บทความวิจัย



ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการออกกำลังกายแบบบาสโลบต่อความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา  The effect of Motivation Comined with Paslop Exercise program on blood pressure among persons with prehypertension in H.R.H. The Princess Mother Centenary Celebrations Hospital. Mueang Yang District. Nakhon Ratchasima Province.

สุภาพร มาลีวรรณ์
    โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี. เมืองยาง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองศึกษาหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง คัดเลือกกลุ่มทดลองแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติในการคัดเลือก และสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก ได้กลุ่มทดลอง จำนวน 22 คน เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการตรวจคัดกรองสุขภาพในชุมชนพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการออกกำลังกายแบบบาสโลบ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ (ระหว่างเดือนธันวาคม พศ.2565 – เดือนมีนาคม พศ.2566) โปรแกรมประกอบด้วยการ (1) การให้ข้อมูลความรู้เรื่องภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (2) การสร้างแรงจูงใจภายในตัวบุคคล โดยการตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกาย การสร้างแรงจูงใจทางสังคม ด้วยการเยี่ยมบ้านและกระตุ้นเตือนทางโทรศัพท์ (3) การฝึกทักษะการออกกำลังกายแบบบาสโลบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ เครื่องมือกำกับการทดลอง คือแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าความดันโลหิตก่อนและหลังการทดลองโดยการใช้สถิติ Paired t–test

ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการออกกำลังกายแบบบาสโลบ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิต Systolicและ Diastolic ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05


คำสำคัญ : การสร้างแรงจูงใจ; การออกกำลังกายแบบบาสโลบ; กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

This research was a quasi-experimental study in one group. Measure the results before and after the experiment. selecting a specific experimental group According to the selection qualifications and easily randomized by drawing lots The experimental group consisted of 22 people who were at risk of hypertension who came to receive health screening services in the community responsible area. H.R.H. The Princess Mother Centenary Celebrations Hospital, Muang Yang District Nakhon Ratchasima Province The experimental group received an 8-week (During December 2022 – March 2023) motivational exercise program with Baslop exercise. (1) Providing information about the risk of hypertension (2) Motivation within the person by setting goals for exercise Social Motivation with home visits and phone calls (3) Baslop exercise skill training The data collection tool was the health record form. experimental monitoring tool is a questionnaire on exercise behavior Data was analyzed by percentage, mean, standard deviation. The blood pressure values before and after the experiment were compared using the Paired t–test.

The results of the research found that after participating in the motivational program with Baslop exercise. The experimental group had lower mean systolic and diastolic blood pressure than before joining the program. Statistically significant at the .05.


keywords : Motivation Comined; Paslop Exercise; prehypertension.

อ้างอิง


[1] Chobanian, A. V., Bakris, G. L., Black, H. R., Cushman,.Seventh report of the joint national committee on prevention, detection, evaluation, and treatment of high blood pressure. Hypertension2003; 42(6): 1206 – 52.

[2] Egan, B. M., & Stevens-Fabry S,. Prehypertension (mdash] prevalence, health risks, and management strategies. Nature Reviews Cardiology2015; 12(5): 289 – 300.

[3] กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในประเทศไทย. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึง ได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc /reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6966b0664b89805 a484 d7ac 96 c6edc48&id=6833128a5d76a6aface3e4 a 6af0e718c.

[4] Guo, X., Zou, L., Zhang, X., Li, J., Zheng, L., Sun, Z., ... Sun, Y,. Prehypertension a meta-analysis of the epidemiology, risk factors, and predictors of progression. Texas Heart Institute Journal 2011 ; 38(6): 643 – 52.

[5] โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี. กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในพื้นที่โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี.[ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https:// hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source =pformated/format.php&cat_ id= 6966b0 664b89805a484d7 ac96c6edc48 &id=6833128a5d76a6afcae3e4a6af0e718c.

[6] อัญชลี เกาะอ้อม, ยุพิน อังสุโรจน์และระพิณ ผลสุข.ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการออกกำลังกายแบบบาสโลบต่อระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง. วารสารจุฬาลงกรณ์เวชสาร2563; 1(5): 464 – 71.

[7] อัมพร วงศ์ติบ นงเยาว์ อุดมวงศ์ และรังสิยา นารินทร์. การพัฒนาโปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. พยาบาลสาร 2558; 42(4): 12 – 24.

[8] สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช; 2546.

[9] Fisher, J. D., & Harman, J.,. The Information-Motivation-Behavioral Skills Model: A General social psychological approach to understanding and promoting health and illness 2003.; 38(6): 82 – 106.

ดาวน์โหลด