บทความวิจัย



การพัฒนาคลินิกวัณโรค ด้วยแนวคิด LEAN  Developing a tuberculosis clinic with the LEAN concept

นางสาวลดารัตน์ เอี่ยมไธสง นักวิชาการสาธารณสุข กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี
    ประชุมวิชาการการพัฒนาคุณภาพ ประจำปี 2566 HACC FORUM ครั้งที่ 16. เมืองยาง. นครราชสีมา. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เป็นสาเหตุของการป่วยและเสียชีวิตในหลายประเทศทั่วโลก ประเทศไทยมีอัตราป่วยวัณโรครายใหม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก 1.3 เท่า สถิติผู้ป่วยวัณโรคในอำเภอเมืองยาง ปี 2563-2565 มีจำนวน 39,17 และ 16 ราย ตามลำดับ อัตราการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่สำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 79,82 และ 75 ตามลำดับ ซึ่งยังไม่บรรลุตัวชี้วัดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา คือ ร้อยละ 88 จึงมีการวิเคราะห์ผลงานและสอบถามผู้ป่วยในคลินิกวัณโรค มีข้อเสนอแนะว่า รอนาน ได้ตรวจช้าและมีหลายขั้นตอนในการรับบริการ งานคลินิกวัณโรคจึงทำการตามรอยขั้นตอนการให้บริการของคลินิกวัณโรค โดยการนำ แนวคิด Lean มาใช้ในการพัฒนาและลดขั้นตอนการให้บริการ เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการบริการรวดเร็วขึ้น ลดการแพร่เชื้อ และพึงพอใจ วัตถุประสงค์ เพื่อลดขั้นตอนการรับบริการของผู้ป่วยในคลินิกวัณโรคน้อยกว่า 160 นาที วิธีการดำเนินงาน ใช้เครื่องมือ Lean Process คือ วิเคราะห์ความสูญเปล่าด้วย DOWNTIME และแผนที่สายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping) จากการวิเคราะห์ความสูญเปล่าด้วย DOWNTIME พบว่า DOWNTIME คือ Waiting ขั้นตอนที่รอคอยมากที่สุด คือการรอตรวจเสมหะ แผนที่สายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping) พบว่าระยะเวลาเฉลี่ยในการให้บริการทั้งสิ้น 160 นาที ขั้นตอนที่รอคอยมากที่สุด คือการรอตรวจเสมหะมีระยะเวลาเฉลี่ย 60 นาที เพื่อเป็นการลดระยะเวลารอคอยของผู้รับบริการ ให้เจ้าหน้าที่ออกไปเก็บเสมหะมาตรวจก่อนวันนัดโดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องนำเสมหะมาตรวจในวันที่มารับบริการ ให้ยื่นบัตรตรวจที่คลินิกวัณโรค พบแพทย์ ฟังผลเสมหะ รับยา กลับบ้าน ผลการดำเนินงาน ก่อนการพัฒนาระยะเวลาเฉลี่ยในการให้บริการ 70 นาที ระยะเวลาเฉลี่ยในการรอคอย 90 นาที รวมระยะเวลาเฉลี่ยทั้งสิ้น 160 นาที โดยขั้นตอนที่รอคอยมากที่สุด คือการรอตรวจเสมหะใช้เวลา 60 นาที หลังการพัฒนาด้วยแนวคิด Lean ระยะเวลาเฉลี่ยในการให้บริการ 70 นาที ระยะเวลาเฉลี่ยในการรอคอยเหลือ 30 นาที รวมระยะเวลาเฉลี่ยทั้งสิ้น 100 นาที จากการนำแนวคิด Lean มาลดขั้นตอนการรับบริการสู่การเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันผู้ป่วยใช้เวลาในการรับบริการเพียง 1 ชั่วโมง 40 นาที ร้อยละความพึงพอใจของผู้ป่วยวัณโรค คือ ร้อยละ 95 อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ คือ ร้อยละ 90ข้อเสนอแนะในการนำผลการดำเนินงานไปใช้ การพัฒนางานคลินิกวัณโรค ด้วยแนวคิด LEAN เป็นการค้นหาความสูญเปล่าและเปลี่ยนให้เป็นคุณค่าที่ผู้รับบริการต้องการ ผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างแนวคิด กิจกรรม และวิธีการใหม่ที่ผ่านการสื่อสาร ทบทวน และการยอมรับการเปลี่ยนแปลง ทำให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ นำไปสู่การยกระดับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ และทำให้ความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้น


คำสำคัญ : Lean การตรวจเสมหะ คลินิกวัณโรค

อ้างอิง


กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีม

เฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ2563.พิมพ์ครั้งที่1 กรุงเทพฯ; หจก.แคนนา กราฟฟิค ;

2563

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ :

อักษรกราฟฟิคแอนด์ ดีไซน์; 2564.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. NTIP (National Tuberculosis Information Program)

V.210301. กรุงเทพฯ : กอง วัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2564. [อินเตอร์เน็ต].

เข้าถึงได้จาก: https://ntipddc.moph.go.th/uiform/MainFeed.aspx2.เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม

พ.ศ. 2566

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

วัณโรคและวัณโรค ดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) ส าหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร:

ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์ แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2561.

ดาวน์โหลด