บทความวิจัย



การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก ในมารดาคลอดทางช่องคลอด งานห้องคลอด โรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา  The development of nursing practice guidelines for prevention early postpartum hemorrhage in vaginal delivery labor room, Sikhio Hospital, Nakhon Ratchasima Province

อุษณี สินธุพัฒนพันธุ์
    โรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. สีคิ้ว. นครราชสีมา. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นเป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (development research) เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในมารดาคลอดทางช่องคลอด งานห้องคลอด โรงพยาบาลสีคิ้ว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มารดาคลอดที่เข้ารับบริการในห้องคลอด โรงพยาบาลสีคิ้ว และคลอดบุตรทางช่องคลอด จำนวน 40 คน และพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานห้องคลอด 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติทาง การพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในมารดาคลอดทางช่องคลอดที่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดของไอโอวาโมเดล 10 ขั้นตอน และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่า IOC เท่ากับ 0.88 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.86 เก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลวิชาชีพได้นำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือด หลังคลอดระยะแรกในมารดาคลอดทางช่องคลอดที่พัฒนาขึ้นใหม่ ไปใช้ในทุกขั้นตอน ร้อยละ 100.00 ผลลัพธ์การปฏิบัติ พบว่า การประเมินความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดแรกรับ การเฝ้าระวังความเสี่ยงและการปฏิบัติการพยาบาลขณะรอคลอด ขณะคลอด และหลังคลอด ครอบคลุม ร้อยละ 100.00 อัตราการ ตกเลือดหลังคลอด ร้อยละ 0 และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อแนวปฏิบัติทาง การพยาบาล ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.38, S.D=0.47) สรุปได้ว่า แนวปฏิบัตินี้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาในทุกด้านและสะดวกต่อ ผู้ปฏิบัติ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดในมารดาคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


คำสำคัญ : แนวปฏิบัติทางการพยาบาล; ตกเลือดหลังคลอดระยะแรก; มารดาคลอดทางช่องคลอด

This study is a development research aimed at developing nursing practice guidelines for the prevention of early postpartum hemorrhage in mothers with vaginal delivery at the labor room of Sikhio Hospital. The sample consisted of 40 mothers who received services in the labor room at Sikhio Hospital and delivered their babies vaginally, and 8 professional nurses working in the labor room. The research instruments included nursing practice guidelines for the prevention of early postpartum hemorrhage in mothers with vaginal delivery, developed based on the 10-step Iowa Model, and a satisfaction interview form for professional nurses. The content validity was examined by experts, with an IOC value of 0.88 and a Cronbach alpha reliability coefficient of 0.86. Data were collected from December 2023 to January 2024 and analyzed using descriptive statistics, frequency, percentage, mean, and standard deviation.

The research results revealed that professional nurses applied the newly developed nursing practice guidelines for the prevention of early postpartum hemorrhage in mothers with vaginal delivery in all steps, 100% of the time. The practice outcomes showed that the assessment of the risk of early postpartum hemorrhage at admission, monitoring of risks, and nursing interventions during labor, delivery, and postpartum were comprehensive, covering 100%. The rate of postpartum hemorrhage was 0%, and the overall satisfaction of professional nurses towards the nursing practice guidelines was at a high level (X ̅=4.38, S.D=0.47). In conclusion, these guidelines are consistent with the content in all aspects and convenient for practitioners. They can be used as an effective tool for assessing the risk of postpartum hemorrhage in mothers giving birth.


keywords : Nursing Practice Guidelines; Early Postpartum Hemorrhage; Vaginal Delivery Labor

อ้างอิง


[1] World Health Organization. WHO recommendations on the assessment of postpartum blood loss and use of a treatment bundle for postpartum haemorrhage. Geneva: World Health

Organization; 2023.

[2] สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. วิเคราะห์สถานการณ์แม่ตาย ปีงบประมาณ 2562.[ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://hp.anamai.moph.go.th/th/opdc-2563

[3] เบญจมาภรณ์ จานทอง วิลาวัลย์ ป้อถา และสุคนธ์ทิพย์ ว่องไว. รายงานทบทวนวรรณกรรม เรื่อง การตกเลือดหลังคลอดระยะแรก. งานห้องคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 . [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// apps.hpc.go.th/dmkm/web/uploads/2020/064280-20200602160955/fbab0e380f7c78e7571e8251fc309004.pdf

[4] ถวัลย์ วงค์รัตนสิริ ฐิติมา สุนทรสัจ และสมศักดิ์สุทัศน์วรวุฒิ. สูติศาสตร์ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2553.

[5] งานการพยาบาลผู้คลอด. แบบประเมินตนเอง งานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลสีคิ้ว ปีงบประมาณ 2566. กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลสีคิ้ว; 2566.

[6] Titler, M. G. and others. “The Iowa modal of evidence-based practice to promote quality care.” Critical Care Nursing Clinic of North America 2001; 13(4) : 497-509.

[7] ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติในราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด. คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2562-2564 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2563.

[8] Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. Determining Sample Size for Research Activeties. Education and Psychological Measurement 1970; 30: 607 – 08 .

[9] Murray, S.S. and McKinney, E.S. Pain management during childbirth. In Foundation of Maternal-Newborn and Women’s Health Nursing. United States of Amerca: Saun; 2014.

[10] กฤษณา สารบรรณ อรพนิต ภูวงษ์ไกร ศกุนา ลิ้มบุพศิริพร และคณะ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการ พยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2-24 ชั่วโมง หลังคลอด หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลหนองคาย. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// www2.nkh.go.th/nkh/journal/doc/14.pdf

[11] ภคินี ขุนเศรษฐ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก ในมารดาที่คลอดทางช่องคลอด โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข 2564; 1(2): 83 – 99.

[12] สุทธิวรรณ ทองยศ, ศิริพร ชมงาม, สุภาวดี เหลืองขวัญ, พิกุล บัณฑิตพานิชชา. การพัฒนาแนวทางป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดที่มีสาเหตุจากการหดรัดตัวไม่ดีในมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอด. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28 (ฉบับพิเศษ): 176 – 83.

[13] ณฐนนท์ ศิริมาศ ปิยรัตน์ โสมศรีแพง สุพางค์พรรณ พาดกลาง และจีรพร จักษุจินดา. การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557; 32(2): 37 – 46.

[14] ศิริภรณ์ ปิ่นโพธิ์ และสมพร วัฒนนุกูลเกียรติ การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะตกเลือดระยะ 2-24 ชั่วโมงหลังคลอด แผนกสูติกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 22 มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2564.

ดาวน์โหลด