บทความวิจัย



นวัตกรรม ผ้าและพลาสติก ป้องกัน โควิด – 19  Prevention of COVID-19 with cloth and plastic.

นางธิดารัตน์ นิ่มกระโทก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาย
    วารสารงานวิชาการ สสจ.นครราชสีมา . เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


นวัตกรรม ผ้าและพลาสติก ป้องกัน โควิด – 19 ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบุคลากรด่านหน้า คือ อสม.และผู้นำชุมชน ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งบุคลากร รพ.สต.ขนาย ก่อนจัดทำนวัตกรรม พบว่า บุคลากรด่านหน้า มีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล คือ หน้ากากอนามัย ร้อยละ 100 ส่วนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ป้องกันบริเวณดวงตา มีร้อยละ 0 ซึ่งอวัยวะที่เสี่ยงต่อการติดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ ใบหน้า ดวงตา ปาก จมูก ซึ่งถ้ามีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ที่เป็นหน้ากากผ้าและป้องกันบริเวณดวงตาได้ในชิ้นเดียวกันสำหรับสวมด้านนอกทับหน้ากากอนามัย สามารถป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ได้ทุกสายพันธ์ ส่งผลให้บุคลากรด่านหน้า เกิดความปลอดภัยต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มขึ้น รวมทั้งสะดวกต่อการปฏิบัติงาน การประดิษฐ์นวัตกรรมในครั้งนี้ ได้ใช้ผ้าฝ้าย ตัดขนาด 16 x 12 เซนติเมตร จำนวน 2 ชิ้น เย็บริมทั้ง 4 ด้านให้ผ้า 2ชิ้น ติดกัน พับ ผ้าที่เย็บไว้ ให้เกยทบกัน ประมาณ 0.5 เซนติเมตร จำนวน 3 ทบ ใส่ยางยืด มุม บน-ล่างทั้ง ด้านซ้ายและขวา บริเวณริมผ้าทั้ง 2 ด้าน สำหรับคล้องหู ส่วนบนของผ้า ตัดพลาสติกเป็นรูปโค้งด้านบน ขนาด 15 x 6 เซนติเมตร เย็บริมผ้าใส่รอบพลาสติก พร้อมเย็บติดด้านบนของหน้ากากผ้า รวมทั้งจัดทำแผ่นพับคำแนะนำการใช้นวัตกรรม รวมราคานวัตกรรม 1 ชุด เป็นเงิน 2.50 บาท แล้วนำไปใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ของบุคลากรด่านหน้า จำนวน 248 คน ได้แก่ อสม. ตำบลบ้านเกาะ จำนวน 208 คน ผู้นำชุมชน ตำบลบ้านเกาะ จำนวน 21 คน และบุคลากร รพ.สต.ขนาย จำนวน 19 คน ในการให้บริการเชิงรุกของการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงปัจจุบัน ผลการนำไปใช้ พบว่า อสม. และผู้นำชุมชน ตำบลบ้านเกาะ มีความพึงพอใจ ร้อยละ 98.07 ส่วนบุคลากรรพ.สต.ขนาย มีความพึงพอใจ ร้อยละ 97.13 นวัตกรรมนี้ ส่งผลให้บุคลากรด่านหน้าทุกคนปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีในชุมชน ที่ช่วยกันบริจาควัสดุอุปกรณ์และร่วมประดิษฐ์ให้เพียงพอในการใช้งาน นอกจากนี้ทำให้เกิดการประหยัดงบประมาณในองค์กรรวมทั้งลดรายจ่ายในครัวเรือนของการซื้ออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ที่มีราคาแพง และนำกลับมาใช้ซ้ำได้ หลังทำความสะอาด ช่วยลดปริมาณขยะ อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนา นวัตกรรม ผ้าและพลาสติก ป้องกัน โควิด - 19 ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละบุคคลต่อไป

คำสำคัญ : หน้ากากผ้า, ป้องกันบริเวณดวงตา, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

อ้างอิง


1. วรฉัตร เรสลี. โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ โรคติดเชื้อไวรัสไวรัสโคโรนา 2019. สมุทรปราการ: บริษัทพิมพ์รุ่ง อินเตอร์ พริ้น จำกัด; 2563.

2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. นนทบุรี: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.; 2563.

3. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การป้องกันและควบคุมโรคโรคติดเชื้อไวรัสไวรัสโคโรนา 2019 DMHTTA. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โบรชัวร์ กรุงเทพฯ; 2563

4. กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อ COVID – 19 . นนทบุรี: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.; 2563.

ดาวน์โหลด