บทความวิจัย



การพัฒนาโปรแกรมการเยี่ยมบ้านของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชน  Development of a home visiting program for uncontrolled hypertensive patients in the community.

สุภาพร มาลีวรรณ์ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี
    การประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 17 พ.ศ.2566 “สู่ระบบการพยาบาลจักรวาลนฤมิตในสังคมผู้สูงวัย หลังภัยพิบัติโรคระบาด” ( Toward Metaverse Nursing Systems for Post Pandemic in Aging Society). เมืองยาง. นครราชสีมา. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


ความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก โดยประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลก 1 ใน 3 เป็นโรคความดันโลหิตสูง จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปีพ.ศ. 2563 พบว่า 2 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิตทั้งหมดเป็นผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง นโยบายกระทรวงสาธารณสุขมีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเกณฑ์ตัวชี้วัด คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตร้อยละ 60 กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี อ.เมืองยาง จ.นครราชสีมา มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ในปี พ.ศ. 2563 – 2565 เพียงร้อยละ 51, 47, 54 ตามลำดับ

การวิจัยและพัฒนานี้ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาเป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โดยผ่านการพิจารณาจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา รหัส NRPH 059 พ.ศ. 2566 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1)เพื่อวินิจฉัยปัญหาสุขภาพที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ 2)เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้โดยใช้ทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพของเบคเกอร์ 3)เพื่อประเมินผลโปรแกรมการเยี่ยมบ้าน โดยใช้แบบสอบถามการปฏิบัติตัวมีค่า CVI เท่ากับ 1.0 และค่าความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t – test กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในเขตรับผิดชอบ มีเกณฑ์คัดเข้าและออกจำนวน 23 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและโปรแกรมการเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วย 1)แผนการสอน ดึงไว้ไม่ให้สูง 2)สมุดพกเตือนใจบันทึกการปฏิบัติตัว ระยะเวลาในการวิจัย คือ มิถุนายน ถึง กันยายน พ.ศ.2566 พบว่า ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีค่าคะแนนการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้นและค่าความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การวิจัยนี้ได้นำมาเป็นแนวทางในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี ส่งผลให้ในปีพ.ศ. 2566 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 54 เป็นร้อยละ 75 ข้อเสนอแนะ คือ ด้วยระยะเวลาที่จำกัดของงานวิจัยนี้แต่ยังสามารถทำให้บรรลุเกณฑ์ตัวชี้วัด Service Plan ได้ เพื่อความต่อเนื่องควรวัดผลในระยะยาวต่อไป และสามารถนำมาเป็นแนวทางให้กับพยาบาลชุมชนในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชน นำไปสู่การยกระดับการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล


คำสำคัญ : โปรแกรมเยี่ยมบ้าน, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

อ้างอิง


จุฑารัตน์ ภาตะนันท์. (2555). ผลของโปรแกรมการพยาบาลที่บ้านต่อพฤติกรรมการดูแล

ตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต. วารสารพยาบาลทหารบก กรุงเทพฯ, 13(1), 72 - 80.

ณัฏฐิรา ปราสาทแก้ว. (2555). ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์

ต่อความเชื่อด้านสุขภาพและค่าความดันโลหิตของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารสาธารณสุข, 42(3), 19 - 31.

ทรัพย์ทวี หิรัญเกิด. (2556). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแล

ตนเองและระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ.วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(4), 97-104.

นาฏอนงค์ สิงห์คุณา. (2553). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมภาวะ

ความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นภารัตน์ ธราพร. (2547). ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพที่บ้านต่อการรับรู้ภาวะสุขภาพ พฤติกรรม

การดูแลตนเอง และค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 12(2), 55 - 70.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ยูแอน ไอ อินเตอร์มีเดีย.

ปาริชาติ กาญจนพังคะ. (2549). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อพฤติกรรม

สุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พีระ บูรณะกิจเจริญ. (2557). ความดันโลหิตสูง.ใน พูลชัย จรัสเจริญวิทยา, วันรัชดา คัชมาตย์, พจมาน พิศาลประภา (บรรณาธิการ), อายุรศาสตร์ทันยุค ๒๕๕๗. (หน้า 11 - 39). กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยมหิดล.

เพ็ญจันทร์ เสรีวิวัฒนา. (2553). การพยาบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. ใน ปราณี ทู้ไพเราะและคณะ

(บรรณาธิการ),การพยาบาลอายุรศาสตร์ 1. (หน้า 92 - 114). กรุงเทพฯ: หจก. เอ็นพีเพลส.

มะยาซิน สาเมาะ, ประชา ฤาชุตกุล, และชิดชนก เชิงเชาว์. (2552). ความเชื่อด้านสุขภาพและการดู

แลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตำบลปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 20(1), 53-65.

โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า ๑๐๐ ปี. (2565). เอกสารผลการปฏิบัติงานประจำปี

งบประมาณ 2565. นครราชสีมา: โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า ๑๐๐ ปี อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา.





รัตนา เรือนอินทร์. (2550). ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการควบคุมโรคของผู้ที่มีภาวะความดัน

โลหิตสูงในศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ราตรี มณีขัติย์. (2550). ผลของการเยี่ยมบ้านต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ตำบล

อุโมงค์ จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัฒนศักดิ์ สุกใส. (2555). การประยุกต์ใช้ทฤษฏีตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุน

ทางสังคม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วนัชพรรณ อิ่มเอิบ. (2551). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดัน

โลหิตสูง. วารสารสุขภาพภาคประชาชน, 3(6), 13-16.

วันวิสา รอดกล่อม, นิสาพร วัฒนศัพท์, ปัทมา สุพรรณกุลและอรอุษา สุวรรณประเทศ. (2555). การ สนับสนุนทางสังคมและความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ที่มารับบริการของโรงพยาบาลพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 6(2), 76-88.

วัลลยา ทองน้อย. (2554). การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุน

ทางด้านสังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วย

โรคความดัน โลหิตสูงตำบลโนนพะยอม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์

ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศศิธรณ์ นนทะโมลี. (2551). ผลของการให้ความรู้อย่างเป็นระบบแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อ

พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุและพฤติกรรมในการดูแลครอบครัว กรณีศึกษา หมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลครอบครัว มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักการพยาบาล. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทย.

สถาบันวิจัยและเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2554).แนวทางเวช ปฏิบัติการดูแลรักษาภาวะความดันโลหิตสูง 2554. ค้นเมื่อ 29 เมษายน 2565 จาก

www.dms.moph.go.th/images/ebook/pdf/ht_ebook.pdf.

สุขศิริ ประสมสุข. (2554). กระบวนการพยาบาลอนามัยชุมชน. ในจริยาวัตร คมพยัคฆและวนิดา ดรุงฤทธิชัย (บรรณาธิการ), การพยาบาลอนามัยชุมชน แนวคิด หลักการและการปฏิบัติการ พยาบาล. (หน้า178-203) กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทองจำกัด.

สุรินธร กลัมพากร. (2554). การประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฏีในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน:การประยุกต์แนวคิดและทฤษฏีสู่การปฏิบัติ (หน้า 29-70). ขอนแก่น:หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สืบตระกูล ต้นตลานุกูล. (2556). ผลการเยี่ยมบ้านต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ

ในตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 5(2), 61-62.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2566).แผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ ประจำปี 2566.

สุนทรีย์ คำเพ็ง. (2555). ผลของการจัดโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม

ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 9 ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(3), 122-123.

สุนันทา คำพอ. (2540). การสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวทางโทรศัพท์. ใน ชนิตา มณีวรรณ์

(บรรณาธิการ), คู่มือการปฏิบัติการพยาบาลที่บ้าน. กรุงเทพฯ: บรรณศิลป์พริ้นติ้ง.

สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์. (2555). อยู่กับความดันฯอย่างมีความสุข. ในใยวรรณ ธนะมัย, สมเกียรติ โพธิสัตย์, สุทธิชัย อาชายินดีและสุธีพร คนละเอียด (บรรณาธิการ), คู่มือการให้ ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง. (หน้า135-140) กรุงเทพฯ: สำนักกิจการ โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สมจิต หนุเจริญกุลและพรทิพย์ มาลาธรรม. (2545). การพยาบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

การพยาบาลทางอายุรศาสตร์ เล่ม 2 พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: วีเจพริ้นติ้ง.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติ

ทั่วไป. กรุงเทพฯ: บริษัท ฮั่วน้ำพริ้นติ้งจำกัด.

อัมพร วรภมร. (2554). พฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรวิกาญจน์ ชัยมงคลและศิริอร สินธุ. (2556). การพยาบาลผู้จัดการรายกรณีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. ในศิริอร สิรธุและพิเชต วงรอต (บรรณาธิการ), การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและ ความดันโลหิตสูง (หน้า 47-111). กรุงเทพฯ:วัฒนาการพิมพ์.

Becker,M.H. & Maiman, L. A. (1975). The health belief modle : Original and correlates in

psychological theory. In M. Becker (Ed). The health belief modle and personol

Health Behavio. 2, 9 - 26.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral science. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Joint national committee 7- committee version. (2003). The Seventh Report of The

Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Pressure. Hypertention, 1 - 21.

World Health Organization. (2013). A Global Brief On Hypertension Silent killer Global

Public Health Crisis. [Online]. Available from: www.who.int

ww/iris/.../WHO_DCO_WHD_2013.2_eng.pdf. [Cited 29 March 2023].



ดาวน์โหลด