บทความวิจัย



การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนเบาหวานวิทยาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังไทร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา  Diabetes Witthaya School Operating Development Model by Community Participation, Wang Sai Subdistrict Health Promoting Hospital, Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province.

พรรณี ศรีภักดี
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังไทร. ปากช่อง. นครราชสีมา. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนเบาหวานวิทยา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน จากผู้ให้ข้อมูลหลัก 45 คน ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนเบาหวานกลุ่มเสี่ยง 1 คนและกลุ่มป่วย 12 คน ภาคีเครือข่ายสุขภาพขับเคลื่อนโรงเรียนเบาหวานวิทยา 33 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่มและการสังเกต ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ -ธันวาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ เชิงพรรณนา และเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่ามีกระบวนการพัฒนารูปแบบในการดำเนินงานโรงเรียนเบาหวานวิทยา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ทำให้เกิดกระบวนการที่สำคัญ ได้แก่ (1) ศึกษาข้อมูล สถานการณ์และบริบทของชุมชนและด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน (2) การจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหา (3) กิจกรรมให้ความรู้และจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรโรงเรียนเบาหวานวิทยา 12 สัปดาห์ (4) ติดตามผลของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน (5) ดำเนินการรวบรวมข้อมูลประมินด้านสุขภาพ ผลการตรวจ HbA1c ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การมีส่วนร่วมและประเมินความพึงพอใจ (6) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผล การดำเนินงาน (7) สรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จและสรุปแนวทางการพัฒนา หลังจบหลักสูตรการอบรมผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 12 ราย ที่เข้าร่วมโครงการได้รับหยุดยา เบาหวานหายหรือสงบได้ จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.66 ได้ปรับลดยา จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 83.34 มีค่า HbA1c ดีขึ้น จำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.66 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย โดยมีระบบการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ประกอบด้วย (1) ระดับครอบครัว (2) ระดับชุมชน (3) ระดับหน่วยบริการ รพ.สต./โรงพยาบาล และภาคีเครือข่ายมีรูปแบบการดำเนินงานการมีส่วนร่วมให้เกิดการพัฒนารูปแบบโรงเรียนเบาหวานที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยเบาหวานให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยให้ดีขึ้น มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง


คำสำคัญ : ผู้ป่วยเบาหวาน; โรงเรียนเบาหวาน; การพัฒนารูปแบบ; ภาคีเครือข่ายสุขภาพ

The purpose of this action research study was of Diabetes Witthaya School Operating Development Model by Community Participation. The action research process was conducted in 4 steps with 45 informants, including 1 school student with high-risk diabetes and 12 patients, 33 health network partners drive the diabetes school. Quantitative data were collected using interviews. Group discussion and observation between February - December 2023. The data analysis used descriptive and content analysis.

The results of the study found that there is a process for Diabetes Witthaya School Operating Development Model by Community Participation. This leads to important processes including 1) studying information Situation and context of the community and aspects of community participation. 2) Creating an action plan to solve the problem. 3) Activities to provide knowledge and organize teaching and learning according to the curriculum. Diabetes School, 12 weeks 4) Follow up on the results of the community participation process. 5) Carry out health assessment data. HbA1C test results Behavioral change results Participation and satisfaction assessment. 6) Organize a forum to exchange knowledge about operational results. 7) Summarize success factors and summarize development guidelines. After completing the diabetes patient training course total of 12 people participating in the project. 2 cases were discontinued and their diabetes was cured or alleviated (Diabetes Remission) 16.66%, 10 cases reduced medication 83.34%, A total of 11 cases had an improved HbA1c value of 91.66%. Able to control sugar levels according to target criteria. The health care system for diabetic patients in the community consists of 1) family level, 2) community level, 3) service unit level. Health Promoting Hospital/Hospital. And the network partners have an operating model for participating in the development of a diabetes school model that is consistent with the problems and needs of diabetic patients to be able to change the patient health care behavior for the better. There is a decrease in accumulated sugar levels in the blood.


keywords : Diabetes Patients; Diabetes Schools; Model Development; Health Network Partners

อ้างอิง


[1] ภัทระ แสนไชยสุริยา บังอร เทพเทียน และคณะ. รายงานผลการศึกษาโครงการทบทวนสถานการณ์และผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ. 2560– 2562.รายงานการวิจัย.กรุงเทพฯ: สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562

[2] กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560- 2564). กรุงเทพฯ: บริษัท อิโมชั่นอาร์ต จำกัด.

[3] สุมนี วัชรสินธุ์ ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์ และคณะ. คู่มือการดำเนินงานประเมินคุณภาพ NCD Clinic plus ปี 2561. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561

[4] สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ ติดต่อและการบาดเจ็บ พ.ศ.2561. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ ไทย จำกัด; 2562.

[5] จุรีพร คงประเสริฐ และคณะ. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus ปี 2562. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562

[6] ศุภวรรน ยอดโปร่ง และลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. การพัฒนาโรงเรียนเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 36(2) : 185–95.

[7] ชัชลิต รัตรสาร. การระบาดของโรค เบาหวานและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทโนโว นอร์ดิสค์ ประเทศไทย จำกัด; 2560

[8] ภานุชนาท สายบัว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2561

[9] สุนทรี สุรัตน์ กิตติ ศศิวิมลลักษณ์ เกวลี เครือจักร และวิโรจน์ มงคลเทพ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในพื้นที่อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2559; 4(2): 297 – 307.

[10] ชลธิชา ยิ่งยง. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2560.

[11] ชัยวุฒิ จันดีกระยอม และกาญจนา จันทะนุย. การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้บริบทพื้นที่อำเภอทุรกันดาร อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาสารคาม: โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม; 2560.

[12] ศิริเนตร สุขดี. การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน. [ปริญญานิพนธ์ ปร.ด.(การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์)]. กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ; 2560

[13] ยงยุทธ์ สุขพิทักษ์. เทคนิคการเสริมพลังในการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557; 23(4): 649 – 58.

[14] ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการจัดการโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2560; 37(2):154–59.

[15] สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.

ดาวน์โหลด