บทความวิจัย



ผลของโปรแกรมการเสริมพลังร่วมกับการชี้แนะผู้ดูแลเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา  The Effects of the Empowerment Program Combined with Caregiver guidance for Rehabilitation of the Elderly with stroke in Debaratana Nakhonratchasima Hospital

ภัทรกร จันทวร
    โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมพลังร่วมกับการชี้แนะผู้ดูแลเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแล และผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ระหว่างเดือนกันยายน ถึง ตุลาคม 2566 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ 64 คู่ แบ่งเป็น กลุ่มเปรียบเทียบ 32 คู่ ได้รับความรู้ ทักษะการฟื้นฟูสมรรถภาพตามปกติ กลุ่มทดลอง 32 คู่ ได้รับโปรแกรมโดยประยุกต์ใช้กระบวนการเสริมพลังอำนาจและการชี้แนะ รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์ ดังนี้ (1) ค้นพบสถานการณ์จริง เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง (2) การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทบทวนการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อให้เกิดแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน (3) ตัดสินใจและลงมือปฏิบัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างเหมาะสม (4) การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ โดยติดตามทางโทรศัพท์เพื่อให้คำปรึกษา และเสริมความมั่นใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทักษะ การรับรู้พลังอำนาจของผู้ดูแล ประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบสมมุติฐานด้วย Independent t-test และ Paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง ผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ และการรับรู้พลังอำนาจการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพิ่มขึ้นกว่าก่อนทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.001) และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = 0.002) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.001) และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ( p = 0.048 ) โปรแกรมการเสริมพลังร่วมกับการชี้แนะผู้ดูแลนำไปใช้ส่งเสริมความรู้ ทักษะ การรับรู้พลังอำนาจผู้ดูแล เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองได้


คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ; ผู้ดูแล

This quasi experimental research aimed to examine the effects of empowerment program combined with caregiver guidance for rehabilitation of elderly with stroke. Purposive sampling was used to select elderly with first stroke and caregivers who were admitted at Debaratana Nakhonratchasima hospital. From September to October 2023. A total of 64 dyads of elderly with first stroke and their caregivers were recruited into this study. The first 32 dyads of elderly with stroke and their caregivers were assigned to the comparison group, receiving a usual training program. The other 32 were assigned to the experimental group, receiving a empowerment program and coaching for 4 weeks. The programme emphasised: : (1) discovery and analysis of realities, as well as problems related to rehabilitation of elderly with stroke . (2) critical reflection and thorough review of rehabilitation practice, to reach mutual problem-solving agreements (3) decisions on proper rehabilitation techniques for elderly stroke patients. (4) maintaining of effective, through phone-mediated follow-ups, for the purposes of counseling and assurance. The data were collected from questionnaires on general information, knowledge, skills, caregiver perception of self empowerment and activities of daily living performance in elderly with stroke . Data analysis was performed by descriptive statistics, and the hypothesis was tested by using an independent t-test and paired t-test.

The results showed that After the experiment caregivers in the experimental group had the means scores of knowledge and caregiver perception of self empowerment were statistically significantly higher than before the experiment and the comparison group. (p < 0.001) caregivers in the experimental group had the means scores of skill was statistically significantly higher than before the experiment. (p < 0.001). and the comparison group (p = 0.002). In addition, activities of daily living performance in elderly with stroke in the experimental group was statistically significantly higher than before the experiment.(p < 0.001). and the comparison group. (p =0.048) The empowerment program combined with caregiver guidance for rehabilitation of elderly with stroke could be applied in the strengthening of knowledge, skills, perception of self empowerment for caregivers.


keywords : Elderly; Caregiver

อ้างอิง


[1] Word Stroke Organization. World Stroke Day. [Online]. (2020). [Cited 2020 March 18]. Available from: https://www. disabledworld.com/health/neurology/stroke/world-stroke-day.php

[2] มัญชุมาส มัญจาวงษ์. โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัย.สาขาวิชาอายุรศาสตร์ปัจฉิมวัย ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562.

[3] สกานต์ บุญนาค. รายงานการวิจัยการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพ ภาระโรคและความต้องการบริการด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย ปี 2563. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 กรกฎาคม 2566] เข้าถึงได้จาก https:// thaitgri.org/? wpdmpro=โครงการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพ ภาระโรค และความต้องการบริการด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย.

[4] กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2560. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd. com/document/file/info/non-communica ble disease/_2560_.pdf.

[5] วลัยนารี พรมลา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วย บาดเจ็บศีรษะ. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.

[6] บุษยมาส บุศยารัศมี. ความต้องการการดูแลโดยทีมหมอครอบครัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมองในเขตเทศบาลนครนครปฐม. วารสารแพทย์ เขต 4-5 2561; 37(2) : 192 – 200.

[7] ศรารินทร์ พิทธยะพงษ์. สถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคการดูแลผู้ป่วยหลัง การเกิดโรคหลอดเลือดสมองระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2561; 11(2): 26 – 39.

[8] นพวรรณ ดวงจันทร์ พรทิพย์ สินประเสริฐ วิภาดา ตรงเที่ยง และคณะ. ภาวะโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุและแนวทางการสร้างความแข็งแกร่งแก่ญาติผู้ดูแล. วารสารพยาบาลทหารบก 2564; 22(1): 20 – 8.

[9] เพชรลดา จันทร์ศรี วรรวิษา สำราญเนตร และนิตยา กออิสรานุภาพ. การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลในการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2565; 8(11): 2 – 25.

[10] นัยน์ปพร จันทรธิมา ทศพร คำผลศิริ และเดชา ทำดี. ผลของโปรแกรมการโค้ชต่อการเตรียมพร้อมและภาระของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. พยาบาลสาร 2561; 45(2) : 51 – 63.

[11] Gibson, C.H. A study of empowerment in mothers of chronically Ill children. Journal of Advanced Nursing 1993; 21: 865 – 71.

[12] Hass,S.A. Coaching : Developing key players. Journal of Nursing Administration 1992; 22(6) : 54 – 8.

[13] กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ.2564. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566] เข้าถึงได้จาก http://www.tako.moph.go.th/takmoph2016/file_download/file_20210129131952.pdf.

[14]Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences.Hillsdale, New Jersey: Lawrencel Erlbaum Associates;1988.

[15] วาสนา มูลฐี สุปรีดา มั่นคง ยุพาพินศิรโพธิ์งาม และสิริรัตน์ ลีลาจรัส. ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผู้ดูแล ระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความสามารถใน การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ภาวะแทรกซ้อน และความพึงพอใจของผู้ป่วย. วารสารสภาการพยาบาล 2559; 31(1) : 95 – 110.

[16] อรุณ จิรวัฒน์กุล.สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัยที่ใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์; 2552.

[17] สวงษ์ ลักษณะไทย.การเสริมสร้างพลังอํานาจผู้ดูแลเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลอุทัย. วารสารวิจัยการพยาบาลและสาธารณสุข 2564; 1(3) : 89 – 101.

[18] ดุษฎี ไตรยวงษ์ สุนีย์ ละกำปั่น ทัศนีย์ รวิวรกุล. ผลของโปรแกรมการพยาบาลและให้ความรู้ต่อความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านของผู้ดูแล.วารสารการศึกษาแพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2563; 37(3) : 240 – 49.

[19]พัชราภรณ์ สิรินธรานนท์. ผลของโปรแกรมการสอนแนะผู้ดูแลต่อความสามารถในการปฏิบัติ กิจวัตรประจําวัน ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

[20]ศรารินทร์ พิทธยะพงษ์ จารุณี นุ่มพูล ดวงกมล วัตาดุล และคณะ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมศักยภาพผู้ดูแลในครอบครัวรูปแบบการพยาบาลทางไกล โดยการติดตามทางโทรศัพท์และวิดิโอคอล ต่อการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย. วารสารสภากาชาดไทย 2566; 16(1) : 115 – 34 .

ดาวน์โหลด