บทความวิจัย



นวัตกรรม แผงยา One Day Dose ช่วย coach การกินยา  Taking medicine One Day Dose coach of medicine panel.

นางธิดารัตน์ นิ่มกระโทก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาย
    วารสารงานวิชาการ สสจ.นครราชสีมา . เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


นวัตกรรม แผงยา One Day Dose ช่วย coach การกินยา ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บริหารการรับประทานยาที่บ้านให้ถูกต้องตามแผนการรักษาของแพทย์ ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หมู่ 5 บ้านบึงพญาปราบ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาย มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวนทั้งหมด 77 คน พบผลการดูแล อยู่ในระยะควบคุมโรคได้ระดับดี (Good control) ร้อยละ 27.27(21คน) ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานของระดับประเทศ ควรมีผลการดูแลอยู่ในระยะควบคุมโรคได้ระดับดี (Good control) มากกว่า ร้อยละ 50.00 เมื่อค้นหาสาเหตุของการควบคุมโรคไม่ได้ มาจากการรับประทานยาไม่ถูกต้องตามแผนการรักษา พบร้อยละ 72.73 (56คน) ส่งผลให้การควบคุมโรคเบาหวานไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานและเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรค การประดิษฐ์นวัตกรรมในครั้งนี้ ได้ใช้ Future board ตัดตามยาว ขนาด 4 X 20 เซนติเมตร สำหรับจัดยาใน 1 วัน ใช้ซองซิปสีน้ำตาลตัดเป็นรูปโค้งด้านหน้าสำหรับสอดซองซิบใสขนาดเล็กที่มียา จัดตามแผนการรักษา พิมพ์ วัน เวลา การรับประทานยาแต่ละครั้ง ติดไว้ที่เหนือซองซิปสีน้ำตาล เรียงตามเวลา ของการรับประทานยา ในหนึ่งวัน และจัดทำแผ่นพับคำแนะนำในการใช้นวัตกรรม รวมราคานวัตกรรม 1 ชุด ใช้จัดยาได้ครั้งละ 7 วัน เป็นเงิน 50 บาท แล้วนำไปใช้ในผู้รับบริการ(ผู้ป่วยโรคเบาหวาน,ญาติ และ อสม.) จำนวน 89 คน โดยเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่รับประทานยาไม่ถูกต้องตามแผนการรักษา จำนวน 56 คน, ญาติ และ อสม. จำนวน 33 คน รวมทั้ง บุคลากร รพ.สต.ขนาย จำนวน 19 คน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง ปัจจุบัน ผลการนำไปใช้พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานรับประทานยาตามแผนการรักษาได้ถูกต้อง ร้อยละ 100 ส่งผลให้การรักษา อยู่ในระยะควบคุมโรคได้ระดับดี(Good control) ร้อยละ 96.43 (54 คน จากทั้งหมด 56 คน) รวมทั้งผู้รับบริการ(ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ญาติ และ อสม.) มีความพึงพอใจ ร้อยละ 97.22 ส่วนบุคลากร รพ.สต.ขนาย จำนวน 19 คน มีความพึงพอใจ ร้อยละ 96.94 ซึ่งนวัตกรรมนี้ นอกจากใช้ประโยชน์ช่วยในการบริหารการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานแล้วยังส่งผลให้การควบคุมโรคอยู่ในระดับดี(Good control) ตามเกณฑ์มาตรฐาน อีกทั้งยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวชุมชน โดยที่ญาติ หรือ อสม. มีจิตอาสาช่วยกันจัดยาให้ผู้ป่วย นอกจากนี้ยังส่งผลถึงการประหยัดงบประมาณในองค์กรของการซื้ออุปกรณ์ในการจัดยาที่มีราคาแพง และยังเป็นแนวทางในการพัฒนา นวัตกรรม แผงยา One Day Dose ช่วย coach การกินยา ให้เหมาะสมกับบริบทผู้ป่วยโรคเบาหวานในแต่ละรายต่อไป




คำสำคัญ : การบริหารการรับประทานยา, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, การควบคุมโรคอยู่ในระดับดี

อ้างอิง


1. กฤษณะ สุวรรณภูมิ. โมเดลการดูแลโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model: CCM).กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2560.

2. โรงพยาบาลรามาธิบดี. โครงการเครือข่ายมิตรภาพบำบัด. Available from: https://med.mahidol.ac.th/healthpromo/th/project/self_Help_Group; 2562.

3. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ NCD Clinic Plus ปี 2563. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อัักษรกราฟฟิคแอนด์ดีีไซน์; 2563.

4. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป หลักการวินิจฉัยโรค / 280 โรคและการดูแล

รักษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ หมอชาวบ้าน; 2558.

ดาวน์โหลด