การสร้างเสริมสุขภาพ: และบทเรียนของไทย.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ; หมอชาวบ้าน.

ดาวน์โหลด