บทความวิจัย



ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลสันติสุข จังหวัดน่าน  Effects of Self-management Combined with Health Information Technology Systems Program on Knowledge and Self–Care Behaviors among Patients with Chronic Kidney Disease Stage 3, Santisuk hospital, Nan Province

ศุภพร ไชยคำ
    โรงพยาบาลสันติสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. สันติสุข. น่าน. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบ 1 กลุ่มวัดผลก่อนและหลัง (one-group pretest-posttest design) เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองร่วมกับการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลสันติสุข จังหวัดน่าน ศึกษาในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลสันติสุข จังหวัดน่าน จำนวน 30 ราย คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยวิธี G power เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลสันติสุข จังหวัดน่าน 2) คู่มือการบันทึกการบันทึกพฤติกรรมสุขภาพ ผ่าน application line ที่พัฒนาขึ้น ในการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ การกำกับติดตามการจัดการสุขภาพ 3) สื่อวีดิทัศน์การสอน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้และพฤติกรรมในการจัดการตนเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่น (reliability) ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณณาและสถิติ paired t–test

ผลการศึกษา พบว่า หลังการใช้รูปแบบการจัดการตนเองร่วมกับการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมในการจัดการตนเอง ด้านการรับประทานอาหารการใช้ยาอย่างเหมาะสม การออกกำลังกายและการจัดการความเครียดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <.001) ด้านผลลัพธ์การรักษาทางคลินิกพบว่าผู้ป่วยมีค่าดัชนีชี้วัดทางสุขภาพประกอบด้วยค่าเฉลี่ยของอัตราการกรองของไต ค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิต ค่าดัชนีมวลกาย ค่าเส้นรอบเอวและระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติมากกว่าก่อนการใช้รูปแบบ สรุปได้ว่าการใช้รูปแบบการจัดการตนเองร่วมกับการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรู้และพฤติกรรมในการจัดการตนเองเพิ่มขึ้นและนำไปสู่ผลลัพธ์การรักษาทางคลินิกที่ดี จึงควรนำไปประยุกต์ใช้กับโรคเรื้อรังอื่น ๆ


คำสำคัญ : การจัดการตนเอง; ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง; Application Line

This Quasi-experimental research with One-group pretest-posttest design purposed to assess outcomes of Self-management Combined with Health Information Technology Systems Program on Knowledge and Self–Care Behaviors among Patients with Chronic Kidney Disease Stage 3 in Santisuk hospital, Nan Province. The sample size amount of 30 chronic kidney disease stage 3 patients by G power sample size calculation. The research instrument includes 1) Self-management Combined with Health Information Technology Systems Program 2) Application line for health education, health record and monitoring health behaviors, and 3) video media while the questionnaire of knowledge and health behavior management was research data collection instrument with the Cronbach Alpha Coefficient was 0.89. As for data analysis, the descriptive data and paired T-test were done for compared research outcomes.

The research results indicated increased average of knowledge and Patient Self–Care Behaviors score in dietary, Drug use, Exercise and Stress management after attend program significantly (p value <.001). In addition, the treatment outcomes illustrated effective health indicators via Laboratory of EGFR and Blood sugar and average of Blood Pressure and Body mass index level were in normal level more than before joined this program. In conclusion, the Self-management Combined with Health Information Technology Systems Program increased patient knowledge and Self–Care Behaviors and leading to excellence clinical treatment outcome which suggestion for applied this model in caring for other chronic diseases.


keywords : Self-management; Chronic Kidney Disease; Application Line

อ้างอิง


[1] Chen SH, Tsai YF, Sun CY, WuI W, Lee CC, Wu MS, et al. The impact self-management support on the progression of chronic kidney disease a prospective randomized controlled trial. Nphrol Dial Transpl 2011; 26(11): 3560 – 66.

[2] Evans D, Taal W. Epidemiology and causes of chronic kidney disease. Med UK 2011; 39(7): 402 – 06.

[3] Jirakulsomchok D, Roisomit S, Vananong P, Thongon T, Panjarak W. Renal physiology electrolytes and acid-base disorders. 4th. Khon Kaen: Klangnanavitaya Press; 2011.

[4] The Nephrology Society of Thailand. Clinical practice guideline nutrition management in chronic kidney disease 2021; 28.

[5] SJ Schrauben et al. A Qualitative Study of Facilitators and Barriers to CKD Self-Management. Kidney International Reports 2022; 7(1): 46 – 55.

[6] Poonpanich K. The effect of using a supportive educative nursing program on self-care behaviors of chronic renal failure patients receiving conservative treatment. [Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2006.

[7] Khamkaew N. Factors predicting health promoting behaviors among the elderly with chronic renal failure. [Thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2007.

[8] Eamsumang P. Effect of an educational program on caregiver knowledge health care behaviors and self care behaviors of chronic renal failure. [Thesis]. Chon Buri: Burapa University; 2007.

[9] Redman, B.K. Patient self-management of chronic disease: The health care provider challenge. Sudbury, MA: Jones & Bartlett Publishers; 2004.

[10] Battelino, T., et al. Clinical targets for continuous glucose monitoring data interpretation: recommendations from the international consensus on time in range. Diabetes care 2019; 42(8) : 1593 – 603.

[11] Cohen, J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers; 1998.

[12] จอมพล รัตนา และธนดล ภูสีฤทธิ์. การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับผู้ป่วยไตเสื่อม คลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2020; 3(9) กันยายน-ธันวาคม 2563 : 54 – 61.

[13] Iles SH. Perception and experiences of pre-dialysis patients. Nphrol Dial Transpl. 2005; 31(3): 130 – 33.

[14] Coates VE, Boore JR. Self-management of chronic illness: implication for nursing. J Nurs Sci. 1995; 6(32): 628 – 40.

[15] Chunlertrith D, Boonkaew S, Cheawchanwattana A. Nephrology Nurses Perspectives on Using Quality-of-Life Measures in Routine Renal Patient Care. Journal of Nurses Association of Thailand North-eastern Division 2011; 29(2): 25 – 34.

[16] Singkuna N. Effects of enhancing perceived self-efficacy program on behaviors for controlling hypertension and blood pressure in patients with essential hypertension. [Thesis]. Mahasarakhum: Mahasarakhum University; 2010.

[17] Norris, S. L, Lau, J, Smith, S. J, et al. Self-management education for adults with diabetes: a meta-analysis of the effect on glycemic control. Diabetes Care. 2002 Jul;25(7):1159 – 71.

[18] จุฑามาส จันทร์ฉาย มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และนิรัตน์ อิมามี. โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. สาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2555; 7(2): 69 – 83.

[19] เบญจมาศ ถาดแสง ดวงฤดี ลาศุขะ และทศพร คำผลศิริ. ผลของโปรแกรมสนับสนุน การจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร 2555; 39(4) : 124 – 37.

[20] นันนภัส พีระพฤฒิพงค์, น้ำอ้อย ภักดีวงค์ และอำภาพร นามวงค์พรหม. ผลของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองต่อความรู้ กิจกรรมการดูแลตนเองและค่าฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะ ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. Journal of Nursing Association of Thailand Northeastern Division 2555; 30(2): 98 – 104

[21] ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อภาวะการหายใจลำบาก การกลับเข้ามารักษาซ้ำด้วยอาการกำเริบและคุณภาพชีวิต. รายงานการวิจัย. งานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรมชายสามัญ. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2555.



ดาวน์โหลด