บทความวิจัย



สถานการณ์และเหตุผลการกลับไปเสพซ้ำในระหว่างบำบัดของผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีนแบบสมัครใจ  -

ดรุณี คุณวัฒนา
    -. ปักธงชัย. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ศึกษาสถานการณ์และเหตุผลของการกลับไปเสพซ้ำในระหว่างบำบัดของผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีนแบบสมัครใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 26 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีนแบบสมัครใจกลับไปเสพซ้ำระหว่างบำบัดและผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้การบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีนแบบสมัครใจมีอายุ 21-40 ปี ร้อยละ 62.50 การศึกษาชั้นมัธยมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 56.25 เริ่มเสพครั้งแรกอายุ 10-20 ปี ร้อยละ 81.25 ระยะเวลาเสพนานมากกว่า 5 ปี ร้อยละ 50 ส่วนมากสถานภาพ หม้าย/หย่า/แยก ร้อยละ 56.25 ส่วนใหญ่อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 68.75 ส่วนมากพักอาศัยอยู่กับบิดาหรือมารดา ร้อยละ 50 สถานการณ์การกลับไปเสพซ้ำในระหว่างบำบัด ส่วนมากเป็นการเข้าไปในสถานการณ์เสี่ยง ได้แก่ ดื่มสุรา กลับไปคบเพื่อนกลุ่มที่มีการใช้ยาเสพติด เข้าถึงยาเสพติดในชุมชนได้ง่าย ไม่ได้รับความไว้วางใจจากครอบครัว และความขัดแย้งในครอบครัวหรือที่ทำงาน ส่วนเหตุผลการกลับไปเสพซ้ำเกิดจากปัจจัยภายในของบุคคล ได้แก่ การไม่ยอมรับความเจ็บป่วยจากการบังคับให้สมัครใจรับการบำบัดฟื้นฟูฯ ขาดเป้าหมายชีวิต ขาดทักษะในการจัดการปัญหา ขาดสติและไม่สามารถยับยั้งชั่งใจได้โดยเฉพาะเมื่อดื่มสุรา ความรู้สึกต่างๆ เช่น เบื่อ เหงา หิว เหนื่อย รู้สึกอยากและระลึกถึงความสุขจากการเสพยาเสพติด เมื่อเข้ารับการบำบัดไม่ต่อเนื่องตามนัด

สรุป ผู้ป่วยเป็นกลุ่มวัยแรงงานที่มีประสบการณ์การเสพยาเสพติดตั้งแต่วัยรุ่น เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพจากการบังคับสมัครใจ จึงกลับไปเสพซ้ำเนื่องจากเข้าไปในสถานการณ์เสี่ยง คบเพื่อนกลุ่มเดิมและเข้าถึงยาเสพติดได้ง่าย ปัจจัยภายในของบุคคลที่ไม่ยอมรับการเจ็บป่วย ขาดเป้าหมายชีวิต ขาดทักษะจัดการปัญหา ขาดสติและการควบคุมตนเอง ข้อเสนอแนะ สร้างแรงจูงใจในการยอมรับความเจ็บป่วย การกำหนดเป้าหมายชีวิต ทักษะสติและการยับยั้งชั่งใจ ทักษะการจัดการปัญหา


คำสำคัญ : สถานการณ์,เหตุผล,การกลับไปเสพซ้ำในระหว่างบำบัด,ผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีนแบบสมัครใจ

-

keywords :

อ้างอิง


1 งานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลปักธงชัย. รายงานผู้ป่วยยาเสพติด โรงพยาบาลปักธงชัย

ปี 2560-2561. กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลปักธงชัย.

2 Krohn, D.M., Hall, P.G., & Lizotte, A.J. (2009). Family transitions and later delinquency

and drug use. Journal of Youth and Adolescence, 38, 466–480.

3 ปริศนา รถสีดา, อมรรัตน์ รัตนสิริ, มานพ คณะโต, สมเดช พินิจสุนทรและอิสระ เจียวิริยบุญญา.

ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวกับการกลับมาเสพซ้ำของผู้เสพเมทแอมเฟตามีน

ในระบบบังคับบำบัดของจังหวัดขอนแก่นและยโสธร. Journal of the medication

Association Of Thailand. 2010; (volume 93 sppl 3): s1-s5.

4 Adinoff, B. (2004). Neurobiologic processes in drug rewardand addiction. Harvard

Review of Psychiatry, 12 (6), 305-320.

5 ไพโรจน์ บุญประเสริฐ. พฤติกรรมหลังผ่านการบำบัดรักษาของผู้เสพยาเสพติด:กรณีศึกษาเขตพื้นที่

จังหวัดเชียงราย. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น. 2561; ฉบับที่ 2: หน้า 191-211.

6 พรทิพย์ โชครุ่ง, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์ และเวทิส ประทุมศรี. ผลของโปรแกรม

เสริมสร้างการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกเสพยาต่อความตั้งใจในการเลิกยาของผู้เสพ

ติดแอมเฟตามีน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลราชชนนีกรุงเทพ. 2559; ฉบับที่ 3: หน้า 37-50.

7 จุไรพร สัมพุทธานนท์และจินตนา ยูนิพันธุ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการ

ป้องกันการเสพแอมเฟตามีนซ้ำของวัยรุ่นชาย สถานบำบัดยาเสพติดของรัฐ. วารสารการ

พยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2561; ฉบับที่ 1: หน้า 6-14.

8 สำเนา นิลบรรพ์, บุญเรือง ศรีเหรัญและอุษา คงทอง. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อ

พฤติกรรมการเสพยาซ้ำของผู้เสพเมทแอมเฟตามีน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ

วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2559; ฉบับที่ 1: หน้า 193-207.

9 มนัส สุนทรโชติและเพ็ญพักตร์ อุทิศ. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพลังต้านการเสพยาบ้าของวัยรุ่นที่เข้า

รับการบำบัดแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลในเขตภาคตะวันออก. วารสารการพยาบาลจิตเวช

และ สุขภาพจิต. 2556; ฉบับที่ 2: หน้า 85-98.

10 Atkinson, J.S., Richard, A.J., & Carlson , J.W. (2001). The influence of peer, family, and

school relationships in substance use among participants in a youth jobs

program, Journal of Child & Adolescent Substance Abuse, 11 (1), 45-54.

11 เด่นเดือน ภูศรีและพัชราพร เกิดมงคล. ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการมีส่วนร่วมของ

ครอบครัวต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง และความเข้มแข็งในการมองโลก ของผู้เสพแอมเฟตามีน.

วารสารวิทยาลัยพยาบาลราชชนนีกรุงเทพ. 2556; ฉบับที่ 1. หน้า 50-61.

12 ปิยวรรณ ทัศนาญชลี. ศึกษากระบวนการไม่เสพยาบ้าซ้ำ: กรณีศึกษาผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู

สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด. สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. 2554; ฉบับที่ 3:

หน้า 36-48.

13 ฐิติวัสส์ สุขป้อม, สันทนา วิจิตรเนาวรัตน์ และเกษมศรี อัศวศรีพงศ์ธร. การพัฒนารูปแบบชุดการ

จัด กิจกรรมแนะแนวที่มีต่อความยับยั้งชั่งใจด้านการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ของนักเรียน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดชัยนาท. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 2560;

ฉบับที่ 4: หน้า 189-202.

ดาวน์โหลด