บทความวิจัย



การศึกษาความสัมพันธ์ของปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตามนโยบายเคาะประตูบ้านรณรงค์ให้ประชาชนฉีดวัคซีนโควิด-19 อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา  Study of Relationships of Village Health Volunteer Roles According to the Door-Knocking Policy Campaigning People for COVID-19 Vaccination in Non Thai District, Nakhon Ratchasima Province

มนชนก แสงอรุณ
    นำเสนอในเวทีประชุมวิชาการ สสจ.นม. ปี 2566. โนนไทย. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตามนโยบายเคาะประตูบ้านรณรงค์ให้ประชาชนฉีดวัคซีนโควิด-19 อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา จํานวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามด้านความรู้ วิเคราะห์ค่าความเที่ยง โดยใช้ค่า KR-20 มีซึ่งผลการวิเคราะห์แบบสอบถาม ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.60 และ แบบสอบถามด้านการรับรู้ ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม และการปฏิบัติงานตามบทบาท วิเคราะห์ด้วยค่า Chonbach’s Alpha Coefficient ซึ่งผลการวิเคราะห์ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.68,0.82,0.91 และ 0.89 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติ chi-square

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.94 มีอายุเฉลี่ย 50-59 ปี ร้อยละ41.76 สถานภาพสมรส แต่งงาน ร้อยละ 72.65 มีระยะเวลาในการทํางานเป็น อสม. 10-19 ปี ร้อยละ 53.24 มีจํานวนครัวเรือนที่รับผิดชอบ มากกว่า 10 หลังคาเรือน ร้อยละ 68.24 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตามนโยบายเคาะประตูบ้านรณรงค์ให้ประชาชนฉีดวัคซีนโควิด-19 อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา คือ ความรู้เรื่องวัคซีนโควิด-19 (χ2 = 12.34, p < 0.001) การรับรู้บทบาท อสม. (χ2 = 21.64 , p < 0.001) การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม (χ2 = 145.23, p < 0.001) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (χ2 = 29.50, p < 0.001) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนําข้อมูลไปใช้เป็นกรอบในพัฒนาโปรแกรมการปฏิบัติงานตามบทบาท อสม. ในรณรงค์ให้ประชาชนฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อให้มีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำสำคัญ : บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน , นโยบายเคาะประตูบ้านรณรงค์ให้ประชาชนฉีดวัคซีนโควิด-19

อ้างอิง


กรมสนับสนุนสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.(2564).แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1.



กรมสนับสนุนสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข .(2565). ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน. สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.thaiphc.net/phc/phcadmin /administrator/index/index.php?options=adindex



อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2544).สถิติที่ใช้ในการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2 ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.



สุรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย .(2564).ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย .วารสารสาธารณสุขและสุขภาพ,1(2),75-9

ดาวน์โหลด