บทความวิจัย



การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และการตรวจคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์ จังหวัดนครราชสีมา  Monk Holistic Health Care and Screening, Nakhon Ratchasima Province

ปัญญา ฉนำกลาง
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการคัดกรองสถานะสุขภาพ และพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประยุกต์ทฤษฎีการเสริมสร้างพลังอำนาจ ร่วมกับกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบ การเสริมสร้างศักยภาพพระสงฆ์ ในปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประชากรได้แก่ พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน อาสา สมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง สังเกตการณ์ 75 รูป/คน สัมภาษณ์ 6 รูป/คน ระยะเวลา พฤษภาคม - ตุลาคม 2566 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตการณ์พฤติกรรมการมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์/แนวทางสนทนากลุ่ม โทรศัพท์บันทึก เสียง ภาพ วิดีโอ เทคนิคกระบวนการรวมพลังสร้างสรรค์ (A-I-C) แบบรายงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตพระสงฆ์ สถิติที่ใช้ ร้อยละ

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการคัดกรองสุขภาพ มี 3 รูปแบบ คือ (1) คัดกรองสุขภาพภายในตำบล (2) โครงการพิเศษจากภายนอก (3) พระสงฆ์อาพาธแล้วจึงเข้าตรวจคัดกรอง และรักษา สำหรับการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพ มี 5 แบบ ได้แก่ (1) ศึกษาและดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ปกติ 3 รูป/คน(ร้อยละ 50) (2) สถานีรักษ์สุขภาพ (3) โรงเรียนเบาหวานในวัดพบพระสงฆ์หายป่วย 2 รูป (ร้อยละ33) (4) โรงเรียนวัดรอบรู้สร้างสุขภาพ (5) รักษาในโรงพยาบาล เมื่อป่วยแล้ว และปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ จำนวน 1 รูป (ร้อยละ 16.67) ข้อเสนอแนะ ควรจัดตั้งโรงเรียนวัดรอบรู้สร้างสุขภาพ เพื่อต่อยอดกิจกรรมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมร่วมกับหลักธรรม สร้างความสุขดับความทุกข์ สู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยหลักการทางธรรมนำทางโลก ในวันพระ


คำสำคัญ : พระสงฆ์; รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพของพระสงฆ์; พฤติกรรมเสี่ยงต่อการก่อโรค

This research aimed to to study health status screening patterns. and develop a health care model for monks Nakhon Ratchasima Province. It is participatory action research. Use qualitative research methods. Apply the theory of empowerment. Together with the action research process, a model was developed to strengthen the potential of monks in the problem of risky behaviors of chronic non-communicable diseases. The population includes monks, community leaders, and village committee members. Village health volunteers and public health officials. The sample group was selected purposively. Observed 75 monks/person. Interviewed 6 monks/person. Period: May - October 2023. Research tools include participation behavior observation form. Interview form Group discussion guide, Telephone recording sound, images and video recording, The process A-I-C (Appreciation Influence Control) were used in study Report form on improving the quality of life of monks. Statistics used: percentage

The results revealed that There are 3 pattern of health screening: 1. Health screening Within the subdistrict 2. Special projects from outside 3. Sick monks then go in for screening and Treatment for the development of health care models, there are 5 types: 1. Study and take care of your own health, usually 3 monks/person (50 %) 2. Health care stations 3. Diabetes school in the temple found that 2 monks recovered from illness (33 %) 4. Health Literate Temple School 5. Hospital treatment When you are sick and follow the doctor advice, 1 monk (16.67%). A school should be established to Health Literacy and Health Promotion Temple School. To continue the activities to create holistic health. together with the principles of creating happiness - ending suffering Towards lifelong learning with Dhamma principles to guide the world every Buddhist holy day


keywords : Monks; Model for strengthening the potential of Monks; Behaviors that Risk Causing Disease

อ้างอิง


[1] รายงานประจำปี 2565 โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 12 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https ://www.priest-hospital.go.th/pdf /2565 /mobile/ index.html

[2] รายงานประจำปี 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2565.

[3] จุรีรัตน์ กิจสมพร และคณะ. การสาธารณสุขไทยใต้ร่มพระบารมี. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์; 2564. 141 – 44.

[4] Lord, J. Lives in Transition : The Process of Personal Empowerment. Kitchener : Centre for Research & Education in Human Services and Ottawa : Disabled Person Participation Program, Secretary of State. [Online]. (1997). [cited 18-19 March, 2002]. Available from http://www .unaids.org/fact-sheets.

[5] สมศักดิ์ สนพะเนาว์ และคณะ. แนวทาง การดำเนินงานตามพันธกิจ 6 ด้านของคณะสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร วิชาการ มจร บุรีรัมย์ 2564; 31-45.

[6] ผกาทิพย์ สิงห์คำ และพรฤดี นิธิรัตน์. (2565). การดูแลสุขภาพพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา: อะไรที่พระสงฆ์ ต้องการ ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิจัยสุขภาพ และ การพยาบาล 2565; 38(1) เดือนมกราคม – เมษายน : 122.

[7] พระราชวรมุนี (พลอาภากโร) และคณะ. ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ:โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์; 2564.

[8] พีรภัทร ไตรคุ้มดัน. ผลของโปรแกรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางยา 8 ขนานสังหาร NCDs ของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง อำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา 2565; 29: 5-14.

[9] อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง พุฒิพงษ์ สัตย วงศ์ทิพย์ และทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. การพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ในการป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2565; 28: 88 – 100.

ดาวน์โหลด