บทความวิจัย



ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพของวัยทำงาน ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา : การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด  Predicting factors of Attention to Prevent Occupational Diseases among Thai worker in Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province: Development and validation of Intention Scale.

ธีระชัย พบหิรัญ
    โรงพยาบาลปากช่องนานา . ปากช่อง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


วัตถุประสงค์การวิจัยประกอบด้วย (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (2) วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ของปัจจัยความตั้งใจในการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (3) เพื่อหาอำนาจทำนายปัจจัยความตั้งใจและพฤติกรรมในการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพและ (4) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความตั้งใจในการป้องกันโรคจาก การประกอบอาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยทำงาน ในสถานประกอบการขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ในอำเภอปากช่อง จำนวน 1,095 คน รวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณ และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อลดปริมาณข้อมูลหรือลดจำนวนตัวแปรในการวิจัย โดยใช้โปรแกรมลิสเรล

ผลการวิจัย พบว่า (1) พฤติกรรมการป้องกันโรคจากการทำงานอยู่ในระดับดี (2) พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของปัจจัยทัศนคติต่อพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มที่อ้างอิง การรับรู้การควบคุม พฤติกรรมความตั้งใจกับพฤติกรรมการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพที่ระดับ 0.01 (3) การรับรู้ความสามารถใน การควบคุมพฤติกรรม และคล้อยตามกลุ่มที่อ้างอิงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 (α = 0.01;  = 0.62 and 0.30 ตามลำดับ) สามารถร่วมอธิบายได้ 81% (Adjust R2 = 0.81) และ (4) การวิเคราะห์ EFA สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ 64.50% และผลการวิเคราะห์ CFA หลังปรับปรับโมเดล ได้ Chi-Square = 2,969.67, SRMR = 0.036, RMSEA=0.027, GFI=0.93 และ CFI= 1.00 สรุปได้ว่าแบบวัดระดับความตั้งใจในการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีความน่าเชื่อถือ ข้อค้นพบนำมาสู่ การสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ แบบวัดความตั้งใจในการป้องกันโรคจาก การประกอบอาชีพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวัยทำงานในสถานประกอบการอื่น ๆได้


คำสำคัญ : ปัจจัยทำนาย; โรคจากการประกอบอาชีพ; ความตั้งใจ; คุณภาพแบบวัด

The research aimed to examine: (1) The behaviors of occupational disease prevention; (2) the relation between factors about the Theory of Planned Behavior (TPB) on occupational disease prevention; (3) the influence of factors about the Theory of Planned Behavior (TPB) on occupational disease prevention; and (4) to develop and assess the intention scale of occupational disease prevention. The sample for this research was drawn from 1,095 Thai workers in Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province. Cluster sampling was employed in the industrial research. To test the hypothesis, data were gathered using multiple regression, Spearman correlation coefficient, and an online questionnaire. Additionally, causal model testing in research may be accomplished with the LISREL program.

The results revealed that: (1) The behaviors for occupational disease prevention were at a good level. (2) There were statistically significant correlations between attitude toward the behavior, subject norm, perceived behavior control, and behavior intention with the behavior of occupational disease prevention at the 0.01 level. (3) Occupational disease prevention behavior is influenced by one perception of one capacity to regulate conduct and submit norms to the reference group. (α = 0.01; = 0.62 and 0.30, respectively). Both factors could explain 81% (Adjust R2 = 0.81) and (4) factors could explain 28.8% (Adjust R2 =0.288) and (4) The KMO test result was 0.982, indicating average sample adequacy. Bartlett test of Spherically gave a p-value of < 0.01, Chi-Square = 71908.614, df = 2,628, demonstrating the data suitability for factor analysis. The EFA revealed that there were factors with eigenvalues greater than one that explained 64.50% of the cumulative variance. In addition, after model adjustment, Chi-Square = 2,969.67, SRMR = 0.036, RMSEA=0.027, GFI=0.93 and CFI= 1.00 (67 items within 5 dimensions, Cronbach alpha between 0.89 and 0.97 of 5 dimensions). As a result, the model produced a superior fit. This information can be used to increase the effectiveness of training and minimize occupational diseases in workers, The Intention Scale of Occupational Disease Prevention to be used in Thai workers.


keywords : Predicting Factors; Occupational Diseases; Behavior Intention; Validation Scale

อ้างอิง


เอกสารอ้างอิง

[1] สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนประชากร จำแนกตามสภาพแรงงาน และเพศ พ.ศ.2565. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/ sector/th/01.aspx.

[2] กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพประชาชนวัยทำงาน (15-59 ปี) ปีงบประมาณ 2565. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go. th/linkHed/448

[3] กรมสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) ปีงบประมาณ 2565. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/ hdc/reports/page.php?cat_id=f16421e617 aed 29602f9f09d951cce68.

[4] สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2561 – 2565 [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https:/ /www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/ 102220b2a 37b7 d0ea4e ab82e6fab4741.pdf

[5] Ajzen, I. Theory of planed Behavior. Organizational Behavior & Human Decision Process 1991; 50(2), 179 – 202.

[6] Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. Multivariate data analysis: a global perspective (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall; 2010.

[7] กมลทิพย์ เสงี่ยมชื่น. ความตระหนักรู้ถึงความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของพนักงาน บริษัท เอ็ม.เอส. เฟริสท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด [วิทยานิพนธ์ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2562.

[8] กัลยาณี ตันตรานนท์ วีระพร ศุทธากรณ และอนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์. การพัฒนาแบบวัดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม. พยาบาลสาร 2556; 40 (พิเศษ มกราคม) : 73-83

[9] สุนทรี สารางคำ กัลยานี บุญทศ และสุภาพร ทองแจ่ม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพผลิตกระติบข้าว บ้านนาสะไมย์ จังหวัดยโสธร. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 16 ; 2563

[10] อดิเรก ธรรมวงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงาน บริษัท สิริ ซัคเซส ซัพพลาย จำกัด. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2564.

[11] ฟารอน หัตถประดิษฐ์ โสภา บุญลออ และขนิษฐา อมประนาม. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานโรงงานไม้ยางพาราในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565; 31(1) : 27-3

[12] คมสันต์ เหล็มมะ ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และธานี แก้วธรรมานุกูล. การบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่.พยาบาลสาร 2561; 45(4) : 56-70

[13] กาญจนา วิสัย. ปัจจัยที่มีผลต่ออุบัติเหตุในการทำงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2564; 4 : 269 – 83.

[14] พลกิจ จงวัชสถิตย์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานฮอทไลน์ (Hotline) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1, 2 และ 3 (ภาคกลาง) [บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2563.

[15] จุฑามาศ คชโคตร และ ศิราณีย์ อินธรหนองไผ่. พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจาก การทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2560; 36(4) : 33 – 41.

[16] กัลยภรณ์ เชยโพธิ์.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการเกิดเมตาบอลิกซินโดรมของผู้ใหญ่วัยทำงาน อายุ 21-35 ปีในกรุงเทพมหานครโดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีพฤติกรรมตามแผน. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

[17] จุฑารัตน์ อยู่สุขเจริญ เกษร สำเภาทอง และพรทิพย์ จอมุก.ปั จจัยทำนายความตั้งใจเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ.วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2561; 32(2) : 139 –53.

ดาวน์โหลด