บทความวิจัย



การพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสร้างแรงจูงใจในการช่วยเลิกบุหรี่ จังหวัดนครราชสีมา  Developing Village Health Volunteers for Smoking Cessation Motivation Initiatives in Nakhon Ratchasima Province

นาริสา ศรีพรหม* และดรุณี คุณวัฒนา**
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา*. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินผลการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) ซึ่งใกล้ชิดชุมชนและมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมสุขภาพลดโรคเรื้อรัง และการสร้างแรงจูงใจในการช่วยเลิกบุหรี่ จังหวัดนครราชสีมา วิธีดำเนินการวิจัยดังนี้คือ (1) ศึกษาและพัฒนา อสม. สร้างแรงจูงใจในการช่วยเลิกบุหรี่ เก็บรวบรวมข้อมูลจาก อสม. และบุคลากรที่พัฒนา อสม. รวมจำนวน 28 คนจากอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (2) อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนา อสม. คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 30 คน (3) สังเกตก่อนและหลังการพัฒนาฯ โดยใช้แบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และทักษะสร้างแรงจูงใจในการช่วยเลิกบุหรี่ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.9 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบทียบคะแนนเฉลี่ยโดยสถิติค่าที (4) สะท้อนผลการปฎิบัติ

ผลการวิจัย พบว่า ศึกษาและพัฒนา อสม. สร้างแรงจูงใจในการช่วยเลิกบุหรี่หลังการคืนข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้มี 4 กิจกรรม ดังนี้ (1) ปฐมนิเทศการสร้างแรงจูงใจในการช่วยเลิกบุหรี่ (2) บุหรี่และผลกระทบของการสูบบุหรี่ (3) การรับฟังอย่างลึกซึ้ง และ(4) การสร้างแรงจูงใจด้วยให้คำแนะนำแบบสั้น (Brief Advice; BA) หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนา อสม. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 61.67 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ระยะเวลาที่เป็น อสม.เฉลี่ย 17.73 ปี ระดับความรู้ ทัศนคติ และทักษะเพิ่มขึ้นหลังพัฒนาฯ ด้านความรู้เรื่องบุหรี่และผลกระทบของการสูบบุหรี่ระดับดี (X̅=18.07, S.D.=1.112) และเรื่องลำดับขั้นตอนของแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงตนเอง ระดับปานกลาง (X̅=7.07, S.D.=1.388) ด้านทัศนคติระดับสูง (X̅=69.70, S.D.=7.173) และด้านทักษะระดับสูง (X̅=110.93, S.D.=9.526) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นหลังพัฒนา อสม. สร้างแรงจูงใจในการช่วยเลิกบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมสมรรถนะ อสม. การสร้างแรงจูงใจใน การช่วยเลิกบุหรี่เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพิ่มขึ้น


คำสำคัญ : อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.); สร้างแรงจูงใจ; ช่วยเลิกบุหรี่

This action study aimed to develope and evaluate the development of village health volunteers who was close the community and important role in promoting health to reduce chronic diseases, and motivating smoking cessation. The research method is as follows: Phase 1 studies and develops village health volunteers, motivate to help people quit smoking. Data were collected from 28 village health volunteers and related persons through in-depth interviews, group chat and Content analysis, Phase 2: Training workshop for developed village health volunteers, specifically selected 3-+0 people, collected data before and after the development. Used a knowledge, attitude, and motivational skill assessment to help quit smoking. The content validity was checked at 0.9 and Reliability was 0.85. Data were analyzed by descriptive statistics, means, percentages and standard deviations and tested by t-value statistics.

Results of research, study and development of village health volunteers motivation to help quit smoking after returning information and exchanging knowledge with 4 activities as follows: 1) Orientation to create motivation to help quit smoking 2) The effects of Cigarettes and smoking, 3) listening intently and 4) creating motivation by giving brief advice (BA) after the workshop to develop village health volunteers, most of whom are female, with an average age of 61.67. Most of them graduated from primary school. The average duration of being a village health volunteer was 17.73 years. The level of knowledge, attitude, and skills increased after the development. Statistically significant at p=.00 when comparing the average scores increased after developing village health volunteers to create incentives to help quit smoking. In terms of knowledge about cigarettes and the effects of smoking, the level was good (X̅=18.07, SD=1.112) and the sequence of stages of motivation for self-change was moderate level (X̅=7.07, SD= 1.388) in terms of attitude high level (X̅=69.70, SD=7.173) and in terms of skills high level (X̅=110.93, SD=9.526). Suggestions the competency of village health volunteers should be promoted, creating motivation to help people quit smoking in specialized expertise has increased.


keywords : Village Health Volunteers (VHVs); Motivation; Helping to Quit Smoking.

อ้างอิง


[1] กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา; 2564.

[2] กรมควบคุมโรค. สำนักโรคไม่ติดต่อ. สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ(NCDs). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

[3] ฉันทนา แรงสิงห์. พิษภัยบุหรี่และสุขภาพ. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https:// nursing.mfu.ac.th/fileadmin/nursingfiles/download/smokeproject/03smokehazad.pdf

[4] สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา. สุรจิต สุนทรธรรม. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการบำบัดโรคเสพติดยาสูบในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558) สำหรับแพทย์และบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ. กรุงเทพฯ: เครือข่ายวชิาชีพ สุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่; 2559 .

[5] เทอดศักดิ์ เดชคง. สนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สำหรับผู้ป่วย NCDs [Motivational Interviewing for NCDs; MI NCDs]. นนทบุรี: บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด; 2560.

[6] กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2561.

[7] องอาจ นัยพัฒน์. การออกแบบการวิจัย: วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพและผสมผสาน วิธีการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

[8] ปานทิพย์ โชติเบญจมาภรณ์, จิระวัฒน์ อยู่สบาย, รัตนาพร ฉัตรมงคลและคณะ. กระบวนการถ่ายทอดนโยบายจากหน่วยงานภาครัฐสู่การนําไปปฏิบัติของผู้ประกอบการผู้ผลิตผู้นําเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2560; 3 (3) : 288 – 305.

[9] เมธา ศิริกูล นลินภัสร์ บําเพ็ญเพียรและชนนิกานต์ รอดมรณ์. กรอบนโยบายการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากภาครัฐสู่เกษตรกรในประเทศไทย.วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2565; 14 : 81-94.

[10] สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, วรเดช ช้างแก้ว, ไพรัตน์ วงษ์นาม และสมศักดิ์ ลิลา. โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2557; 22 (1) : 73 – 89.

[11] สุภเวช อยู่คง. ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่กับพฤติกรรมการสัมผัสควันบุหรี่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา 2565; 2 (1) : 67 – 80.

[12] ปองจิต สร้อยแสงและชาญชัย จิวจินดา. บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชิงสร้างสรรค์ในการจัดการสุขภาพชุมชนเข้มแข็ง บ้านยายม่อม จังหวัดตราด. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ 2565; 7 (1) : 32 – 46.

[13] อดิณัฐ อำนวยพรเลิศ. การถอดบทเรียน บทบาทของอสม. ในโครงการเภสัชอาสาพาเลิกบุหรี่ รพ.สต.เชียงบาน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2563.

[14] วรรณพร บุญเปล่งและคณะ. ประสบการณ์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้านในการดำเนินงานโครงการ “3 ล้าน 3 ปีเลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน”. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา 2563; 15 (2) : 74 – 84 .

[15] วิษณุ มากบุญ. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2565; 2 (1) : 17-28.

[16] ธนะวัฒน์ รวมสุก, อารยา ทิพย์วงศ์, พรพรรณ วรสีหะและสุรินทร กัลปกรณ์. ผลของโครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการรับรู้ความสามารถตนเองในการช่วยเลิกบุหรี่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขไทย 2564; 51 (3): 214 - 22.

[17] สุมลรัตน์ ชูสกุล. การพัฒนาศักยภาพทีมจิตอาสาช่วยเลิกสูบบุหรี่ในพื้นที่นำร่องตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสาร วิชาการสาธารณสุข 2565; 31(2): 255 – 61.

[18] ศิริรัตน์ เพียขันทา, ดวงกมล ปิ่นเฉลียวและทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านต่อ การรับรู้การป้องกันโรคและการมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี. วารสารสุขภาพแลการศึกษาพยาบาล 2565; 28 (2) : 1-16

[19] กาญจนา ทองทั่ว. ถอดบทเรียนเชิงสังเคราะห์โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการบูรณาการงานเหล้า บุหรี่ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอนามัยชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: หจก.วนิดาการพิมพ์; 2560.

ดาวน์โหลด