บทความวิจัย



กระบวนการเทียบประสานรายการยา(Medication Reconciliation) ในตึก IPD  Medication list comparison process Reconciliation in the IPD

ภก.คมธัญจักร เจริญชัยภพสิน เภสัชกรปฏิบัติการโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี
    ประชุมวิชาการการพัฒนาคุณภาพ ประจำปี 2566 HACC FORUM ครั้งที่ 16. เมืองยาง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


ป่วยที่นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับยาทั้งในรพ.และนอกรพ. ไม่ได้นำยาเดิมมาจากบ้าน ซึ่ง ณ ขณะนอนรพ.พบปัญหาไม่ได้ให้ยาเดิมรับประทาน ปัญหา drug interaction และเมื่อจำหน่ายผู้ป่วยมีการจ่ายยาซ้ำยาเดิมที่เคยได้รับ ส่งผลให้ผู้ป่วยรับยาเดิมซ้ำซ้อน มียาจำนวนมากที่บ้านและกินยาซ้ำซ้อน ทางทีมได้มีการพัฒนากระบวนการในการประสานรายการยา มาตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ง่ายต่อการทำงาน ผู้ป่วยมีความปลอดภัยจากการใช้ยา ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในทุกช่วงรอยต่อของกระบวนการดูแลรักษา และสามารถสื่อสารรายการยาระหว่าง แพทย์ พยาบาลและเภสัชกร

วัตถุประสงค์ : เพิ่มความปลอดภัยจากการใช้ยาของผู้ป่วย โดยการออกแบบการจัดการกระบวนการในการประสานรายการยาอย่างเป็นระบบร่วมกันกับสหสาขาวิชาชีพ

วิธีดำเนินการ :

มีการออกแบบการจัดการกระบวนการ Medication reconcile โดยการพัฒนาแบบบันทึก Medication reconcile (MR) ของรพ. เป็น 3 ระยะ ดังนี้

ปี 2560 แบบบันทึก MR version 1

1.1 Plan : พบ Medication errors หลายชนิด เพราะการไม่ได้ประสานรายการยาเดิมของผู้ป่วยต่อทีมสหวิชาชีพ เภสัชกรจึงวางแผนทำแบบบันทึก MR version 1 โดยการโทรสอบถามและค้นข้อมูลยาเดิมจากผู้ป่วยและสถานรักษาพยาบาลอื่นๆ จดบันทึกข้อมูลประวัติยาเดิมผู้ป่วย วันรับยาครั้งล่าสุด วันนัดหน้า ข้อมูลการแพ้ยา และ พื้นที่สำหรับเพิ่มข้อมูลอื่นๆ ที่ควรทราบ

1.2 Do : ทดลองทำแบบบันทึก MR version 1 ฉบับยังไม่สมบูรณ์

1.3 Study : ได้ consult แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ ให้ได้แบบฟอร์ม MR version 1 ฉบับที่ดีที่สุด

1.4 Act : ทำข้อมูลแบบบันทึก MR version 1 ฉบับสมบูรณ์แบบ

MR version 1 พบปัญหา ไม่สามารถสื่อสารการเปลี่ยนแปลง order ของแพทย์ในระหว่างที่ผู้ป่วยนอน รพ.ได้ จึงได้ปรับเปลี่ยนแบบบันทึกใหม่เป็น MR version 2

ปี 2564 แบบบันทึก MR version 2

2.1 Plan : พบปัญหา ไม่สามารถสื่อสารการเปลี่ยนแปลง order ของแพทย์ในระหว่างวันที่ผู้ป่วยนอน รพ.ได้ จึงได้วางแผนที่จะปรับเปลี่ยนแบบบันทึกใหม่เป็น MR version 2 โดยเพิ่มวันในที่เปลี่ยนแปลงลงในใบ MR

2.2 Do : ทดลองทำแบบบันทึก MR version 2 ฉบับยังไม่สมบูรณ์

2.3 Check : ได้ consult แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ ให้ได้แบบฟอร์ม MR version 2 ฉบับที่ดีที่สุด

2.4 Act : ทำข้อมูลแบบบันทึก MR version 2 ฉบับสมบูรณ์แบบ

แต่ MR Version 2 พบปัญหา ไม่สามารถสื่อสารการส่งต่อ รายการยาฉีดจากรพ.แม่ข่าย ให้ทางทีมแพทย์ พยาบาลทราบได้ว่าผู้ป่วยเริ่มฉีดยาที่รพ.แม่ข่ายเมื่อไร ฉีดครั้งสุดท้ายเวลาเท่าไร ฉีดต่ออีกกี่วัน และครบฉีดเมื่อไร

ปี 2566 แบบบันทึก MR version 3

3.1 Plan : พบปัญหา ไม่สามารถสื่อสารการส่งต่อ รายการยาฉีดจากรพ.แม่ข่าย ให้ทางทีมแพทย์ พยาบาลทราบได้ว่าผู้ป่วยเริ่มฉีดยาที่โรงพยาบาลแม่ข่ายเมื่อไหร่ ฉีดยาครั้งสุดท้ายเวลาเท่าไร ฉีดต่ออีกกี่วัน และจะฉีดยาครบวันไหนเวลาเท่าไหร่ จึงได้วางแผนที่จะปรับเปลี่ยนแบบบันทึกใหม่เป็น MR Version 3

3.2 Do : ทดลองทำแบบบันทึก MR version 3 ฉบับยังไม่สมบูรณ์

3.3 Study : ได้ consult แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ ให้ได้แบบฟอร์ม MR version 3 ฉบับที่ดีที่สุด โดย **ปรับให้มีการสื่อสารรอยต่อการฉีดยาของรพ.จากการ refer back ของรพ.แม่ข่ายกับทีมสหสาขาวิชาชีพ รพ.เมืองยาง**

3.4 Act : ทำข้อมูลแบบบันทึก MR version 3 ฉบับสมบูรณ์แบบ

ผลการศึกษา : การได้รับยาซ้ำซ้อนลดลงหลังทำแบบบันทึก Medication Reconciliation form โดย ปีงบประมาณ 2563 พบอัตราการได้รับยาซ้ำซ้อน 0.19 ต่อพันวันนอน , ปีงบประมาณ 2564 - ปีงบประมาณ 2565 และช่วง ตุลาคม2565 ถึง กรกฎาคม 2566 พบอัตราการได้รับยาซ้ำซ้อน เป็น 0 ต่อพันวันนอน

ผู้ป่วยมีความปลอดภัยจากการใช้ยามากขึ้น ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในทุกช่วงรอยต่อของกระบวนการดูแลรักษา และสามารถสื่อสารรายการยาระหว่าง แพทย์ พยาบาลและเภสัชกร

นอกจากนี้ทีมสหวิชาชีพจากตึกผู้ป่วยในได้นำแบบฟอร์ม MR version3 ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้ในทุกเคสที่มียาเดิม และยังขยายผลนำไปใช้ในการ refer ผู้ป่วยจากห้องฉุกเฉิน และห้องผู้ป่วยนอกไปสู่สถานพยาบาลอื่น เพื่อให้สถานพยาบาลปลายทางได้รู้ประวัติข้อมูลยาที่ถูกต้องและครบถ้วน

ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้ :

1.สามารถนำไปใช้เป็นเอกสารประกอบในการส่งตัวผู้ป่วยสู่สถานพยาบาลอื่นได้ ลดการคัดลอก เพราะสามารถปรินท์จากฐานข้อมูลโปรแกรม HosXP ได้เลย และแพทย์สามารถใช้คำสั่ง “as med reconcile” ได้ เพื่อแทนคำสั่งให้ใช้ยาเดิมจากในใบ MR version3 ต่อได้

2.พบปัญหาแบบบันทึกข้อมูลยาเดียวกันจากสถานพยาบาลหลายแห่ง เมื่อบันทึกแล้วยังไม่สวยงามเป็นระเบียบ จึงมีแผนที่จะพัฒนาแบบฟอร์ม MR version4 เพื่อให้สามารถเขียนข้อมูลยาเดียวกันจากสถานพยาบาลหลายแห่งให้สวยงามเป็นระเบียบมากขึ้น


คำสำคัญ : Med. reconcile , ประสานรายการยา , PDCA

อ้างอิง


ผลของกระบวนการประสานรายการยา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : Effect of Medication Reconciliation in Medicine Ward at Sawanpracharak Hospitalhttps://thaidj.org/index.php/smj/article/view/6071

ผลของการใช้กระบวนการประสานรายการยา เพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา

ในผู้ป่วยได้รับยาหลายขนาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญhttp://www.amno.moph.go.th/amno_new/files/1c1.pdf

การประสานรายการยาMEDICATION RECONCILIATION อีกหนึ่งมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในระบบยาfile:///C:/Users/admin/Downloads/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2_MR_CPE%20(6).pdf

ดาวน์โหลด