บทความวิจัย



การพัฒนารูปแบบการวางแผนจ าหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอดตามแนวคิด D-METHOD  Development of planning models Discharging Pulmonary tuberculosis patients according to the D-METHOD concept

นางสุพพัตธิดา เถาว์ชารี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี
    ประชุมวิชาการการพัฒนาคุณภาพ ประจำปี 2566 HACC FORUM ครั้งที่ 16. เมืองยาง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากมีอัตราการติดเชื้อและมีเชื้อที่ดื้อยามากขึ้น องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรง แต่ละปีพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ประมาณ 120,000 ราย เสียชีวิตกว่า 13,800 ราย ที่ส าคัญมีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานประมาณ 4,500 ราย ต้องใช้งบประมาณในการรักษาสูงถึง 1.2 ล้านบาทต่อรายหากดื้อยารุนแรง โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง มีผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ปี 2563 -2665 จ านวน 14, 26, และ 16 รายตามลำดับ พบอัตราการกลับมารักษาซำ้และนอนโรงพยาบาล ร้อยละ 7.14, 3.85, และ 6.25

ตามล าดับ ผลการทบทวนอุบัติการณ์ปัญหาที่พบคือ ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องโรคและการปฏิบัติตัว มีอาการข้างเคียงจากการรับประทานยารักษาวัณโรค ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ บางรายมีโรคประจ าตัวร่วม ญาติผู้ดูแลไม่รู้วิธีการดูแลที่ถูกต้อง แนวทางปฏิบัติการ

จำหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอดไม่ชัดเจน เป็นการให้ข้อมูลและค าแนะน าทั่วไปตามแผนการรักษา มีการจำหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอดออกจากโรงพยาบาลเร็วไม่ตรงตามที่ก าหนดไว้ การส่งต่อข้อมูลติดตามเยี่ยมบ้านและการประสานงานไม่ครบถ้วน ส่งผลท าให้แผนการรักษาไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning) จึงเป็นกระบวนการที่สำคัญที่สามารถเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยวัณโรคปอดและญาติตั้งแต่เข้ารับการรักษาจนกระทั่งจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เพื่อลดอัตราการกลับมารักษาซ้ าและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ปัจจุบัน การพัฒนารูปแบบการจ าหน่ายผู้ป่วยมีการน าแนวคิด D-METHOD มาใช้ในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค (Disease) การรับประทานยา (Medication ) การจัดการกับสิ่งแวดล้อมและภาวะทางเศรษฐกิจ (Environment/Economic) การปฏิบัติตามแผนการรักษาพยาบาล (Treatment) การดูแลสุขภาพ(Health) การมาตรวจตามนัด (Outpatient referral) และการรักประทานอาหาร (Diet) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ครอบคลุมกับแผนการรักษาและเหมาะสมกับบริบทในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคปอด งานการ

พยาบาลผู้ป่วยใน จึงได้มีการการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดและญาติมีความรู้เรื่องโรค และปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดการกลับมารักษาซ้ าในโรงพยาบาล วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจ าหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอด

และเพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดมีความรู้และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ลดอัตราการกลับมารักษาซ้ าในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน วิธีดำเนินการ ประกอบด้วย

1. ประชุมทีมพยาบาล และก าหนดผู้รับผิดชอบหลัก ทีมสหวิชาชีพที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระบวนการวางแผนจ าหน่าย ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักวิชาการสาธารสุข นักโภชนาการ เป็นต้น2. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจ าหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอด ประกอบด้วย2.1 ประเมินความรู้ผู้ป่วยวัณโรคปอดในวันแรกที่เข้ารับการรักษา และก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยใช้แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับวัณโรค ลักษณะค าถามเป็นแบบปรนัย 3

ตัวเลือก จ านวน 18 ข้อ แบ่งการวัดระดับความรู้ออกเป็น 3 ระดับ คือ สูง กลาง ต่ำ 2.2 ให้ความรู้ผู้ป่วยวัณโรคปอดร่วมกับญาติผู้ดูแล ตามหลักการ D-MEDTHOD ในวันแรกที่เข้ารับการรักษา และให้ความรู้อีกครั้งก่อนจ าหน่ายออกจากโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่ผลการประเมินยังอยู่ในระดับต่ าและปานกลาง

3. ก าหนดช่องทางการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ต้องติดตามเยี่ยมผ่านช่องทางสื่อสารออนไลน์ คือ Line group ชื่อทีมดูแลต่อเนื่อง COC , และส่งต่อข้อมูลในระบบ Thai COC ทุกรายเพื่อให้ผู้รับผิดชอบงานติดตามเยี่ยมผู้ป่วยหลังจ าหน่ายออกจากโรงพยาบาลผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยวัณโรคปอดมีความรู้ก่อนได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 80 และไม่พบอัตราการกลับมารักษาซ้ าในโรงพยาบาล

ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอด ควรมีการประเมินความพร้อมของผู้ป่วยและญาติให้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และปัจจัยด้านอื่นๆ ควบคู่กัน และให้ญาติมีส่วนร่วมในจะทำให้เกิดความส าเร็จในการรักษายิ่งขึ้น

คำสำคัญ : การวางแผนการจำหน่าย ผู้ป่วยวัณโรคปอด

อ้างอิง




1. ปาจรีย์ ตรีนนท์, พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์ อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ.การพัฒนาโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอด.รามาธิบดีพยาบาลสาร.2557; 20(1):50-66.

2. อุ่นเรือน กลิ่นขจร, สุพรรษา วรมาลี คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอักเสบ. [Internet]. 2563 [cited 2023 Aug 24]; Available from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/64002

3. อ่อนน้อม ธูปะวิโรจน์. ผลของการวางแผนจำหน่ายเละการติดตามทางโทรศัพท์ต่ออัตราการ

กลับมารักษาช้าและความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยเบาหวาน และความพึงพอใจในงาน

ของพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์; 2555.

4. เพ็ญศรี เลาสวัสดิ์ชัยกุล,การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ.รามาธิบดีพยาบาลสาร.2544 ;7(1);73-80.

5. โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี. รายงานผลการดำเนินงานโรควัณโรค งานการ

พยาบาลผู้ป่วยใน กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี ประจำปี

งบประมาณ 2563-2566: นครราชสีมา: โรงพยาบาล; 2565.

ดาวน์โหลด