บทความวิจัย



ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลด่านขุนทด  Factor Associated With Hemoglobin A1C (HbA1C) Among People With Type 2 Diabetes Mellitus at Dankhuntod Hospital, Nakhon Ratchasima

นางสาวณปภัช รัตนวิชัย
    -. ด่านขุนทด. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


จากสถานการณ์โรคเบาหวานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติของโรงพยาบาลด่านขุนทด พบว่า ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดได้ดี (HbA1C < 7%) ตั้งแต่ปี 2559 - 2561 มีค่าร้อยละ 22.92, 24.91 และ 20.50 ตามลำดับ (กระทรวงสาธารณสุข, 2563) ซึ่งการควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมายนั้นมันยาก เนื่องจากมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมาย ซึ่งแต่ละปัจจัยต่างก็มีความสำคัญที่จะทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ตามเป้าหมาย จากปัญหาดังกล่าวทำให้สนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลด่านขุนทด เพื่อนำผลที่ได้มาเป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนาระบบบริการและปรับรูปแบบการดูแลให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป เราได้ทำการศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional descriptive study) โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีผลระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1C) และได้รับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลด่านขุนทดไม่น้อยกว่า 1 ปี วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ระยะเวลาในการเป็นโรคเบาหวาน ดัชนีมวลกาย ค่า Triglyceride และค่า HDL (High-density lipoprotein) กับระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยสถิติ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson correlation coefficient) กำหนดค่า p-value ที่น้อยกว่า 0.05 โดยแปรความหมายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ดังนี้ (Burn & Grove, 2003)



ผลการศึกษา พบว่า การศึกษาปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ระยะเวลาในการเป็นโรคเบาหวาน ดัชนีมวลกาย และ ค่า Triglyceride มีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, อายุ และ ค่า HDL (High-density lipoprotein) มีความสัมพันธ์ทางลบกับระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : ค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด การควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดไม่ได้ HbA1C

อ้างอิง


Burn, N., & Grove, S. (2003). Understanding nursing research. Saunders: an Elsevier Imprint.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD). [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก URL: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/ page.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b

กัณฑิมา อยู่รวม. (2557). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของข้าราชการตำรวจที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 256-268.

ณาเดีย หะยีปะจิ และพิสิษฐ์ พวยฟุ้ง. (2562). ปัจจัยที่มีความสันพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลที่ กองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 20(3), 83-94

ดวงใจ พันธ์อารีวัฒนา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 37(4), 294-305.

ฤทธิรงค์ บูรพันธ์ และนิรมล เมืองโสม. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 102-109.

ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(3), 515-522.

ปกาศิต โอวาทกานนท์. (2554). ผลการดูแลรักษาเบาหวานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลทรายมูล. ศรีนครินทร์เวชรสาร, 26(4), 339-349.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมลล์, สมเกียรติยศ วรเดช, สุทธิพงษ์ รักเล่ง, สุกันยา นัครามนตรี และพีระวัฒน์ มุททารัตน์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าระดับน้ำตาลในเลือดสะสมของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(3), 401-410.

รุ่งโรจน์ เจศรีชัย และธนัช กนกเทศ. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ กรณีศึกษาจังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทริน์เอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(2), 145-158.

วรรณิกา ฟูเฟื่อง และอมรรัตน์ อนุวัฒน์นนทเขตต์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย. เชียงรายเวชสาร, 11(2), 1-10.

สมชาย พรหมจักร. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 11(2), 10-18.

อรพินท์ สีขาว, รัชนี นามจันทรา และสุทิศรี ตระกูลสิทธิโชค. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหัวเฉียว. วารสารพยาบาลทหารบก, (14)3, 39-49.

อมรรัตน์ รักฉิม, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต และวรนุช แสงเจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10. นครศรีธรรมราช.

อธินันท์ ชัญญาวงศ์ศักดิ์, สุภมัย สุนทรพันธ์ และสุมาลี วังธนากร. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นกะและปัจจัยอื่นๆกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. เวชสารแพทย์ทหารบก, 72(3), 165-175.

อนุชา คงสมกัน. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลรามาธิบดี. สาธารณสุขบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ภาคพิเศษ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล.

ดาวน์โหลด