บทความวิจัย



ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะอ้วน ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา  The effect of healthy promotion program to pateint diabetes type 2 and obesity in Sikhio Hospital, Nakhon Ratchasima Province

วงเดือน ปราณีตพลกรัง
    โรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. สีคิ้ว. นครราชสีมา. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม (One-group quasi experimental research) วัดผลเปรียบเทียบก่อนและหลัง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะอ้วน ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 35-59 ปี มีระดับน้ำตาลสะสมอยู่ในช่วง 8-10 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อเมตร2 จำนวน 60 คน คำนวณตามสูตรยามาเน่ และคัดเลือกโดยใช้วิธีสุ่มจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพ และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.86 ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 12 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะอ้วน หลังเข้าร่วมโปรแกรม สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-12.45, p=0.000) ผลลัพธ์ด้านสุขภาพหลังสิ้นสุดโปรแกรม ดัชนีมวลกาย รอบเอว และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง มีค่าเฉลี่ยดีขึ้นกว่า ก่อนเข้าโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ โดยรอบเอวค่าเฉลี่ยลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (t=5.00, p<0.001) ส่วนดัชนีมวลกาย และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมในโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅=3.91, S.D.=0.40) สรุปได้ว่าโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพนี้ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะอ้วนมีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น และสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ ได้


คำสำคัญ : โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ; ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2; ภาวะอ้วน

This research was a One-group quasi experimental research. Objective to study result of health behaviors promotion program of pateint diabetes type 2 and obesity in Sikhio Hospital, Nakhon Ratchasima Province. The samples consisted of sixty people who were pateint diabetes type 2 and obesity, age 35-59 years with accumulated sugar levels in the range of 8-10 milligrams percent and body mass index greater than 25 kg/m2. The calculated according to the Yamane formula and selected using a random method. The research instruments included the health promotion program by applying concept of health promotion of Pender and interview their satisfaction. Data were collected during November 2023 to January 2024. Check the validity of content by experts, IOC was 0.92 and Cronbach alpha coefficient was 0.86. Data were analyzed by using statistical distribution frequency, percentage, mean, standard deviation and paired t-test.

The research found that health behaviors of the pateint diabetes type 2 and obesity after joining the program higher than before statistically significant (t=-12.45, p=0.000). The health outcomes after the program ended body mass index, waist circumference, and blood sugar levels decreased. The average is better than Before entering the health promotion program. The average waist circumference decreased Statistically significant (p=0.000) Although improvements were observed in body mass index and accumulated sugar levels in the blood, There was no statistical difference.The satisfaction with activities to promote healthy habits in the program overall were at high level (X ̅=3.91 S.D = 0.40) Conclusion: The health behaviors program helped the pateint diabetes type 2 and obesity gained good health. Therefore, the program should be apply extensively to others groups.


keywords : Healthy Promotion Program; Pateint Diabetes type 2; Obesity

อ้างอิง


[1]วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 - 2563. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟิกแอนด์ดีไซน์; 2564.

[2] สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการจัดการปัญหาอ้วนลงพุง และภาวะแทรกซ้อน. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.hsri.or.th

[3] Pender, N.J. Health Promotion in nursing practice. 2nd ed. Connecticus : Appleton & Lange; 1987.

[4] วิชาญ มีเครือรอด. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพ ดัชนีมวลกาย และระดับความดันโลหิต ของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร 2563; 1(1) : 70 – 85.

[5] งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. แบบประเมินตนเอง คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลสีคิ้ว ปีงบประมาณ 2566. นครราชสีมา : กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลสีคิ้ว; 2566.

[6] Yamane, Taro. Statistic An Introductory Analysis. 3th ed. New York : Harper & Row; 1973.

[7] สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสําหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2566.

[8] วิภาพร สิทธิสาตร์ และสุชาดา สวนนุ่ม. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนเขตความรับผิดชอบของ สถานีอนามัยบ้านเสาหิน ตำบลวัดพริก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. รายงานวิจัยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2550.

[9] ปิ่นนเรศ กาศอุดมและมัณฑนา เหมชะญาติ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพพฤติกรรมสุภาพของผู้สูงอายุในเขตตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. รายงานการวิจัย วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี; 2552.

[10] ไตรภพ ขยันการนาวี และพัชราภรณ์ เจน ใจวิทย์. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครอบครัวที่มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ที่ควบคุมโรคไม่ได้. วารสารสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 2565; 29(2): 111 – 19.

[11] พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ และอดิศักดิ์ สัตย์ธรรม. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงใประชากรตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2559; 5(2): 33 – 47.

[12] นฤมล เพิ่มพูล วนลดา ทองใบ และลภัสรดา หนุ่มคำ. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมสุขภาพและภาวะโภนาการของพนักงานในสถานประกอบการที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน. รามาธิบดีพยาบาลสาร; 2559.

[13] อรุณโรจน์ สิริพิพัฒน์ขจร. ประสิทธิผลของแนวทางส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองของผู้ที่มีภาวะ Metabolic Syndrome กรณีศึกษา เพจ Diet Doctor Thailand. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุกิจบัณฑิตย์; 2564.

ดาวน์โหลด