บทความวิจัย



การพัฒนาการจัดการอาหารริมบาทวิถี โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย จังหวัดสมุทรสาคร  Development of Street Food Management along the Pavement With the Participation of Partners in Samut Sakhon Province

รัชตพล มีลาภ
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร. เมืองสมุทรสาคร. สมุทรสาคร. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการอาหารริมบาทวิถีและพัฒนาการจัดการอาหารริมบาทวิถีโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายของจังหวัดสมุทรสาคร โดยแบ่งวิธีการศึกษาวิจัยออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ (1) ศึกษาสถานการณ์การจัดการอาหารริมบาทวิถี (2) สร้างรูปแบบใน การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบอาหารริมบาทวิถี (3) ทดลองใช้รูปแบบและเกณฑ์มาตรฐานอาหารริมบาทวิถีในถนนอาหารปลอดภัย เทศบาลนครสมุทรสาคร (4) ประเมินผลความรู้ ความเข้าใจ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และความพึงพอใจของผู้ประกอบกิจการอาหารริมบาทวิถี โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสุขาภิบาลอาหาร และผู้ประกอบการอาหารริมบาทวิถี เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบประเมินและรับรองมาตรฐานอาหารริมบาทวิถีของกรมอนามัย และการจัดสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารริมบาทวิถี ให้ประสบความสำเร็จนั้นจำเป็นต้องศึกษาสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอาหารริมบาทวิถี โดยต้องมีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน และสรุปมาตรการสำคัญที่สำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอาหารมีการดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร (1) กำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน ทั้งนโยบาย การพัฒนาความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการอาหาร การตรวจเยี่ยม ติดตามโดยเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการ/ชมรม/สมาคมของพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี และ การยกย่องเชิดชูเกียรติ แก่พื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี และแผงจำหน่ายอาหารที่มีการปฏิบัติตามแบบประเมินสุขาภิบาลอาหาร : SAN “การจำหน่ายอาหารในที่หรือทางสาธารณะ” จำนวน 20 ข้อ (2) การกำกับติดตามของเจ้าหน้าที่โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคณะกรรมการ/ชมรม/สมาคมของพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถีเป็นแกนหลัก และหน่วยงานสาธารณสุขเป็นผู้สนับสนุน 3.การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเช่น การท่องเที่ยว เกษตร พาณิชย์ พัฒนาชุมชน และ 4.การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย


คำสำคัญ : อาหารริมบาทวิถี; ภาคีเครือข่าย; การจัดการ

This research uses an action research design. The objective is to study the current situation of food. along the sidewalk and developing food management along the sidewalk of Samut Sakhon Province The research method is divided into 4 phases: (1) Study the situation. Problems and management (2) Create a model for developing a prototype of a food area along the sidewalk. (3) Test the format and standard criteria for food along the sidewalk in Samut Sakhon Municipality. (4) Evaluate knowledge, understanding, and knowledge of health. The sample group was members of food sanitation officer and food business operators of Steet Food and satisfaction Collect data using a form to evaluate and certify roadside food standards. and organizing group discussions data analyzed using descriptive statistics and content analysis.

The research found that to develop a successful roadside food management model, it is necessary to study the situations related to roadside food management. There must be clear goals and guidelines. and summarize important measures to encourage food entrepreneurs to comply with food sanitation standards. 1. Set clear operational guidelines, including policies and the development of food sanitation knowledge for food entrepreneurs. Inspection and follow-up by officials and committees/clubs/associations of sidewalk food service areas and recognition for the food service area along the sidewalk and food stalls that have complied with the 20 criteria for food sanitation standards for food stalls. 2. Supervision and monitoring of officials with local administrative organizations and committees/clubs/associations of sidewalk food service areas as the main core. and the public health department is a supporter 3. Support from government agencies and related network partners such as Tourism, agriculture, commerce, community development and 4. Participation of network partners.


keywords : Street Food; Network Partners; Management

อ้างอิง


[1] เรวดี จงสุวัฒน์, จันทราจิรา โพธิ์สัตย์. การพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารริมบาทวิถีเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ. สมุทรสาคร: ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป; 2562.

[2] จิต ผลิญ. ธุรกิจร้านอาหารริมทาง ปลายทางที่สดใส. วารสารอุตสาหกรรมสาร 2556; 55 : 20 – 2.

[3] สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. ข้อมูล Clean Food Good Taste. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ 9 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/0H374/.

[4] Department of Health. The Summary report of the surveillance and food sanitation.Bangkok:War Veterans organization printing house; 2019.

[5] สุชาติ สุขเจริญ เอกชัย ชัยเดช และอารยา วงศ์ป้อม. รูปแบบการพัฒนาการจัดการอาหารริมบาทวิถีของประเทศไทย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2566;15(2): 40 – 51.

[6] อัมพร จันทวิบูลย์ และสง่า ดามาพงษ์. การพัฒนาอาหารริมบาทวิถีของประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562; 28 (6): 996 – 1012.

[7] Wirakartakusumah, Purnomo, & Dewanti Hariyadi.Safety of Street Food : Indonesia Experience.Bogor Agricultural University; 2014.

[8] Morano, R.S., Barrichello, A., Jacomossi, R.R. and Acosta-Rivera, J.R. "Street food: factors influencing perception of product quality", RAUSP Management Journal 2018; 53(4) : 535 – 54.

[9] กมลรัตน์ ขุนอ่อน. การจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในการพัฒนาตลาดสดน่าซื้อตลาดเทศบาลตำบลท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขมหาบัณฑิต] มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม; 2552.

[10]ชนบท บัวหลวง. นโยบายสาธารณะ : การพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารริมบาทวิถีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดลพบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ.2562; 38(5): 34 – 44.

[11] Warit Chaowanasilp, Charoenchai Agmapisarn: Thai Visitors’ Street Food Motivation Influencing Destination Loyalty: The Case Study of Bangkok. Journal of BEC of Naresuan Univerity 2023; 18(3) : 181-98.

ดาวน์โหลด