บทความวิจัย



ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชนบ้านม่วง ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา  The Effects of the Health Literacy Program on the diabetes risk group’s disease prevention behaviors in Ban Muang Community Nai Mueang Subdistrict, Phimai District, Nakhon Ratchasima Province.

อภิญญา ถวิลหวัง
    โรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. พิมาย. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชนบ้านม่วง ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ทั้งก่อนและหลังการศึกษาของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละจำนวน 35 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ตามแบบเดิม ใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมานได้แก่ Paired t-test, Independent t-test

ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรม การป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน คะแนนเฉลี่ยระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ ดีขึ้นกว่าก่อนเข้าโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-4.21, p=0.00) และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ พิจารณาเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=2.59, p=0.01) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพการป้องกันโรค ในภาพรวมหลังสิ้นสุดโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยดีขึ้นกว่าก่อนเข้าโปรแกรม และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ระดับพฤติกรรมการป้องกันโรค กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมระดับดีมากเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.72 เป็น 28.57 ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ พฤติกรรมระดับดีมากลดลงจากร้อยละ 11.43 เป็น 8.56 ตามลำดับ พิจารณาเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และผลลัพธ์ด้านสุขภาพได้แก่ ดัชนีมวลกาย รอบเอว และระดับน้ำตาลในเลือด หลังสิ้นสุดโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยที่ดีขึ้นกว่าก่อนเข้าโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.005)


คำสำคัญ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ; พฤติกรรมการป้องกันโรค; กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

This study is a quasi-experimental study with two groups. The objective is to study the results of the health literacy program on disease prevention behaviors of the diabetes risk group in Ban Muang Community, Nai Mueang Subdistrict, Phimai District, Nakhon Ratchasima Province, both before and after the study for the experimental and control groups. Each group consisted of 35 individuals. The experimental group participated in the health literacy program for diabetes risk prevention, while the control group participated in traditional knowledge enhancement activities. The study spanned a total of 12 weeks. General data was analyzed using descriptive statistics and inferential statistics, including the Paired t-test and Independent t-test.

The study found that at the end of the health literacy enhancement program on the diabetes risk group’s disease prevention behaviors. The average health literacy score for the experimental group showed an improvement compared to before participating in the program there was a statistically significant (t=-4.209, p=0.000) and was higher than the control group. Comparing the average health literacy scores between the experimental and control groups, there was a statistically significant difference. (t=2.597, p=0.012) Moreover, the average score for health behavior in disease prevention for the experimental group after the program was higher than before and was better than the control group. The behavior level of disease prevention after the program for the experimental group was at the very good level increased from 5.72% to 28.57%, whereas for the control group, it decreased from 11.43% to 8.56%. The average scores for disease prevention behavior between the two groups were not statistically different. And health outcomes included body mass index, waist circumference, and blood sugar levels. After the health literacy promotion program ended, it was found that the experimental group had better averages than before entering the program. Statistically significant (p=0.005)


keywords : Health Literacy; Disease Prevention Behaviors; Diabetes Risk Group

อ้างอิง


[1] กลุ่มยุทธศาสตร์และประเมินผล กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2564. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักอักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

[2] อริสรา สุขวัจนีและ อัญชลีพร อมาตยกุล, การพัฒนาความสามารถของผู้ดูแลใน การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2562; 31(2): 112 – 25.

[3] Wold Health Organization. Health literacy and health promotion. definitions, concepts and examples in the Eastern Mediterranean Region. 7th Global conference on health promotion promoting health and development. Nairobi, Kenya; 2009.

[4] Nutbeam D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000; 15(3) : 259 – 67.

[5] ขวัญเมือง แก้วดำ เกิง, ดวงเนตร ธรรมกุล. การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558; 9(2): 1-8.

[6] วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย / สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

[7] ปาจรา โพธิหัง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2564; 29(3): 115 – 30.

[8] วชิระ เพ็งจันทร์และชะนวนทอง ธนสุกาญจน์. แนวคิด หลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

[9] กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมสุขศึกษา เพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 2 อ.(อาหาร ออกกำลังกาย) ในการป้ องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สำหรับวัยทำงาน. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

[10] Taro Yamane. Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row; 1973.

[11] American Diabetes Association. Classification and Diagnosis of Diabetes. Diabetes Care 2017;40: 11 – 24.

[12] พรอนันต์ กิตติมั่นคง, ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร, สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, นาตยานี เซียงหนู, ณิชกมล กรึ่มพิมายและศรีเสาวลักษณ์ อุ่มพรมมี. สถานะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลวัยทำงาน ในเขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2560; 11(26): 192 – 205.

[13] ศิลป์ชัย เนตรทานนท์ และมัตติกา ยงอยู่. พฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรวัยทำงาน เขตสุขภาพที่ 5 พ.ศ. 2565. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://apps.hpc.go.th/dmkm/item/665

[14] ชูสง่า สีสัน และธณกร ปัญญาใสโสภณ. ผลของโปรแกรมความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2563; 6(2): 115 – 69.

[15] ดวงพร บุญมี. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรม การดูแลสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเกาะสมุย จังหวัด สุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2565; 5(2): 153 – 66 .

[16] ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. เจาะลึก Health Literacy. ในเอกสารการประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 18 เรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพยุค 4.0. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

[17] ไชยา จักรสิงโต. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์; 2560.

[18] Sharif, I. & Blank, A.E. Relationship between child health literacy and body mass index in overweight children. Patient Education and Counseling 2010; 79(1): 43 – 8.

ดาวน์โหลด