บทความวิจัย



การประเมินผลระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง  Evaluating Research on Long-term Healthcare System for Dependent Elderly in Wang Chan District, Rayong Province

ณัฐกุล รุจิวงศ์
    สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง. วังจันทร์. ระยอง. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง โดยใช้การประเมินผลแบบซิปโมเดล (CIPP Model) ผสมผสานกับการประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 210 คน ประกอบด้วย คณะอนุกรรม การสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง บุคลากรสาธารณสุข คณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุหรือญาติผู้สูงอายุ ได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2565 - วันที่ 31 มกราคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า ด้านบริบท ของระบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.90, S.D. = 0.33) ด้านปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.27, S.D. = 0.24)ด้านกระบวนการ มีการดำเนินงานเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.43, S.D. = 0.20) ด้านผลผลิต มีความสำเร็จอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.25, S.D. = 0.30) ความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้สูงอายุต่อการทำงานในระบบอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.01, S.D. = 0.27) ความพึงพอใจของผู้สูงอายุหรือญาติต่อการดูแลที่ได้รับจากระบบอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.51, S.D. = 0.17) พบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ด้านงบประมาณและด้านการจัดบริการที่นอกเหนือจากชุดสิทธิประโยชน์ ข้อเสนอแนะควรมี การพัฒนาระบบการดูแลให้เต็มรูปแบบครอบคลุมการดูแลผู้สูงอายุทุกกลุ่มโดยใช้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย สร้างข้อตกลงร่วมกันเพื่อสนับสนุนทรัพยากรที่ใช้ดำเนินงานในระดับพื้นที่


คำสำคัญ : ระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว; CIPP Model; ความพึงพอใจ

The objective of this research is to evaluate the long-term care system for dependent elderly in Wang Chan district, Rayong province, using a mixed-method approach combining the CIPP Model with satisfaction assessment The total sample size consisted of 210 individuals, including subcommittee supporting the provision of long-term care services for dependent elderly, care managers, caregivers, personnel, members of quality of life development centre committee, and elderly individuals or their relatives, which were selected through purposive sampling A questionnaire was utilised as the data collection tool. The data was collected from 1 December 2022 to 31 January 2023 and analysed using descriptive statistics, frequency distribution, percentages, means, and standard deviations.

The result found that he research findings indicate that the context of the system is highly appropriate (x̄ = 3.90, S.D = 0.33), while the input factors are moderately appropriate (x̄ = 3.27 S.D = 0.24). The process aspect shows a high level of appropriateness (x̄ = 3.43 S.D = 0.20) and the product aspect demonstrates a high level of success (x̄ = 4.25 S.D = 0.30). The satisfaction level of the caregivers toward working in the system is high (x̄ = 4.01 S.D = 0.27) as well as the satisfaction of the elderly and their relatives toward the care received from the system (x̄ = 3.51 S.D = 0.17) Eencountered problems and obstacles in the operation is budgetary constraints, service provisions beyond the scope of benefits. Comprehensive development of the care system to cover all groups of elderly is recommended, utilising network participation and establishing mutual agreements to support operational resources at the local level.


keywords : Long-term Care System for Elderly; CIPP Model; Satisfaction

อ้างอิง


[1] สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. วาระปฏิรูปที่ 30 การปฏิรูประบบเพื่อรองรับสังคม สูงวัย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร; 2558.

[2] อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

[3] นางอรจิตต์ บํารุงสกุลสวัสดิ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.); 2559.

[4] กรมการแพทย์. คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: ณจันตาครีเอชั่น. 2564.

[5] จักษวัชร ศิริวรรณ. ตัวแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP MODEL. [ออนไลน์]. (2554). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https:// www. Gotokhow .org/posts/440828

[6] คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ความพึงพอใจในงาน. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.psy.chula.ac.th/th/ feature-articles/job-satisfaction

[7] บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.

[8] กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2562.

[9] นภัค นิธิวชิรธร. การประเมินผลระบบ การดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม เขตสุขภาพที่ 9. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2562; 31: 105 – 18.

[10] รวีวรรณ ศิริสมบูรณ์. การวิจัยประเมินผลโครงการะบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลบ้านลำ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 6: 1077 – 85.

[11] รุ่งลาวัลย์ รัตนพันธ์. การพัฒนาระบบ การจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564; 37: 250 – 61.

[12] ณัฐวิภา ทองรุ่ง. การประเมินโครงการบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กรณีศึกษา อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ 2564; 2: 97 – 06.

ดาวน์โหลด