บทความวิจัย



โมเดลการสร้างความสุขของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูง ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ตามแนวทาง Happinometer: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  The model for happiness enhancement among officers in Ponsung Health Promoting Hospital, Muenwai Subdistrict, Muang District, Nakhon Ratchasima Province, according to Happinometer guidelines: Participatory Action Research

สุชาติ สนพะเนาว์
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูง ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาโมเดลต้นแบบใน การดำเนินงานสร้างความสุขตามแนวทาง Happinometer โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูง ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีกลุ่มเป้าหมาย คือบุคลากรในหน่วยงาน ทั้งหมดจำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบวัดความสุขด้วยตนเอง (Happinometer) และแบบสอบถาม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและความพึงพอใจต่อกิจกรรม ในด้านข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์ และการสังเกต การวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติ Paired sample t-test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาโมเดลต้นแบบเพื่อสร้างความสุขตามแนวทาง Happinometer เกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคนในการวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1 ศึกษาบริบทก่อนดำเนินการ ระยะที่ 2 การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมตามแนวทาง Action Research และระยะที่ 3 หลังการดำเนินงาน ซึ่งวิเคราะห์และประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานร่วมกัน ซึ่งพบว่าภายหลังการพัฒนา ค่าเฉลี่ยคะแนนความสุขในทุกมิติ ของบุคลากรมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น รวมทั้งด้านการส่วนร่วมในกิจกรรมการเสริมสร้างความสุข และความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเสริมสร้างความสุขเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ทั้งสองด้าน ยกเว้นมิติความสุขด้านสุขภาพเงินดี ที่พบว่าไม่มีความแตกต่างเมื่อเทียบกับก่อนการพัฒนา (p-value = 0.76) จากการถอดบทเรียนและวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ทำให้ได้โมเดลการสร้างความสุขชื่อว่า PONSUNG Model ที่มีความเหมาะสมและตรงตามบริบทของหน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูง มากที่สุด ทั้งนี้ โมเดลที่เกิดขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรอื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกันเพื่อเสริมสร้างความสุขให้กับเจ้าหน้าที่ได้ดีขึ้น


คำสำคัญ : โมเดลความสุข; Happinometer; การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

This research is action research. The objective was to find a prototype model for happiness-creating operations according to the Happinometer approach with the participation of personnel in Ponsung Health Promoting Hospital, Muenwai Subdistrict, Muang District, Nakhon Ratchasima Province. There are a target group of 15 public health officials. Quantitative data were collected using the Happinometer questionnaire and the Activity Participation and Activity Satisfaction questionnaire. In terms of qualitative data, interview and observation methods were used. Quantitative analysis used frequency, percentage, mean, standard deviation, minimum, maximum, and paired sample t-test statistics. For qualitative data, content analysis was used.

The study of the prototype model for creating happiness according to the Happinometer approach results from the participation of all personnel in planning joint operations, divided into 3 phases: 1. Study the context before implementation; Phase 2: Participatory Implementation According to Action Research Guidelines and Phase 3: After Implementation, which analyze and evaluate operational results together, It was found that after development, mean scores of happiness in all dimensions of personnel have changed in a better direction, including participation in activities to promote happiness, and satisfaction with happiness-promoting activities has increased statistically significantly (p-value<0.001). Except for the happiness dimensions of money and health, there was no difference between before and after development (p-value = 0.76). From taking lessons and analyzing success factors, as a result, the model for creating happiness called the PONSUNG Model is most suitable and relevant to the context of the Ponsung Health Promoting Hospital. The resulting model can be applied to other organizations in similar situations to improve happiness.


keywords : Model for Happiness; Happinometer; Action Research

อ้างอิง


[1] ฐิตินันท์ เขียวนิล. ระดับความสุขในที่ทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน. เชียงใหม่ :มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2554.

[2] ขวัญเมือง บวรอัศวกุล. การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตกับการทำงานอย่างมีความสุข. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 12 ตุลาคม 2565]. เข้าถึง ได้จาก http://tpso4.m-society.go.th/ index.ph43.

[3] สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. รู้จัก. Happinometer: ปรอทวัดความสุขด้วยตนเอง [ออนไลน์]. (2555). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th.

[4] แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน. มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2552.

[5] AllPhych. Chapter 9.1: Inferential Statistics. [ออนไลน์]. (2018 ). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://allpsych.com/ researchmethods/inferentialstatistics/.

[6] Kemmis K. & Mc Taggart R. Participatory action research. In Handbook of qualitative research. London: SAGE; 2000.

[7] สมนึก ปฏิปทานนท์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน 2550; 2(1) : 57–74

[8] Best J.W. & Kanh J.V. Research in Education (6th ed.). New Delhi: Plentice-Hall;1989.

[9] กิติพัฒน์ ดามาพงษ์. ความสุข ความ พึงพอใจ ต่อความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์; 2559.

[10] ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace). [ออนไลน์]. (2555). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 23 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttp://kmops.moph.go.th/index.php/km-test/2012-09-19-04-22-45/362-happy-workplace.

ดาวน์โหลด