บทความวิจัย



ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อความรู้และพฤติกรรมการควบคุมน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา  The impact of self-Management Promotion Program on Knowledge and Behaviors on controlling blood sugar of patients with uncontrolled Diabetes Chakkarat subdistrict, Chakkarat district, Nakhon Ratchasima Province

อภิชญา แก้วบุญ
    โรงพยาบาลจักราช จังหวัดนครราชสีมา. จักราช. นครราชสีมา. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อความรู้และพฤติกรรมการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานได้รับการรักษาด้วยวิธีการรับประทานยา และมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดตั้งแต่ 10 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป จำนวน 40 คน เข้าร่วมกิจกรรมในโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อความรู้และพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 12 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2566 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมานได้แก่ Paired t-test

ผลการศึกษา เมื่อสิ้นสุดโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ดีขึ้นกว่าก่อนเข้าโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-6.90, p=0.00) คะแนนความรู้อยู่ในระดับดี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.00 เป็น ร้อยละ 80.00 และพฤติกรรมการจัดการตนเองภาพรวม ในด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายและการใช้ยาหลังสิ้นสุดโปรแกรม มีค่าเฉลี่ยคะแนนดีขึ้นกว่า ก่อนเข้าโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.00)


คำสำคัญ : การจัดการตนเอง; ความรู้; พฤติกรรมการควบคุมน้ำตาลในเลือด; ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้

This study was a quasi-experimental research focusing one group pre-post test , aimed to examine the impact of self-Management Promotion Program on Knowledge and Behaviors on controlling blood sugar of patients with uncontrolled Diabetes in Chakkarat subdistrict Chakkarat district, Nakhon Ratchasima province. The sample group consisted of 40 individuals diagnosed with diabetes, treated with oral medication, and having cumulative blood sugar levels starting from 10 milligrams/deciliter, participating in activities under the self-management promotion program on knowledge and behaviors on cumulative blood sugar control among uncontrolled diabetes patients. The program was conducted over a period of 12 weeks, from September to November 2023. The data were analyzed using descriptive statistics and inferential statistics, including the Paired t-test.

The study results, upon the conclusion of the self-management promotion program, The average knowledge score about diabetes significantly improved (t=-6.90, p=0.00) after participating in the program, with the level of knowledge rising from 25.00% to 80.00%. Furthermore, the overall self-management behaviors, including dietary habits, physical exercise, and medication usage that after the program conclusion has a better average score than before entering the program there were statistically significant (p=0.00)


keywords : Self-management; Knowledge; Behaviors on Cumulative Blood Sugar; Uncontrolled Diabetes patients

อ้างอิง


[1] World Health Organization. Global report on diabetes. [Online]. (2016). [ 1, june 2023] Retrieved from http://apps.who. int/iris/bitstream/10665/204871/1/9789241565257_eng.pdf

[2] International Diabetes Federation. Diabetes News. Journal of Diabetes 2018; 10: 353 – 6.

[3] อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ ภานุวัฒน์ คำวังสง่า และสุธิดา แก้วทา. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

[4] อริสรา สุขวัจนีและ อัญชลีพร อมาตยกุล. การจัดการสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านม่วงหวาน : มุมมองจากการศึกษาเชิงคุณภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2562; 31(3): 19 – 32.

[5] ดวงใจ พันธ์อารีวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2561;37(4): 294-305.

[6] ชดช้อย วัฒนะ. บทความวิชาการ การสนับสนุนการจัดการตนเอง: กลยุทธ์ในการส่งเสริมการควบคุมโรค. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2558;26(ฉบับที่พิมพ์) : 117 – 27.

[7] กนกวรรณ ด้วงกลัด ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์ และวัฒนาณัฐกมล ชาญสาธิตพร. โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการ ตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2563; 36 (1): 66-83.

[8] Creer, L.T. Self-management of chronic illness. In Boekaerts, M., Printrich, P. R., & Zeidner, M. (Eds.). Hand book of self-regulation. San Diego, CA: Academic Press; 2000.

[9] กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รูปแบบการพยาบาลในการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบเรื้อรังและผู้ดูแล. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพเพ็ญวานิสย์; 2564.

[10] กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม. แบบประเมินตนเอง กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม ปีงบประมาณ 2566. นครราชสีมา : โรงพยาบาลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา; 2566.

[11] สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี : ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.

[12] Krejcie, R.V, Morgan, D.W. Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 1970; 30(3): 607-10.

[13] ประพิมศรี หอมฉุย ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร และชญานินท์ ประทุมสูตร. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในกระแสเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2563;12(1): 240-54.

[14] สาวิตรี นามพะธาย. ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561.

[15] ไชยา ท่าแดง. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการจัดการตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลสะสมเกาะเม็ดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.

[16]ศุภาณ์นาฏ สุวรรณกิจ อัศนี วันชัย ชนกานต์ แสงคำกุล และคณะ. พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อาศัยในเขตเมือง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2564; 13(1): 225-37.

ดาวน์โหลด