บทความวิจัย



การพัฒนารูปแบบการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา  -

1.นางสาวอมรา จันทรารักษ์ 2.นายไพศาล ลินนะเลิง
    -. ประทาย. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


อุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกที่ส่งผลทำให้เกิดการความสูญเสีย ชีวิต

การบาดเจ็บ และ ความพิการตามมา ข้อมูลสถานการณ์การได้รับความคุ้มครองการชดเชยค่าความเสียหาย ปี 2559 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, 2558) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย, 2535) รวมถึงกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุมีการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต บุคคลเหล่านั้น

จะได้รับคุ้มครองตามกฎหมาย เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียเวลา ค่าสูญเสียอวัยวะ หรือสินไหมชดเชย ทดแทนกรณีเสียชีวิตในอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย รวมถึงหน่วยบริการสาธารณสุขที่สามารถเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจาก บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด เป็นรายได้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการสาธารณสุขด้านอื่นๆ มีการยกระดับมาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน หรือ EMS เป็นระบบการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน หรือ EMS (Emergency Medical System) ให้ผู้ป่วยหรือผู้ประสบภัย รวมถึงประชาชนผู้ประสบเหตุทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกตัวรถ ได้รับการช่วยเหลือดูแลด้านการรักษาพยาบาลอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ณ ที่เกิดเหตุ การเคลื่อนย้าย เตรียมตัวผู้ประสบภัยเพื่อนำส่งตัวไปรับการรักษาพยาบาล

ณ สถานพยาบาลภาครัฐหรือเอกชน ที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ รวมถึงได้รับการชดเชยค่าความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ในการดำเนินการเรื่องสิทธิของประชาชน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ นั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต. เป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประสบภัยจากรถ ในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลหรือค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ จากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด แทนในระบบสินไหมอัตโนมัติ (Enotifly Claim หรือ E-Claim) จากบทบาทหน้าที่ดังกล่าว

จึงต้องดำเนินการตรวจสอบสิทธิ โดยการตรวจสอบเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน ถูกต้อง ตามที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด หรือบริษัทประกันภัยกำหนดไว้ และจัดทำบันทึกข้อมูล รวบรวมเอกสารผู้ประสบภัย เพื่อส่งเรียกเก็บค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์หรือค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันฯ โดยได้ร่วมมือกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ในการนำโปรแกรม Enotifly Claim หรือระบบสินไหมอัตโนมัติ (Enotifly Claim หรือ E-Claim) เข้ามาใช้ในการบันทึกข้อมูลผู้ประสบภัยจากรถที่เข้ามาขอรับบริการรักษาพยาบาล ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต. ทั้งนี้ในส่วนของการดำเนินงานที่ผ่านมาได้กำหนดให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ดำเนินการบันทึกข้อมูลผู้ประสบภัยจากรถแต่ละรายให้ครบถ้วน ในโปรแกรมระบบสินไหมอัตโนมัติ (Enotifly Claim หรือ E-Claim) ภายใน 48 ชั่วโมง จะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาล ที่เรียกเก็บ

จากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

พ.ศ.2535 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ภายใน 30 วัน โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นรายได้หรือรายรับเข้าเป็นเงินบำรุงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โดยตรง

จากปัญหาดังกล่าว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอประทาย ได้ศึกษาการพัฒนารูปแบบการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ เพื่อนำผลการศึกษาในครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา และเพื่อหาแนวทางการเก็บค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์มีประสิทธิภาพประสิทธิผล เกิดประโยชน์

ต่อประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ หน่วยบริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ต่อไป


คำสำคัญ : การเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล, พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

-

keywords : -

อ้างอิง


-

ดาวน์โหลด