บทความวิจัย



การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชน ตำบลไพล อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา  Model development of participation for prevention and control of dengue fever of community in Pai sub-district, Lum Thamen Chai district,Nakhon Ratchasima province

สุรจิตร์ ภู่ทอง
    สำนักงานสาธารณสุขอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา . ประทาย. นครราชสีมา. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก(2) การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (3) สภาพปัญหาและความต้องการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และ(4) สร้างรูปแบบและประเมินผลรูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 347 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการประชุมเชิงปฏิบัติการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 63.69 การมีส่วนร่วมในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก พบว่า (1) ด้านค้นหาปัญหาและสาเหตุของโรคไข้เลือดออกร้อยละ 93.37 (2) ด้านการจัดทำแผนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกร้อยละ 73.86 (3) ด้านการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 73.64 และ(4) ด้านประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกร้อยละ 47.55 ปัญหาการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( = 2.18) ความต้องการการมีส่วนร่วมในการวางแผนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.20) รูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การสร้างความตระหนักถึงปัญหาและสาเหตุโรคไข้เลือดออก (2) การจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (3) การดำเนินงานป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก และ(4) การประเมินผลการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกผลการประเมินรูปแบบ การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกพบว่ามีความสอดคล้องมีความเหมาะสมมีความเป็นไปได้และมีการยอมรับได้ทุกขั้นตอน


คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ; การมีส่วนร่วม; การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

This research was action research that aimed to study: (1) The knowledge level about dengue hemorrhagic fever. (2) The participation about prevention and control of dengue hemorrhagic fever. (3) The problems and the needs of participation about prevention and control of dengue hemorrhagic fever. and (4) The creation and implement the participation model of prevention and control the dengue hemorrhagic fever. The samples size were 347 people. The data was collected by questionnaire and workshop. Data analysis was explored by frequency, percentages, mean, standard deviation and content analysis. .

The results of this research showed that the most of samples group had the knowledge about dengue hemorrhagic fever in low level (63.49%). The community participated: (1)identifying the problems and causes of dengue hemorrhagic fever (93.37%) (2) planning for prevention and control of dengue hemorrhagic fever (73.68 %) (3) operating for prevention and control of dengue hemorrhagic fever (73.64%) and (4) evaluating of the prevention and control of denguehemorrhagic fever (47.55%).The problem of participation about prevention and control of dengue hemorrhagic fever in the overall imagewas low level ( = 2.18). The planning participation needing about prevention and control of dengue hemorrhagic feverin the overall imagewas high level ( = 4.20). The model of the community participation in prevention and control of dengue hemorrhagic fever had 4 step. Step 1: The raising awareness about problem and causes of dengue hemorrhagic fever. Step 2: The planning about prevent and control of dengue hemorrhagic fever. Step 3: The operating about prevention and control of dengue hemorrhagic fever. Step 4: The evaluating about prevention and control of dengue hemorrhagic fever.The result of evaluating the models of the prevention and control of dengue hemorrhagic fever found that all 4 stepshad consistent, suitable, feasible, and acceptable.


keywords : Model Development; Participation; Preventionand Control of Dengue Hemorrhagic fever

อ้างอิง


[1] สำนักระบาดวิทยา.แนวทางการดำเนินงาน เฝ้าระวังเหตุการณ์ของ SRRT เครือข่ายระดับตำบล.นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2566.

[2] กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ฯ. สถานการณ์โรคสำคัญที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 ปี 2566. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://odpc9.ddc.moph.go.th/hot/situlation.htm

[3] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 2566. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2566.

[4] สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลำทะเมนชัย. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 2566. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา. เอกสารอัดสำเนา; 2566.

[5] นิตยา เพ็ญศิรินภา. เอกสารการสอนวิชาสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์หน่วยที่ 4.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช; 2544.

[6] สำนักระบาดวิทยา. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ของ SRRT เครือข่ายระดับตำบล. นนทบุรี: กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข; 2555.

[7] สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออกปี 2566. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https: ddc.moph.go.th/thaivbd/

[8] วิชิต สารกิจและคณะ. การพัฒนารูปแบบการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วมของประชาชน. บุรีรัมย์ :สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์; 2553.

[9] Yamane, Taro. Statistics, An Introductory Analysis,2nd Ed., New York : Harper and Row; 1967.

[10] พลเกตอินตา. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ศึกษากรณี อบต.ขนาดใหญ่ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2547.

[11] พุฒิพงศ์ มากมาย และอมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 จังหวัดพิษณุโลก 2565; 10(2): 108 - 18.

[12] สุจิตรา สุคนธมัต และคณะ. ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในหมู่บ้านบ่อดินสอพองตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www. hu.ac.th/Conference/conference2022/proceedings/doc/.pdf

[13] ไพศาลหวังวานิช. การวัดและประเมินผลระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : ทบวง มหาวิทยาลัย; 2543.

[14] นภาภรณ์ อินทรสิทธิ์เพชรไสวลิ้มตระกูล และอัมพรเจริญชัย. การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านบ่อคาตำบลคำตากล้าอำเภอคาตากล้าจังหวัดสกลนคร. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จากhttp://sasukmsu. wordpress.com/2007/02/18/. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564

[15] เดชา บัวเทศวันเพ็ญ บัวเทศ และระพีพร บูรณคุณ. การพัฒนาการมีส่วนร่วมใน การควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายของแกนนำชุมชนบ้านหนองคณฑีหมู่ที่4 ตำบลพุกร่างอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. สระบุรี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 สระบุรี; 2547.

[16] วิษณุ สถานนท์ชัย. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย.

[วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2550.

[17] พลอยประกาย ฉลาดล้น และคณะ. การพัฒนารูปแบบการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในตำบลสวนกล้วย จังหวัดราชบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2563; 5(12) : 324 - 26.

[18] ฐิติชญา ฉลาดล้นและพิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: กรณีศึกษาตำบลต้นแบบ หมู่ 3 บ้านทุ่งทองตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี.วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2561;2(1) : 153 - 62.

[19] มาธุพร พลพงษ์, ซอฟียะห์ นิมะและปรัชญะพันธุ์ เพชรช่วย. ศึกษาการพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้วจังหวัดพัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ การสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 4(ฉบับพิเศษ) : 243 - 59.

ดาวน์โหลด