บทความวิจัย



การพัฒนาระบบการทำงานของอสม.(หมอคนที่1) ด้วยกลยุทธ์ 6 ต. เพื่อสังคมสูงวัย  Development of the Public health volunteers By 6 Strategic for Aging Society

นางสาวกฤษณา จำปาโพธิ์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี
    ประชุมวิชาการการพัมนาคุณภาพ ประจำปี 2566 HACC FORUM ครั้งที่ 16. เมืองยาง. นครราชสีมา. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


จากการทบทวนการดำเนินการดูแลผู้สูงอายุตั้งแต่ปีพ.ศ.2562 พบว่ารากของปัญหาคือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่รวดเร็วและมีโรคประจำตัว ขาดผู้ดูแล จึงบูรณาการนโยบาย 3 หมอ และอสม.4.0 คือ การมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพดูแลต่อเนื่องทีมต้นยางและส่งเสริมการดูแลในชุมชนแบบไร้รอยต่อโดยมีทีมลูกยางเคลื่อนที่เร็วซึ่งอสม.เป็นฟันเฟือนเชื่อมประสานในชุมชนในช่วงการระบาดของโควิด19 นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สอดคล้องกับปีแห่งสุขภาพสูงวัยไทยพ.ศ.2566 จากการดำเนินงานปีพ.ศ.2563-2565 พบว่า 1)จำนวนผู้สูงอายุติดเตียงติดบ้านร้อยละ4,7และ8ตามลำดับ 2)อัตราการตอบกลับระบบให้คำปรึกษาของทีมลูกยางเคลื่อนที่เร็วภายใน2ชั่วโมงคือร้อยละ64,86และ91ตามลำดับ 3)อัตราความครอบคลุมของรายงานคัดกรองผู้สูงอายุ9ด้านจากแอปสมาร์ทอสม.เว็บไซต์3หมอไม่ต่ำกว่าร้อยละ90ปีพ.ศ.2565 คือ 34 วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบการทำงานของอสม.ด้วยกลยุทธ์6ต. ในการดูแลผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม มีประสิทธิภาพ วิธีดำเนินการ คือ ต.1ติดอาวุธด้านความรู้ ,ต.2ติดตามเชิงปฏิบัติการและระบบรายงาน ,ต.3ตอบเร็วมีสายด่วนอสม.Call Centerและทีมลูกยางเคลื่อนที่เร็ว ,ต.4ติดปีกส่งเสริมการนำเสนอผลงานในเวทีทุกระดับ ,ต.5ติดใจคือเสริมความสัมพันธ์เจ้าหน้าที่และอสม. ,ต.6ติดต่อคือการติดต่อประสานพิทักษ์สิทธิ์ ผลการดำเนินงาน ผลลัพธ์ปีพ.ศ.2566 1)จำนวนผู้สูงอายุติดเตียงติดบ้านร้อยละ11 2)อัตราการตอบกลับระบบให้คำปรึกษาของทีมลูกยางเคลื่อนที่เร็วภายใน2ชั่วโมงคือร้อยละ97 3)อัตราความครอบคลุมของรายงานคัดกรองผู้สูงอายุ9ด้านจากแอปสมาร์ทอสม.เว็บไซต์3หมอร้อยละ92 ผลผลิต1)เกิดทีมเยี่ยมบ้านลูกยางเคลื่อนที่เร็วในการติดตามดูแลกลุ่มเป้าหมาย 2)จากการคืนข้อมูลสู่ชุมชนก่อเกิดนวัตกรรม0บาท“เยี่ยมบ้านใกล้บ้านใกล้ใจปันน้ำใจให้คนเมืองยาง” โดยมีการบริจาคจากประชาชน และเอกชนเพื่อดูแลผู้ป่วยรวมมูลค่าของทั้งหมดปีพ.ศ.2563-2566 วัสดุอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง132,000 บาท ,เครื่องอุปโภคบริโภค38,000 บาท สรุปผลและการนำไปใช้ 1)ผู้บริหารเห็นความสำคัญและสนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพ อสม.ทุกมิติ ,อสม.มีช่วงอายุที่ต่างกันจึงมีการทำอสม.บัดดี้ในการเรียนรู้แอปสมาร์ทอสม. 2)ควรมีการเพิ่มกลยุทธ์ ต.ที่7 คือ ต่อเนื่อง ในการดำเนินการตามกลยุทธ์ 6 ต. 3)การประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุและญาติในการปฏิบัติงานของอสม. การพัฒนาระบบการทำงานของอสม.(หมอคนที่1) ด้วยกลยุทธ์ 6 ต. เพื่อสังคมสูงวัย เป็นการบูรณาการร่วมกับชุมชน จัดบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการ สนับสนุนพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายอสม.(หมอคนที่1) แบบไร้รอยต่อ และมีการดูแลอย่างต่อเนื่อง


คำสำคัญ : พัฒนาระบบการทำงานอสม. , 3 หมอ , สังคมสูงวัย

อ้างอิง


ธัญญาสิริ ธันยสวัสดิ์ , นิตยา จันทบุตร และใจเพชร นิลบารันต์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาท

ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจ าหมู่บ้านในการด าเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ อ าเภอวารินช าราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วรสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี 2562;1:1-10.

ปรางค์ จักรไชย ,อภิชัย คุณีพงษ์ ,วรเดช ช้างแก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจ า

หมู่บ้าน (อสม.) ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560;1:1-31.

จินตนา บุญยิ่ง. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารหมู่บ้านจัดการสุขภาพของอาสาสมัคร

สาธารณสุขประจ าหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;6:1-32.

รันดร ศรีริรมย์,มณฑา ใจหาญ,มุธิตา พิลา. ผลการใช้แอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ ร่วมกับกระบวนการบริหารระบบ

ข้อมูลแบบใจแลกใจต่อความครบถ้วน ทันเวลา ขอ งการส่งรายงานประจ าเดือนของ อสม.ใน รพ.สต.ค าเดือย.

http://www.chanumanhospital.go.th/uploads/research/1646125971.pdf.

ดาวน์โหลด