บทความวิจัย



การพัฒนาแนวทางดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา  Development of Health Care Guidelines for the Bedridden Elderly by Community Participation, Muenwai Subdistrict, Muang District, Nakhon Ratchasima Province

สุชาติ สนพะเนาว์
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูง . เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมดจำนวน 90 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน 37 คน และกลุ่มผู้ร่วมพัฒนา จำนวน 53 คน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินกิจวัตรประจําวัน ADL และแบบสอบถาม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและความพึงพอใจต่อกิจกรรม ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึงเดือนเมษายน 2567 ด้านข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนากลุ่ม ด้านการวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และการเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังดำเนินงานโดยใช้สถิติ Paired sample t-test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาแนวทางดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงนี้ เกิดจากการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายทุกคนในการวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน แบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาบริบทก่อนดำเนินการและพัฒนาแนวทาง ขั้นที่ 2 การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมตามแนวทาง Action Research และขั้นที่ 3 หลัง การดำเนินงาน ซึ่งวิเคราะห์และประเมินผลลัพธ์ การดำเนินงานร่วมกัน พบว่าภายหลังการพัฒนา ทั้งกลุ่มของผู้ร่วมพัฒนาและผู้สูงอายุติดเตียง มีคะแนนเฉลี่ยของทั้งประเด็นด้านการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจต่อกิจกรรม เพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001 ในทุกด้าน) จากการถอดบทเรียนและวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ทำให้ได้แนวทางดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียง ที่ชื่อว่า C-CARE Model ที่มีความเหมาะสมและตรงตามบริบทของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงในชุมชนตำบลหมื่นไวย ทั้งนี้ชุมชนอื่นที่มีบริบทใกล้เคียงสามารถนำแนวทางนี้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อพัฒนาต่อยอด การดำเนินงานนี้ต่อไปได้


คำสำคัญ : ผู้สูงอายุติดเตียง; แนวทาง; การมีส่วนร่วมของชุมชน

This is action research. The objective is to study the development of health care guidelines for the bedridden elderly by community participation in Muenwai Subdistrict, Muang District, Nakhon Ratchasima Province. There are a total of 90 people in the target group, consisting of 37 bedridden elderly people and 53 people from the co-developer group. In the area of responsibility of Ponsung Subdistrict Health Promoting Hospital, Mueang District, Nakhon Ratchasima Province. Quantitative data were collected using the ADL daily activity assessment, activity participation, and activity satisfaction questionnaires. Between November 2023 and April 2024. In terms of qualitative data, interviews, observations, and focus groups were used. Quantitative analysis uses frequency, mean, standard deviation, minimum, maximum, and comparing the mean scores pre- and post-operation using the paired sample t-test statistics. For qualitative data, content analysis was used.

This study of health care guidelines for the bedridden elderly resulted from the participation of all target groups in planning operations together, divided into three steps: Step 1: studying the context before implementation; Step 2: implementing the participatory model according to the Action Research guidelines; and Step 3: after implementation, which analyzes and evaluates the results of joint operations. It was found that after development, both the bedridden elderly people group and the co-developer group had mean scores on both participation and satisfaction with activities. The increase from before development was statistically significant (p-value<0.001 in all aspects). From lessons learned and an analysis of success factors, this resulted in health care guidelines for the bedridden elderly, named the C-CARE Model, that are appropriate and relevant to the context of health care for the bedridden elderly in Muenwai Subdistrict. Other communities with similar contexts can apply this approach in their own areas. In order to further develop this operation.


keywords : Bedridden Elderly; Guideline; Community Participation

อ้างอิง


[1] มนันญา ภู่แก้ว. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. [ออนไลน์]. (2546). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 22 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?%20nid=1536.

[2] กรมกิจการผู้สุงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ ปี 2566. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ วันที่ 22 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// www.dop.go.th/th/know/1.

[3] กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินคัดกรอง Barthel ADL. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://203.157.185.18/download/ hosxp/HOSxP&HOSxP_PCUBathel%20ADL.pdf.

[4] Kemmis K. & Mc Taggart R. Participatory action research. In Handbook of qualitative research. London: SAGE; 2000.

[5] Best J.W. & Kanh J.V. Research in Education (6th ed.). New Delhi: Plentice-Hall;1989.

[6] ณิสาชล นาคกุล และปานดวงใจ เสนชู. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแลหลัก เขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2564; 4(2) : 27 – 39.

[7] ชิสา ตัณฑะกูล, จันทร์พิมพ์ หินเทาว์ และวรรธนะ พิธพรชัยกุล. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุติดบ้านหรือติดเตียง ในชุมชนบ้านดอนแสลบ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2565; 16(3) : 193 – 206.

[8] วุฒิพงศ์ ธนะขว้าง และทัศไนย วงค์ปินตา. ประสิทธิผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจให้ผู้ดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2564; 17(1): 64 – 75.

[9] ทัศพร ชูศักดิ์ นัชชา ยันติ ศศิธร ตันติเอกรัตน์ และนาตยา ดวงประทุม. ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงแบบมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยวิชาการ 2566; 6(2) : 87 – 102.

[10] สุวนันท์ แก้วจันทา, ปริพัช เงินงาม และณิศรา ชัยวงค์. แนวทางการดูแลสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุติดเตียงในชุมชนด้วย การแพทย์แผนไทย กรณีศึกษา ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2565; 10(2) : 190 – 200.

[11] นิธิวดี เก้าเอี้ยน. ผลการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข 2566; 1(3) : 73 – 88.

ดาวน์โหลด