บทความวิจัย



การพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยประคับประคองงานผู้ป่วยในโรงพยาบาลจักราช จังหวัดนครราชสีมา  Development the Quality of Discharge Planning and Continuing care for Palliative Patients in the Inpatient Department at Chakkarat Hospital, Nakhon Ratchasima Province

ยินดี วิศาลศักดิ์กุล
    โรงพยาบาลจักราช . จักราช. นครราชสีมา. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา เพื่อพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยประคับประคอง งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจักราช จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานผู้ป่วยใน จำนวน 16 คน และผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำนวน 20 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการวางแผนจำหน่าย และดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยประคับประคองตามหลัก D-METHOD แบบประเมินความต้องการวางแผนจำหน่าย แบบประเมินความรู้ความเข้าใจผู้ป่วยประคับประคองหรือญาติผู้ดูแล แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทาง และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ผู้ป่วยหรือญาติต่อแนวทางการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่อง ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่า IOC เท่ากับ 0.86 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.82 เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลวิชาชีพใช้แนวทางการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยประคับประคอง ร้อยละ 100 การปฏิบัติตามแนวทางการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพ แรกรับ และก่อนจำหน่าย ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (t= 0.61, p=0.55) เมื่อพิจารณาคะแนนค่าเฉลี่ย โดยภาพรวมพบว่า การประเมินแรกรับ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า การประเมินก่อนจำหน่าย (แรกรับ =0.82, S.D=0.13, ก่อนจำหน่าย =0.77, S.D=0.28) ผลประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลสุขภาพตนเอง ภาพรวมหลังวางแผนจำหน่าย สูงกว่าก่อนวางแผนจำหน่าย (ก่อน X ̅=0.73, S.D.=0.233, หลัง X ̅=0.78, S.D.=0.357) แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (t=-0.421, p=0.678) ผลติดตามดูแลต่อเนื่องไม่มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน ความ พึงพอใจผู้ป่วยหรือญาติต่อการให้บริการวางแผนจำหน่าย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅=4.59, S.D.=0.267) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อแนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยประคับประคอง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅=3.97, S.D=0.478)


คำสำคัญ : การพัฒนาคุณภาพ; การวางแผนจำหน่าย; การดูแลต่อเนื่อง; ผู้ป่วยประคับประคอง

This study is Research and Development to improve the quality of discharge planning and continuing care for palliative patients in inpatient work at Chakrat Hospital, Nakhon Ratchasima Province. The sample group consisted of 16 professional nurses working in inpatients and 20 terminally ill patients who met criteria for palliative care. The instruments used in the research consist of guidelines for planning discharge and continuing care for palliative patients according to D-METHOD, a discharge planning needs assessment form, an assessment form for knowledge and understanding of patients or relatives/caregivers. A compliance assessment form for discharge planning guidelines and an interview form for the satisfaction of professional nurses, patients, or relatives with discharge planning and continuing care guidelines, where the content has been checked and revised according to the recommendations of experts. The content validity value was 0.86 and Cronbach alpha coefficient reliability value was 0.82. Data were collected from November to December 2023. Data were analyzed using descriptive statistics including percentage, mean, standard deviation, and paired t-test inferential statistics.

The study revealed that the use of guidelines for discharge planning and continuing care for palliative patients was 100%. Compliance with discharge planning activities not statistically different (t= 0.61, p=0.55). The overall average score of the initial (X ̅=0.82, S.D=0.13) were higher than before the second discharge (X ̅=0.77, S.D=0.28). The results of the evaluation of patient and familie knowledge and understanding in taking care of their own health found that the overall picture after planning the discharge was higher than before planning the discharge (before X ̅=0.73, S.D.=0.233, After X ̅=0.78, S.D.=0.357) but there was no statistical difference (t=-0.421, p=0.678). The results of continuous follow-up care and readmission to the hospital was 0 percent. Satisfaction of patients or relatives with discharge planning services was at the highest level (X ̅=4.59, S.D.=0.267). Satisfaction of professional nurse response to guidelines for discharge planning for palliative patients is at a high level (X ̅=3.97, S.D=0.478).


keywords : Quality; Discharge Planning; Continuing Care; Palliative Patients

อ้างอิง


[1] กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์). นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

[2] Ezer T, Lohman D, de Luca GB. Palliativecare and human right: A decade of evolution in standards. J Pain Symptom Manage 2018; 55(2S): S163 – 9.

[3] World Health Organization. WHO definition of palliative care. [online]. (2002). [Retrieved 30 September 2023]. Availabie fromhttp://www.who.int/cancer/ palliative/definition/en/

[4] ศมนนันท์ ทัศนีย์สุวรรณ และคณะ. ผลของโปรแกรมการอบรมการดูแลแบบประคับประคองต่อสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในภาคใต้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2563; 40(2): 122 – 32.

[5] Mc Kechan, K M. Continuing Care: A Mutidisciplinary Approach to Discharge Planning. St.Louis: the C.V.Mosdy; 1981.

[6] ทัศนีย์ กลิ่นหอม. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในไตโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาลสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์]. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช; 2560

[7] งานการพยาบาลผู้ป่วยใน. แบบประเมินตนเองผู้ป่วยในหญิง. กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาล จักราชจังหวัดนครราชสีมา; 2566.

[8] Krejcie, R.V, Morgan, D.W. Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement 1970; 30(3): 607 – 10.

[9] สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

[10] รัตนาภรณ์ ประยูรเต็ม นงลักษณ์ ว่องวิษณุพงศ์ และประณีต ส่งวัฒนา. การพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมหลอดเลือด: กรณีศึกษา. วารสารสภาการพยาบาล 2562; 34(2): 5-17.

[11] Hudson, P., Thomas, T., Quinn, K., & Aranda, S. Family meetings in palliative care: Are they effective?. Palliative Medicine, 2009;23(2): 150 – 57.

[12] ไลทอง ภัทรปรียากูล. การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะลุกลามแบบประคับประคองที่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2562; 2(2): 83 – 99.

[13] กิ่งกาญจน์ ชุ่มจำรัส และเพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเจาะคอ ต่อความรู้ความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยเจาะคอและความพึงพอใจของผู้ดูแลในหอผู้ป่วย ตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาล และการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;5(1): 124 – 34.

[14] สุชาวดี รุ่งแจ้ง และรัชนี นามจันทรา. การจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2559; 27(2): 43 – 57.

ดาวน์โหลด