บทความวิจัย



การพัฒนางานคัดกรองตรวจสารเคมีในเลือดเกษตรกร  The development of blood chemical screening work for farmers

นางสาวธัญญาภรณ์ พชสิทธิ์ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า ๑๐๐ ปี
    รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงานพัฒนาคุณภาพ HACC นครชัยบุรินทร์ 2566. เมืองยาง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


ผลงานที่น าเสนอในครั้งนี้ เป็นการพัฒนางานคัดกรองตรวจสารเคมีในเลือดเกษตรกร

วัตถุประสงค์เพื่อลดการสะสมสารเคมีในกระเลือดของเกษตรกรในพื้นที่ให้มีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมี

กลุ่มเป้าหมายคือเกษตรกรในเขตรับผิดชอบต าบลเมืองยาง อ าเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา จ านวน 264

คน เข้าร่วมกิจกรรมคัดกรองตรวจสารเคมีในเลือดเกษตรกรปี 2565 และพบว่าจ านวนเกษตรกรที่ระดับ

เอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยนั้นมีจ านวนถึง 205 คน คิดเป็นร้อยละ

77.65 และน ากลุ่มดังกล่าวเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนางานคัดกรองตรวจสารเคมีในเลือดเกษตรกร โดยมีกิจกรรม

ดังนี้ 1.ประเมินเกษตรกรจาก นบก.1-56, 2.การตรวจสารเคมีในเลือดเกษตรกรโดยใช้ reactive paper,

3.อบรมให้ความรู้ในการป้องกันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารก าจัดศัตรูพืช,วัชพืชอย่างถูกต้องและให้

ดื่มสมุนไพรรางจืด โดยดื่มก่อนอาหารเช้าเป็นเวลา 10 วัน หลังจากนั้นน าผลระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสใน

กระแสเลือดเกษตรกรก่อนและหลังการดื่มสมุนไพรรางจืดมาเปรียบเทียบ เพื่อเป็นตัวชี้วัดถึงประสิทธิภาพของ

การพัฒนางานในครั้งนี้ ซึ่งผลระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสหลังเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวอยู่ในระดับ

มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยมี 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.89 ซึ่งถือว่ากิจกรรมการพัฒนางานคัดกรองสารเคมีใน

เลือดเกษตรนั้นมีประสิทธิภาพและเกษตรกรยังสามารถท างานเกษตรกรรมได้อย่างมีคุณภาพ

คำสำคัญ : ระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส

อ้างอิง


เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. ความ(ไม่) รู้เรื่องการล้างผักสถานการณ์ปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช , มิถุนายน2558

จันทพร มณีเสน. การศึกษาผลของการใช้รางจืดเป็นยาต้านพิษ วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, มีนาคม 2563

ภัทราธร จรรยาเลิศอดุลย์. ผลของสารน้ำสกัดรางจืดต่อระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรที่เคยสัมผัสสารพิษกำจัดศัตรูพืชในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและกาศึกษา. เมษายน 2559

ร.ศ.ดร.สุทธิรัตน์ พิมพ์พงศ์, ผช.ศ.อัญชลี นวลคล้าย, พว.ละออง มะปรางหวาน, วรณิตา ยอยรู้รอบ, ณัฐฉวี อ๊อกซู, ณัฐชนน ผุยนวล. ศึกษาผลของชาว่านรางจืดต่อการลดสารพิษในกระแสเลือดของกลุ่มเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. คู่มือเกษตรกรเพื่อป้องกันโรคพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, 2551

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศตรูพืช โดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส, กันยายน 2558



ดาวน์โหลด