บทความวิจัย



การตรวจการได้ยินในทารกแรกเกิด  Hearing examination in newborns: Otoacoustic Emission (OAE)

นางกรสุภา ธนกุลาศรี และนางสาวจุฑามาศ เครือผือ
    -. ด่านขุนทด. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


ประเทศไทยมีเด็กทารกที่ตรวจพบมีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 1.7-4 ต่อ 1,000 ราย ของทารกทั้งหมด เด็กที่สูญเสียการได้ยินและไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม จะมีผลเสียต่อพัฒนาการด้านภาษา การเข้าสังคม การเรียนรู้ ภาวะจิตใจ และสูญเสียโอกาสทางสังคมเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กที่ตรวจพบการสูญเสียการได้ยินและได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ก่อนอายุ 6 เดือน พบว่ามีพัฒนาการทางภาษาดีกว่าเด็กที่ตรวจพบช้ากว่าอายุ 6 เดือน ดังนั้นเพื่อการป้องการเกิดความพิการทางการได้ยิน และความบกพร่องของการสื่อความหมายของเด็กทารกแรกเกิดใน อ.ด่านขุนทด จึงได้มีวัตถุประสงค์ ให้ทารกแรกเกิดในรพ.ด่านขุนทด ได้รับการตรวจการได้ยินครบ 100 % และได้รับการดูแลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดความพิการทางการได้ยินของประชากรใน อ.ด่านขุนทด และเป็นส่วนหนึ่งในการลดการสูญเสียทรัพยากรของประเทศ และค่าใช้จ่ายภาครัฐที่สูญเสียไปในการดูแลผู้พิการทางการได้ยินและการสื่อความหมาย

การดำเนินงานปี 2558 ได้เริ่มมีการตรวจการได้ยินในทารกแรกเกิดอายุ > 24ชม. ที่แผนกหลังคลอดทุกราย ปี 2559 -2562 มีการปรับปรุงระบบให้ครอบคลุม เพิ่มตรวจการได้ยินในทารกแรกเกิดที่คลอด รพ.อื่นๆ พร้อมทั้งพัฒนาส่งบุคลากรไปอบรมการตรวจการได้ยินให้สามารถตรวจการได้ยินได้ทุกคน มีการปรับแนวทางเพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยสื่อสารผ่านระบบ Line MCH เพื่อประชาสัมพันธ์รพ.สต. รับทราบ เพื่อส่งเด็กกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ที่คลอดจาก รพ.อื่น มาตรวจการได้ยิน ปี 2563 ระบบตรวจคัดกรองการได้ยินของเด็กทารกแรกเกิดมีความต่อเนื่อง ติดตามผลระบบบริการ และสะท้อนกลับแก่เครือข่าย

ผลการศึกษา พบว่า การตรวจ Otoacoustic Emission (OAE) ในทารกแรกเกิด ตั้งแต่ปี 2559 – 2563 ได้ตรวจคิดเป็นร้อยละ100 (คนที่คลอดที่โรงพยาบาลด่านขุนทด 2,977 ราย และคลอดที่อื่น แต่เข้ามารับการตรวจ 1,279 ราย) และพบความผิดปกติไม่ตอบสนองการได้ยิน > 3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 0.66 ได้รับการส่งต่อและรับการดูแลต่อเนื่อง โดยพบว่าไม่มีการเกิดความพิการทางการได้ยิน

สรุปและข้อเสนอแนะ พัฒนาเพิ่มเติมการให้บริการครอบคลุมทารกแรกเกิดในเขต อ.ด่านขุนทด 100% และขยายบริการคัดกรองสู่ รพ.เครือข่าย ข้างเคียง

คำสำคัญ : การตรวจการได้ยินในทารกแรกเกิด

อ้างอิง


1.สุนันทา พลปัถพี และนิตยา เกษมโกสินทร์. (2542). ความบกพร่องทางการได้ยินในเด็ก: การฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรีนพริ้ท.

2. วันชัย ตั้งอารมณ์มั่น. การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิด และทารกกลุ่มเสี่ยงโดยใช้เครื่องวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน. พุทธชินราชเวชสาร 2551;25(6):18-24.

3. อภิชัย ทิมเรืองเวช. การตรวจคัดกรองการได้ยินของทารกแรกเกิดที่มีปัจจัยเสี่ยงโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. ขอนแก่นเวชสาร 2548;29(1):98-108.

ดาวน์โหลด