บทความวิจัย



การพยาบาลผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย  Nursing Anesthesia for obese patient

สิดากร เพชรวรา
    วารสารสุขภาพและสื่งแวดล้อมศึกษา. ปากช่อง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


ผู้ป่วยโรคอ้วนเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีไขมันสะสมในร่างกายมากกว่าปกติ มีผลเสียต่อสุขภาพคุณภาพชีวิตในหลายด้าน เพิ่มความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นและเมื่อต้องได้รับการผ่าตัด การให้ยาระงับความรู้สึกเป็นการเพิ่มโอกาสที่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ภาวการณ์ใส่ท่อช่วยหายใจยาก ภาวะขาดออกซิเจน ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้นอาจทาให้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาเพิ่มขึ้น หรือต้องนอนโรงพยาบาลนานมากขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ การศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลในระยะต่างๆของการให้ยาระงับความรู้สึก ระหว่างผู้ป่วยโรคอ้วน 2 รายที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 35.0-39.9 จัดเป็นโรคอ้วนระดับ 2 และมีโรคประจาตัวทั้ง 2 ราย

ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 1 เป็นผู้ป่วยชายมาด้วยโรคนิ่วในถุงน้าดี ต้องได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้าดีโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง และมีโรคประจาตัวคือหอบหืด มีค่าดัชนีมวลกาย 38.38 กิโลกรัม/เมตร2 ประเมินความยากในการใส่ท่อช่วยหายใจระดับ 2 จัดเตรียมอุปกรณ์ในการจัดท่านอนหัวสูงไม่จาเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษสามารถใส่ท่อช่วยหายใจได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน และหลังผ่าตัดพบว่ามีปัญหาปวดแผล และผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 2 เป็นผู้ป่วยชายนิ้วหัวแม่มือด้านขวาหักแบบปิดต้องได้รับการผ่าตัดเย็บแผลและยิงเหล็กยึดกระดูก ตรวจพบความดันโลหิตสูงยังไม่ได้รับการรักษา และมีค่าดัชนีมวลกาย 39.51 กิโลกรัม/เมตร2 จากการตรวจประเมินร่างกายพบว่ามีภาวะการใส่ท่อช่วยหายยากต้องทาการเตรียมอุปกรณ์พิเศษในการใส่ท่อช่วยหายใจ อีกทั้งค่าออกซิเจนในเลือด 94 % ซึ่งถือได้ว่าผู้ป่วยรายนี้มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนได้มากกว่าผู้ป่วยรายที่ 1 จึงต้องอาศัยประสบการณ์ของบุคลากรที่มีความชานาญในการใส่ท่อช่วยหายใจและอุปกรณ์พิเศษ Video Laryngoscope with Stylet พร้อมทั้งจัดท่า Ramp Position เพื่อลดโอกาสการขาดออกซิเจนให้แก่ผู้ป่วย ระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกพบภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะ ทาให้ผู้ป่วยรายนี้มีความจาเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต เมื่อหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้นผู้ป่วยตื่นตัวไม่เต็มที่ หายใจเองได้ต้องมีการใส่ออกซิเจนต่ออีกประมาณ 2 ชั่วโมง เนื่องจากมีค่าออกซิเจนในเลือด 97% จึงทาให้ผู้ป่วยรายนี้ต้องทาการสังเกตอาการผิดปกติในห้องพักฟื้นนานกว่าผู้ป่วยรายที่ 1


คำสำคัญ : ผู้ป่วยโรคอ้วน /ค่าดัชนีมวลกาย/Ramp Position

Obese patients are patients who have more body fat than usual. have a negative effect on health, quality of life In many ways, it increases the risk of various diseases and when surgery is needed. Anesthesia increases of complications more then such as Difficulty intubation hypoxia high blood pressure etc. may cause patients to require more treatment or longer hospital stays due to various complications This comparative study of two case studies aims to To compare nursing care at different stages of anesthesia. Between 2 obese patients with a BMI between 35.0-39.9, classified as obesity degree 2 and having underlying disease, both cases

The first case study was a male patient with gallbladder disease. Must have surgery for gallstones in the gallbladder by laparoscopic surgery and have a congenital disease, asthma had a body mass index of 38.38 kg/m2 Assess the difficulty of intubation level 2. Provide equipment to hold the head upright. No special equipment is required. Intubation can be carried out without complications. And after the surgery, there was a problem wound pain The second case study was a male patient with a closed fracture of the right thumb requiring surgical suture and bone fixation. High blood pressure is detected and has not been treated. and had a body mass index of 39.51 kg/m2. From the physical examination, it was found that intubation was difficult. Special equipment for intubation was required. In addition, the oxygen value in the blood was 94%, which could be considered that this patient had a greater risk of hypoxia more than Therefore, it requires the experience of personnel who are skilled in intubation and special equipment, Video Laryngoscope with Stylet, and Ramp Position to reduce the chance of lack of oxygen for the patient. Intermittent hypertension was observed during anesthesia administration. This makes it necessary for this patient to give blood pressure-lowering drugs. When after surgery in the recovery room, the patient is not fully awake and able to breath on his own and had to be put on oxygen for another 2 hours because the oxygen value in the blood was 97%, so this patient had to observe abnormal symptoms in the recovery room for a long time

keywords : obese patients /BMI/Ramp Position

อ้างอิง


1. ทักษพล ธรรมรังสี.(2562).วิกฤตปัญหาโรคอ้วน ภัยเศรษฐกิจ พิษสังคม : สถานการณ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้าหนักเกินและโรคอ้วนในประชากรไทย.วารสารวิชาการสาธารณสุข.20(1).

2. แผนกวิสัญญีโรงพยาบาลชลบุรี.(2562).รายงานการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารผ่านกล้องทางหน้าท้องโดยใช้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย.

3.พรทิพย์ ศุภมณี,วิไลพรรณ สมบุญตนนท์,อุมาพร ลัฐฐิกาวิบูลย์,และกิติรัตน์ เตชะไตรศักดิ์.(2563).ประสิทธิผลของการเยี่ยมเพื่อให้ความรู้ก่อนผ่าตัดต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวชกรรม โรงพยาบาลศิริราช.วารสารพยาบาลศาสตร์,28(1),47-57.

4.จริยา เลิศอรรฆยมณี.(2562).การระงับความรู้สึกสาหรับผู้ป่วยอ้วน.ในอังกาป ปราการรัตน์,วิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์,ศิริลักษณ์ สุขสมปอง,ปฏิภาณ ตุ่มทอง.(บรรณาธิการ) ตาราวิสัญญีวิทยา พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ.665-675.

5.Alberti KG,Zimmet P,Shaw J.(2019). The Metabolic Syndrome-a New Worldwide Definition.Lancet ;336.

6. World Health Organization Media Care. Obesity and Overweight Fact Sheet.2018 April17.Available from: http//www.who.int/mediacentre/fr311/en

7.Whitlock G,Learngton S,Sherliker P,Clarke R,Emberson J, Halsey J,et al.(2019).Body-mass index and Cause-specific mortality

ดาวน์โหลด