บทความวิจัย



การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันในชุมชน อำเภอวังน้ำเขียว  Intermediate care System development in Community at The Wang Nam Khiao District

นายสันติภาพ พึ่งอ่ำ
    โรงพยาบาลวังน้ำเขียว . วังน้ำเขียว. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


โรงพยาบาลวังน้ำเขียวได้มีการดำเนินการให้บริการผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน (Intermediate care) อย่างต่อเนื่องในชุมชนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 ผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันได้รับการดูแลติดตามฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องในชุมชน ตามเกณฑ์ คือ ติดตามหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล 4 วันและติดตามจนครบ 6 เดือน หรือคะแนนบาร์เทล (Barthel index) =20 ร้อยละ 80 ในช่วงปีงบประมาณ 2563 – 2564 ได้มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-19 ดังนั้นทีมดูแลผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันของอำเภอวังน้ำเขียว จึงได้พัฒนาระบบการติดตามผู้ป่วยโดยการใช้ Tele consult ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน ได้รับการดูแลติดตามฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องในชุมชน และในปีงบประมาณ 2565 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้เป็นศูนย์ให้บริการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากโรงพยาบาลวังน้ำเขียว ทำให้ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันไม่ได้รับการส่งต่อมารักษาต่อที่โรงพยาบาลวังน้ำเขียว แต่ถูกจำหน่ายกลับไปที่บ้านแทน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายให้บริการแบบไร้รอยต่อ ทีมคณะทำงานผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันอำเภอวังน้ำเขียว จึงได้พัฒนาระบบ IMC WNK TEAM ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลติดตามฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องในชุมชน โดยการร่วมมือของทีมสหวิชาชีพ องค์กรปกครองท้องถิ่น และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยมีผลลัพธ์การดูแลในปีงบประมาณ 2563 – 2565 มีดังนี้ 1. อัตราผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันได้รับการดูแลตามเกณฑ์ ร้อยละ 88.33, 81.84 และ 96.87 ตามลำดับ 2. อัตราผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน มีผลลัพธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพดีขึ้นโดยค่าคะแนน Barthel index เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 ระดับ ร้อยละ 79.17,88.33 และ81.25 ตามลำดับ 3.อุบัติการณ์ผู้ป่วยระยะกลาง มีภาวะแทรกซ้อนแผลกดทับร้อยละ 13.04, 5.71 และ6.25 ตามลำดับ ภาวะแทรกซ้อนติดเชื้อทางเดินปัสสาวะร้อยละ 0,2.86 และ 3.13 ตามลำดับ ภาวะแทรกซ้อนปอดติดเชื้อร้อยละ 0,0 และ 3.13 ตามลำดับ

คำสำคัญ : ผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน, ระบบบริการในชุมชน

อ้างอิง


เอกสารอ้างอิง

ดาวน์โหลด