บทความวิจัย



ความสัมพันธ์ของทักษะชีวิตและผลกระทบในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชิงเขาคีรี ตำบลยางตาล อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ปีงบประมาณ 2565  The relation of life skills and impact for the prevention cerebrovascular disease in among patients with hypertension responsible areas in choeng khao khiri sub-district health promoting hospital, Yang tan sub-district, Krok phra district, Nakhon sawan province.

วัชรี พิทักษ์ธานิน
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชิงเขาคีรี ตำบลยางตาล อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. โกรกพระ. นครสวรรค์. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงพรรณนา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของทักษะชีวิตและผลกระทบในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชิงเขาคีรี ตำบลยางตาล อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ปีงบประมาณ 2565 เพื่อนำมากำหนดแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค หลอดเลือดสมองของประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีจับฉลากจำนวน 269 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา ได้ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา Cronbach’s alpha coefficient โดยผลการศึกษาจากแบบวัดความรู้ ทักษะชีวิต ผลกระทบ การรับรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เท่ากับ 0.78, 0.84, 0.89 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ (Chi-square) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Regression) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 62.43 ปี สถานภาพสมรสการศึกษาชั้นประถมศึกษา รายได้เฉลี่ย 3,714.44 บาท/เดือน ความรู้ ทักษะชีวิต ผลกระทบ การรับรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองภาพรวมอยู่ในระดับสูง, ปานกลาง (

คำสำคัญ : ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง; โรคหลอดเลือดสมอง; ทักษะชีวิต; ผลกระทบ

This descriptive research aims to study the relationship of life skills and their effects on cerebrovascular disease prevention in among patients with hypertention. Responsible area of Ban choeng khao khiri sub-district health promoting hospital, Yang Tan sub-district, Krok phra District, Nakhon sawan province, fiscal year 2565 to be used to determine guidelines for health promotion and prevention of cerebrovascular disease among at-risk people. A sample of 269 people was selected by drawing lots. The questionnaire was used as a tool for the study. Confidence was obtained by Cronbach’s alpha coefficient, a measure of knowledge, life skills, impact and perception of cerebrovascular disease equal to 0.78, 0.84, 0.89 and 0.92 respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, Chi-square test and stepwise regression analysis. The level of statistical significance was set at 0.05.

The results showed that most of the sample were female average age 62.43 years, marital status, primary school education average income 3,714.44 baht/month, knowledge, life skills, impact, awareness about cerebrovascular disease, overall was high, moderate (

keywords : Hypertention patients; Cerebrovascular Disease; Life Skills; Impact.

อ้างอิง


[1] สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สาธารณสุข. [ข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี 2563-2564].

[ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http: //bpo.ops .moph .go.th/ Healthinformation

[2] สุภา เกตุสถิตย์. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์]. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี; 2554.

[3] ศิริพันธุ์ สาสัตย์ ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์ และ เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์. รูปแบบ การปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในสถานบริการในประเทศไทย. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ 26 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://dspace.hsri.or.th/ dspace/handle/123456789/2879.

[4] น้อมจิตต์ นวลเนตร์. ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อ โรคหลอดเลือดสมองของผู้มีภาวะเสี่ยงในชุมชนสามเหลี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สายวิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2556.

[5] สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. [คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564]. กรุงเทพฯ: คัลเลอร์บอกซ์ จำกัด; 2564.

[6] ทิพวรรณ์ ประสาทสอน. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเกิดโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรค ในบุคคลที่เสี่ยงต่อ การเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2555.

[7] มณฑิรา ชนะกาญจน์ ณิชาภัตร พุฒิคามิน. การรับรู้เกี่ยวกับโรคและความเสี่ยง อาการนำ การรักษาและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในบุคคลที่มีภาวะสุขภาพเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

[8] รัตนา เรือนอินทร์. ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการควบคุมโรคของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2550.

[9] อุมาพร แซ่กอ ชนกพร จิตปัญญา. ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร 2557; 6 (2) พฤษภาคม – สิงหาคม 2557 :

[10] กษมา เชียงทอง. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้ อาการ เตือนและพฤติกรรมการจัดการโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงหลอดเลือดสมอง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2554

[11] กฤติมา ดวงแก้วกัณหา และสุวิมล สุวรรณรัตน์. ผลกระทบที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้มารับบริการที่ตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน : ตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน; 2556.

[12] เสกสรร จวงจันทร์. ความสัมพันธ์ของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2558; 29(2) เมษายน – มิถุนายน :

[13] วีระศักดิ์ อุดมดี. ทักษะการใช้ชีวิตที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งของประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี [สื่อ Online]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2552]. เข้าถึงได้จาก http://hrm.go.th/

[14] จรรจา สันตยากร. การจัดการดูแลโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน แนวคิดและประสบการณ์การพยาบาลในชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ตระกูลไทย; 2554

ดาวน์โหลด