บทความวิจัย



การศึกษา เจตคติเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30 ปี ขึ้นไปในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยลุง  knowledge study Attitudes regarding breast self-examination among women aged 30 years and over.

นางสาวธัญลักษณ์ มาตยะขันธ์
    -. สีคิ้ว. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ เจตคติเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30 ปีขี้นไป กลุ่มตัวอย่างคือสตรี อายุ30 ปีขึ้นไป ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยลุง ตำบลวังโรงใหญ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน คือส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ความรู้เรื่องการตรวจมะเร็งเต้านม ส่วนที่ 3 เจตคติเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และส่วนที่ 4 พฤติกรรมการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีอัลฟา ของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นแบบวัดความรู้เท่ากับ 0.6 และเจตคติเท่ากับ 0.58 เก็บรวบรวมข้อมูล โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2565-31 กรกฎาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 44.4 ระดับปานกลางร้อยละ 41.3 และระดับสูงร้อยละ 14.3 และมีเจตคติเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองอยู่ในระดับปานกลาง 33.3 และระดับสูงร้อยละ 66.7

สำหรับพฤติกรรมการตรวจเต้านมตนเองพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง แต่มีพฤติกรรมการตรวจไม่สม่ำเสมอทุกเดือน ร้อยละ 80.2 การตรวจสม่ำเสมอทุกเดือนเพียงร้อยละ 9.5

จากการศึกษานี้จะเห็นได้ว่าควรจะปรับปรุงพัฒนาวิธีการเฝ้าระวังการตรวจป้องกันโรคมะเร็งเต้านมให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งควรเน้นในการให้ความรู้ และการฝึกปฏิบัติตรวจเต้านมที่ถูกต้อง มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การตรวจเต้านมด้วนตนเองอย่างสม่ำเสมอ


คำสำคัญ : ความรู้ เจตคติเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30 ปีขี้นไป

-

keywords : -

อ้างอิง


1. ผลการศึกษาความรู้ เกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปพบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ระดับต่ำ คือร้อยละ 44.4 ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้สอดคล้องกับดาริน โต๊ะกานิ และคณะ ซึ่งได้การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี ที่มารับบริการในคลินิกวัยทอง พบว่าการรับรู้เกี่ยวมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเองงของกลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่(77.2%) อยู่ในระดับต่ำดาริน(โต๊ะกานิ,บุญยิ่ง ทองคูปต์,ประดังพร ทุมมาลา, 2552 )

2. เจตคติเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีเจตคติในระดับปานกลาง 33.3 อธิบายได้ว่าการได้รับความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม และการตรวจเต้านมด้วยตนเองอยู่ในระดับต่ำ มีผลต่อการมีเจตคติเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ที่ไม่ดีทำเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของปิยรัตน์ เมืองไทย พบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านม อายุยิ่งมากขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น(Breast Cancer Surveillance http://hpc4.anamai.moph.go.th/bcss.php) โดยทั่วไปมักพบมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ในแถบเอเชียพบผู้ป่วยอายุน้อยกว่า (ปิยรัตน์ เมืองไทย,2554)

3. ผลการศึกษาพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง พบว่ากลุ่มตัวอย่าส่วนใหญ่เคยตรวจเต้านมตนเองไม่สม่ำเสมอทุกเดือน ซึ่งผลกาศึกษาครั้งนี้สอดคล้องผลการศึกษาของ อำนาจ ศรีคำ ที่ว่าพฤติกรรมการตรวจเต้านมของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าร้อยละ 80.2 มีการตรวจเต้านมไม่สม่ำเสมอในรอบ 1 เดือน เหตุผลที่ตรวจ เนื่องจากต้องการตรวจหาความผิดปกติของเต้านมอื่นๆ ที่ไม่ใช่มะเร็งเต้านม เช่น เนื้องอกในเต้านม(Cysl) และกลัวเป็นมะเร็งเต้านม(อำนาจ ศรีคำ,1551)

ดาวน์โหลด