บทความวิจัย



ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง ยา 8 ขนานสังหาร NCDs ของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา  Effects Of Health Behavior Modification Program On The 8 Forms Drug Prevention Non-Communicable Diseases Guidelines Of Chronic Disease Risk Group In Chaloem Phrakiat District Nakhon Ratchasima Province

นายพีรภัทร ไตรคุ้มดัน
    วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา ปีที่ 29 ฉบับที่ 1 (2023): ตุลาคม 2565 - มกราคม 2566. เฉลิมพระเกียรติ. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางยา 8 ขนานสังหาร NCDs ของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการระหว่าง 1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563 โดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมยา 8 ขนานสังหาร NCDs ซึ่งประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ แบบทดสอบความรู้ และเครื่องมือทางคลินิก โดยกลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง

ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 50 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบค่าเฉลี่ย Paired-Samples t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Diff =11.34, 95% CI =9.35-11.33, p – value < 0.001) ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Diff =9.76, 95% CI =4.21-15.31, p – value = 0.001) ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Diff =0.26, 95% CI =0.11-0.41, p – value = 0.001) และ ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตช่วงบน (Systolic Blood Pressure) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Diff =8.78, 95% CI =5.73-11.83, p – value < 0.001) ดังนั้น ควรมีการนำโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนี้ไปขยายผลต่อประชาชนกลุ่มอื่นๆ ต่อไป

คำสำคัญ : กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, โปรแกรมยา 8 ขนานสังหาร NCDs

This research is a Quasi-Experimental research. The objective is to study The results of The Program. on The 8 Forms Drug Prevention Non-Communicable Diseases Guidelines of Chronic Disease Risk Group in Chaloem Phrakiat District Nakhon Ratchasima Province. A conducted studies between 1 June 2020 And 31 December 2020 By Using training program for The 8 Forms Drug Prevention Non-Communicable Diseases Guidelines include Health Record, Knowledge Quiz and Clinical Tools. The sample size was 50 people in The Chronic Disease Risk Group using purposive sampling. The statistics used were descriptive statistics. and Paired-Samples T-Test at 0.05 significance level. The results of The study found that the Comparison of the difference in knowledge score mean statistically difference Significant (Mean Diff =11.34, 95% CI =9.35-11.33, p – value < 0.001) Blood Sugar Level statistically difference Significant (Mean Diff =9.76, 95% CI =4.21-15.31, p – value = 0.001) Body Mass Index statistically difference Significant (Mean Diff =0.26, 95% CI =0.11-0.41, p – value = 0.001) and The Systolic Blood Pressure statistically difference Significant (Mean Diff =8.78, 95% CI =5.73-11.83, p – value < 0.001) . Therefore, A health behavior change program should be developed to further expand its effect on other groups.

keywords : Chronic Disease Risk Group, The 8 Forms Drug Prevention Non-Communicable Diseases Guidelines

อ้างอิง


1. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus. พิมพ์ครั้ง

ที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ระบบบริหารจัดการข้อมูลด้านสาธารณสุข จังหวัด

นครราชสีมา[Health Data Center].2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 มิถุนายน 1]. เข้าถึงได้จาก

https://nma.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php.

3. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเฉลิมพระเกียรติ (2563). ระบบบริหารจัดการข้อมูลด้าน

สาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา [Health Data Center].2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 มิถุนายน 1]

เข้าถึงได้จาก https://nma.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php.

4. นงลักษณ์ ตุ่นแก้ว. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส.1ย.

และการใช้ปิงปองจราจรชีวิต7สี ต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของ

ผู้ป่วยเบาหวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำบ่อหลวง ตำบลน้ำบ่อหลวง

อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขา

ภาคเหนือ 2561; 24(2): 83 – 95.

5. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. หลักสูตรฝึกอบรมยา 8 ขนาน

สังหารNCD. พิมพ์ ครั้งที่ 1. นครราชสีมา : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

นครราชสีมา; 2562.

6.พระภิกษุธัมมธโร (นายแพทย์ทองถม ชะลอกุล). การจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ด้วยหลัก 4 อ.

(ยา 8 ขนาน). พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

นครราชสีมา; 2562.

7. Bloom B.S. Human Characteristic and School Learning. New York: McGraw-Hill Book

Company; 1976.

8. ประหยัด ช่อไม้ และ อารยา ปรานประวิตร. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในการ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริม

สุขภาพตำบลบ้านเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย

พิชญทรรศน์ 2558 ; 10(1): 15 – 24.

9. ไพโรจน์ มะกล่ำดำ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่

ป่วยด้วย โรคความดันโลหิตสูงของตำบลคลองอุดมชลจร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา.

วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร 2558 ; 10(1): 20 – 39.

10. อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา, รสติกร ขวัญชุม และ ลัดดา เรืองด้วง. ผลของโปรแกรม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส.ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำ

หมู่บ้าน (อสม.) ต.คลองฉนาก อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาล

และการสาธารณสุขภาคใต้ 2560 ; 4: 253 – 64.

11. Polit, D. F. & Hungler, B. P. (1995). Nursing Research: Principles and Methods. (5th ed.).

Philadelphia: J. B. Lippincott company.

ดาวน์โหลด