บทความวิจัย



แนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในช่วงการแพร่ระบาด โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา  Guidelines for Promoting the Health of the Elderly during the Outbreak of Coronavirus Disease 2019, Huai Thalaeng District, Nakhon Ratchasima Province

ทำนอง กกกระโทก
    สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปักธงชัย. ปักธงชัย. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์

การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พัฒนาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ และประเมินผลแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในช่วง การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้สูงอายุ จำนวน 406 คน (2) บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 10 คน และ(3) ผู้เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดย การจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า (1) อำเภอห้วยแถลง นครราชสีมาเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกระจายตัวเกือบทุกตำบล โดยพฤติกรรมของผู้สูงอายุในการป้องกันตนเอง ส่วนใหญ่ใส่หน้ากากอนามัย ขณะออกนอกบ้าน ล้างทุกครั้งก่อนหยิบจับสิ่งของ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นอย่างดี (2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานมี 6 ปัจจัย ได้แก่ นายอำเภอห้วยแถลง คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา ภาคเครือข่าย ผู้สูงอายุ ครอบครัว และบุคลากรทางการแพทย์ โดยมีการดำเนินงานตามกระบวนการวงจร PDCA ได้แก่ การวางแผน ดำเนินการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประมวลผลข้อค้นพบ ปรับปรุงข้อค้นพบ (3) การประเมินผลแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุภายใต้ HUAI-THA model สามารถใช้งานได้จริง มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในบริบทที่ใกล้เคียงจังหวัดนครราชสีมาได้ ข้อเสนอแนะ คือ ควรเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง


คำสำคัญ : การส่งเสริมสุขภาพ; ผู้สูงอายุ; โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

This research is action research. The objective of this study is to examine the situation of health promotion for the elderly. Develop guidelines for promoting the health of the elderly, and evaluate guidelines for promoting the health of the elderly during the outbreak of coronavirus disease. 2019, Huai Thalaeng District, Nakhon Ratchasima Province. The research sample was divided into 3 groups: (1) 406 elderly people; (2) 10 medical personnel; and (3) 30 people related to the elderly. Research instruments include document analysis, questionnaires, in-depth interviews, and focus groups. Quantitative data analysis using descriptive statistics including frequency, percentage, mean, and standard deviation. The qualitative data section analyzed the data by classifying and grouping the data.

The research results found that (1) Huai Thalaeng District, Nakhon Ratchasima, is another area where the spread of coronavirus disease 2019 is continuously increasing. It is distributed in almost every sub-district. By the behavior of the elderly to protect themselves Most wear masks while going out in public, washing them every time before handling things. Most elderly people have good knowledge about preventing the spread of coronavirus disease 2019. (2) There are six factors for success in operations, including District Chief Huai Thalaeng, the Nakhon Ratchasima Provincial Communicable Disease Control Committee, network partners, the elderly, families, and medical personnel. This process was carried out according to the PDCA cycle process, including planning and conducting studies of related literature. process findings Improve findings. (3) The evaluation of guidelines for promoting the health of the elderly under the HUAI-THA model can be used in practice; be appropriate; this model can be used in a context similar to Nakhon Ratchasima Province. The suggestion is that knowledge regarding the prevention of coronavirus disease 2019 should be continuously increased for the elderly.


keywords : Health Promotion; Elderly; Coronavirus Disease 2019

อ้างอิง


[1] ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19) จังหวัดนครราชสีมา. รายงานสถานการณ์การตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19). นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สำเนาอัด; 2563.

[2] Cowgill, D. O. Aging around the world, Belmont, CA: Wadsworth; 1986.

[3] สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยแถลง. รายงานสถานการณ์การติดเชื้อโควิด -19 (SAT Moph) ละลอกที่มีการระบาดสูงสุด 1 เมษายน 2564 - 30 ตุลาคม 2565. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยแถลง. สำเนาอัด; 2565.

[4] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ผู้สูงอายุ. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สำเนาอัด; 2564.

[5] Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2007.

[6] Yamane, T. Statistic: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row; 1973.

[7] กิตติพร เนาว์สุวรรณ นภชา สิงห์วีรธรรม และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563; 14(2): 25 – 36.

[8] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. PDCA เครื่องมือในการจัดการคุณภาพ [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : http ://psdg.mnre.go.th/ckeditor/upload/files/ id147/KM/PDCA_28_29__ย_2560_กพร_ทส.pdf

ดาวน์โหลด