บทความวิจัย



การบริหารจัดการเชิงระบบสู่การพัฒนาบริการสุขภาพจิต แบบ “ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ในชุมชน” อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา  The Systematic Management towards Development of Mental Health Services : “Near Home, Near Heart, In the Community”, Nonsung District, Nakhon Ratchasima Province

อนุพงศ์ ชาวคอนไชย และ กัลยามาศ แจ่มกลาง
    วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 และ ตีพิมพ์ Online. โนนสูง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการระบบการพัฒนา

บริการสุขภาพจิต ใน อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ในรูปแบบ “ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ในชุมชน” ดำเนินการระหว่าง

1 ต.ค. 2560-30 ก.ย. 2564 โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ก่อนการดำเนินการ 1) ศึกษาบริบท

พื้นที่และวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช 2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง, ระยะที่ 2 ดำเนินการ 1) วางแผน

2) ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ และระยะที่ 3 ระยะติดตามและประเมินผล มีการบริหารจัดการเชิงระบบ

โดยนำข้อมูลปัญหาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชมาเป็นข้อมูลนำเข้า และวางแผนพัฒนาศักยภาพด้านการดูแลผู้ป่วย

สุขภาพจิตและจิตเวชให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) พัฒนารูปแบบบริการแบบเครือข่าย

บริการสุขภาพจิต (NODE) ของ รพ.สต. พัฒนาศักยภาพบุคลากรในและนอกเครือข่ายสุขภาพ สนับสนุนเงิน

งบประมาณตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ (P4P) ให้รพ.สต. จัดระบบยาจิตเวชใน รพ.สต. จัดระบบ

ห้องปฏิบัติการใน รพ.สต. สนับสนุนเครื่องมือทางจิตวิทยา มีนโยบายปรับคลินิกจิตเวชเป็นคลินิกให้การดูแล

ทางสังคมจิตใจ (Psychosocial clinic) ใช้กรอบแนวคิดการดำเนินงานสุขภาพจิตและจิตเวชแบบ F-C-T

และกำหนดเป้าหมายในการติดตามกำหนดเป็นตัวชี้วัด 1) รพ.สต. จัดบริการ Psychosocial clinic, 2) เพิ่ม

การเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและจิตเวช, 3) เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเวชอาการสงบให้ดำเนินชีวิตในสังคมได้,

4) ลดอัตราการขาดนัด/ขาดยา และ 5) ความพึงพอใจของผู้รับบริการเพิ่มขึ้น ผลการวิจัยพบว่า รพ.สต.

จัดบริการ Psychosocial clinic ครบ 18/18 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 ระหว่างปีงบประมาณ 2560-2564

การเข้าถึงบริการโรคจิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.00, 82.90, 89.30, 90.50 และ 92.35 การเข้าถึงบริการโรค

ซึมเศร้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.19, 66.05, 67.08, 72.36 และ 89.28 การเข้าถึงบริการโรคสมาธิสั้นเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 10.75, 11.03, 15.42, 24.31 และ 28.67 คุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเวชอยู่ในระดับดี อาการสงบ

สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ ร้อยละ 98.15, 98.30, 97.78, 99.28 และ 99.82 อัตราการขาดนัด/ขาดยา

ลดลงร้อยละ 0.48, 0.72, 0.39, 0.24 และ 0.18 และอัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการจัดระบบ

บริการ เท่ากับร้อยละ 88.32, 89.20, 90.00, 91.22 และ 92.30 ตามลำดับ

คำสำคัญ : การบริหารจัดการเชิงระบบ; บริการสุขภาพจิต; ชุมชน

อ้างอิง


1. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2560 (Annual

Report 2017). กรุงเทพฯ: บริษัท ละม่อม จำกัด; 2560.

2. สุนทรีภรณ์ ทองไสย. การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในบริบทสังคมไทยอย่างยั่งยืน. วารสารกองการพยาบาล.

2558;(3):159-65.

3. Juntapim S, Nuntaboot K. Care of patients with schizophrenia in the community. Arch

Psychiatr Nurs. 2018;32(6):855-860. doi:10.1016/j.apnu.2018.06.011

4. เปรมฤดีดารักษ์, ปรียา ทองประไพ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้านให้ได้รับประทานยา

ตามเกณฑ์การรักษาในชุมชนแห่งหนึ่งจังหวัดยะลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการ

สาธารณสุขภาคใต้. 2562;(พิเศษ):29-42.

5. บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาสุขภาพจิตและจิตเวชในเขตสุขภาพ.

วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2557;22(3):142-156.

6. กมลวรรณ สีเชียงสา, จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์, สายทิพย์ สุทธิรักษา. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย

จิตเภทในชุมชนโดยทีมสหวิชาชีพของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร

เภสัชกรรมไทย 2562;2:457-67.

7. ฐิตวันต์หงส์กิตติยานนท์, ลักขณา ยอดกลกิจ, มาลินี ชมชื่น. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน

จังหวัดนนทบุรี [อินเตอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อ 2562 ต.ค. 7]. เข้าถึงได้จาก:

http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/5-01/article/view/159/244

8. นิจพร สว่างไธสง. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน อำเภอสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม.

วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2559;(1):60-71.

9. น้ำผึ้ง โนรีรัตน์, นิรุวรรณ เทิร์นโบล์, อดิศร วงศ์คงเดช. การพัฒนาระบบการจัดการผู้ป่วยจิตเภท

เครือข่ายโรงพยาบาลทุ่งศรีอุดม อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศรีสัชนาลัยวิจัย

2564;(1):119-33.

10. ศรินรัตน์ จันทพิมพ์, ขนิษฐา นันทบุตร. การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการ

ดูแลสุขภาพ. 2561;(2):68-76.

ดาวน์โหลด