บทความวิจัย



การป้องกันอาการทางจิตกำเริบ ในผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีประวัติก่อความรุนแรงในชุมชน ด้วยการจัดการรายกรณี อ.เมืองยาง จ.นครราชสีมา  Preventing relapse of mental illness In psychiatric and drug patients with a history causing violence in the community With case management, Mueang Yang District, Nakhon Ratchasima Province

นายสันติภาพ เยี่ยมไธสง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี จังหวัดนครราชสีมา
    ประชุมวิชาการการพัฒนาคุณภาพ ประจำปี 2566 HACC FORUM ครั้งที่ 16. เมืองยาง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


องค์การอนามัยโลกพบว่ามีประชากรทั่วโลกเสพยาเสพติดประมาณ 270 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 5.5 ของประชากรโลก และมีอัตราเสพยาเสพติดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 นอกจากนี้ยังมีประชากรของโลกถึง 35.6 ล้านคนที่มีความผิดปกติทางจิตจากการเสพยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบและสร้างความเดือดร้อนแก่ ครอบครัว ชุมชนและสังคมเป็นอันมาก ในปีงบประมาณ 2566 กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิต มีนโยบายพัฒนาระบบงานสุขภาพจิตที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม ประกอบกับจังหวัดนครราชสีมา โดยการขับเคลื่อนของผู้ว่าราชการจังหวัด ได้จัดทำโครงการ KORAT Care U เพื่อให้การดูแล ป้องกันผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยยาเสพติด ไม่ให้ก่อความรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่นในชุมชน อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2563 – 2565 มีผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีประวัติก่อความรุนแรงในชุมชน จำนวน 12, 15 และ 17 รายตามลำดับ และพบว่ามีการก่อความรุนแรงในชุมชน 3, 4 และ 7 ครั้ง ตามลำดับ จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา พบว่าผู้ป่วยที่ก่อความรุนแรงในชุมชน จะมีอาการทางจิตกำเริบ ซึ่งเกิดจากปัญหาเรื่องยา, ญาติหรือผู้ดูแล และการใช้สารเสพติด ดังนั้นทีมดูแลผู้ป่วย (PCT) จึงได้ทบทวนหาวิธีการ/กระบวนการดูแล เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน โดยใช้การจัดการายกรณี ซึ่งเป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพ ที่เกิดจากความร่วมมือกันของทีมสหวิชาชีพในกระบวนการดูแลรักษา ติดตามและประเมินผล และเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแล ช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ เพื่อทำให้ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีประวัติก่อความรุนแรงในชุมชน มีอาการทางจิตสงบ (BPRS ≤ 36) ร้อยละ 85 วิธีการดำเนินงาน:ใช้กระบวนการ PDCA ดังนี้การวางแผน (Plan)ทบทวนเหตุการณ์ อุบัติการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากการให้บริการ/ วิเคราะห์รากสาเหตุของปัญหา/ กำหนดประเด็นที่จะพัฒนาเพื่อการแก้ไขปัญหา/ ทบทวนวรรณกรรม ศึกษามูลเพิ่มเติม และสังเคราะห์แนวทาง กระบวนการในการจัดการหรือแก้ไขปัญหา ลงมือทำ (Do) คัดเลือกผู้ป่วยโรคจิตเวชและยาเสพ ที่มีประวัติก่อความรุนแรงในชุมชนและจำแนกโดยแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสีเขียว คือ ติดตามสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด, กลุ่มสีเหลือง คือ มีแผนการดูแลรักษา ตามตามสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและกลุ่มสีแดง คือ ต้องส่งต่อ จัดการอย่างเร่งด่วน/ มีการประชุม ปรึกษา สะท้อนปัญหากับสหวิชาชีพในคณะกรรมการดูแลผู้ป่วย และดำเนินการโดยใช้การจัดการายกรณี ในการประเมิน วางแผน ดูแลรักษา ติดตามและประเมินผลตลอดระยะเวลาที่ให้การดูแลรักษา โดยใช้แผนการดูแลผู้ป่วยเป็นเครื่องมือในการกำกับการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลในผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง การตรวจสอบ (Check)หลังจากดำเนินงานผ่านไป 2 เดือน พบว่า ผู้ป่วยบางรายมีข้อจำกัดในการดูแลตนเอง ต้องอาศัยการช่วยเหลือจากบุคคลอื่น รวมทั้งยังไม่มีระบบการช่วยเหลืออย่างชัดเจน ในกรณีที่เกิดเหตุจิตเวชฉุกเฉินในชุมชนการแก้ไขปรับปรุง (Act):มีการพัฒนาแผนการดูแลผู้ป่วยวนส่วนของครอบครัว และหน่วยงานนอกระบบสาธารณสุข เช่น ผู้นำชุมชน, อสม., ตำรวจ, ฝ่ายความมั่นคง และ อปท. รวมทั้ง พัฒนาระบบจิตเวชฉุกเฉิน และนำเสนอต่อคณะกรรมการ พชอ. โดยผ่านการขับเคลื่อนของนายอำเภอ เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินงานตามบทบาทของแต่ละหน่วยงาน ผลการดำเนินงาน

พบว่า เดือน พฤศจิกายน 2565 – กรกฎาคม 2566 ผู้ป่วยมีอาการทางจิตสงบ 7 ใน 9 เดือน อีก 2 เดือน คือ เดือนมกราคมและเมษายน มีอาการทางจิตกำเริบ เนื่องจากเป็นเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ ซึ่งผู้ป่วยยับยั้งใจตนเองไม่ได้จึงกลับไปดื่มสุราและความไม่เข้าใจเรื่องการดื่มสุราของครอบครัว จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางจิตกำเริบขึ้นมา โอกาสพัฒนา: เสริมสร้างทักษะที่สำคัญในการเลิกสุรากับผู้ป่วย เช่น การปฏิเสธ การหยุดความคิด และสร้างความเข้าใจกับครอบครัวในเรื่องสุรา ยาเสพติดที่ส่งผลต่ออาการของผู้ป่วย ข้อเสนอแนะในการนำผลการดำเนินงานไปใชสามารถนำกระบวนการจัดการรายกรณี ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคที่ยุ่งยากซับซ้อนอื่นๆได้ และสามารถปรับให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ศึกษาผลลัพธ์จากการดำเนินงานด้านอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อราย, ความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล เป็นต้น


คำสำคัญ : การจัดการรายกรณี, การป้องกันอาการทางจิตกำเริบ, ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด, ความรุนแรงในชุมชน

อ้างอิง


1. World Health Organization. substance rate [Internet]. Geneva: WHO; 2022

[cited 2023 August 15]. Available from:

https://www.who.int/health-topics/drugs-psychoactive#tab=tab_2

2. United Nations Office on Drugs and Crime. World Drug Report 2020 [Internet].

New Yoke: UN; 2020 [cited 2023 August 15]. Available from:

https://wdr.unodc.org/wdr2020/field/UNODC_World_Drug_Report_2020_press_r

elease.pdf

3. World Health Organization. Schizophrenia [Internet]. Geneva: WHO; 2022.

[cited 2023 August 15]. Available from

https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/schizophrenia

4. กชพร เอกผ่อง, นุชนาถ บรรทุมพร และชื่นชม บุญประเสริฐ. ผลของโปรแกรมการ

เสริมสร้างพลังอ านาจต่อการควบคุมตนเองของผู้เสพติดแอมเฟตามีน. ว.พยาบาลทหารบก

2561;19 (พิเศษ):118-128.

5. ภารณี นิลกรณ์ และประพันธ์ ขันติธีระกุล. รูปแบบการเฝ้าระวังการใช้สารเสพติดของ

เยาวชนในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดนครปฐม. ว.มหาวิทยาลัยนราธิวาสรานครินทร์

2564;13:40-55

6. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. รายงานผล

การด าเนินการด าเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ประจ าปีงบประมาณ 2564

[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: ส านักงาน; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2566]. เข้าถึง

ได้จาก: https://www.oncb.go.th/EBookLibrary/annual%20report%202564.pdf

7. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ส าหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจ ากัดแสงจันทร์

การพิมพ์;2559.

8. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ข้อมูลตอบสนอง Service plan สาขาสุขภาพจิต

และจิตเวช ในระบบฐานข้อมูล HDC [อินเทอร์เน็ต]. นครราชสีมา: ส านักงานสาธารณสุข

จังหวัดนครราชสีมา;2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2566].

9. ศรินรัตน์ จันทพิมพ์ และขนิษฐา นันทบุตร. การดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชน. Journal of

Nursing and Health Care 2561;36:68-76.

10. Nawi, A. M., Ismail, R., Ibrahim, F., Hassan, M. R., Manaf, M. R. R. A., Amit, N., &

Shafurdin, N. S.. Risk and protective factors of drug abuse among adolescents:

a systematic review. R. BMC public health 2021; 21:

doi: 10.1186/s12889-021-11906-2 6

11. ส ำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบ าบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบข้อมูลการบ าบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ

[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ส านักงาน;2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:

https://antidrugnew.moph.go.th/Identity/STS/Forms.

12. โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี. รายงานผลการด าเนินงานสุขภาพจิต

กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี ประจ าปี

งบประมาณ 2563. นครราชสีมา: โรงพยาบาล; 2564.

13. โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี. ทะเบียนผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูง

ก่อความรุนแรง กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี

ประจ าปีงบประมาณ 2566. นครราชสีมา: โรงพยาบาล; 2566.

14. จินตนา ยูนิพันธุ์ และคณะ. การจัดการผู้ป่วยรายกรณี: จากแนวคิดสูงการปฏิบัติ.

เอกสารประกอบการอบรมทางวิชาการเรื่องการจัดการรายกรณี จัดโดยคณะพยาบาลศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย; 2556

ดาวน์โหลด