บทความวิจัย



การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเตรียมความพร้อมหญิงตั้งครรภ์ก่อนการระงับความรู้สึกที่ให้บริการผ่าตัดคลอดแบบไม่ฉุกเฉิน งานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา  Development of Nursing Practice Guidelines for Prepare Pregnant Women Requiring Pre-anesthesia for Elective Cesarean Section in Operation room Department Sikhio Hospital, Nakhon Ratchasima Province

พัชรินทร์ อินทร์น้อย
    โรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. สีคิ้ว. นครราชสีมา. (2567)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นเป็นการวิจัยเชิงพัฒนา เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลและศึกษาความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ต่อแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเตรียมความพร้อมหญิงตั้งครรภ์ก่อนการระงับความรู้สึกที่ให้บริการผ่าตัดคลอดแบบไม่ฉุกเฉิน งานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มีข้อบ่งชี้การผ่าตัดคลอดแบบไม่ฉุกเฉิน เข้ารับบริการคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสีคิ้ว จำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเตรียมความพร้อมหญิงตั้งครรภ์ก่อนการระงับความรู้สึกที่ให้บริการผ่าตัดคลอดแบบไม่ฉุกเฉินที่กระบวนการพัฒนาตามแนวคิด ACE Star Model และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจหญิงตั้งครรภ์ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่า IOC เท่ากับ 0.90 และ 0.84 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาค เท่ากับ 0.92 และ 0.88 เก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย การประเมินสภาพทั้งร่างกายและจิตใจ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การประเมินความเสี่ยงก่อนผ่าตัด และวิสัญญีพยาบาลมีการใช้แบบประเมินหญิงตั้งครรภ์ก่อนการระงับความรู้สึกที่ให้บริการผ่าตัดคลอดแบบไม่ฉุกเฉินที่พัฒนาขึ้นใหม่ ร้อยละ 100 ผลลัพธ์ของ การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติทางการพยาบาลครอบคลุม ร้อยละ 95.00 ไม่พบอุบัติการณ์ความเสี่ยงการงดผ่าตัด และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัดคลอด และความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ต่อแนวปฏิบัติทางการพยาบาล ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.32, S.D=0.421) สรุปได้ว่า แนวปฏิบัตินี้สามารถนำไปใช้ในการประเมินและเตรียมความพร้อมหญิงตั้งครรภ์ก่อนการระงับความรู้สึกที่ให้บริการผ่าตัดคลอดแบบไม่ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสีคิ้วได้


คำสำคัญ : แนวปฏิบัติทางการพยาบาล; หญิงตั้งครรภ์; การระงับความรู้สึก; ผ่าตัดคลอดแบบไม่ฉุกเฉิน

This study is a development research aimed at developing nursing practice guidelines and investigating the satisfaction of pregnant women with nursing practices for preparing them for pre-anesthesia in elective cesarean section at the Operation Room Department, Sikhio Hospital, Nakhon Ratchasima Province. The sample group consists of 20 pregnant women who have indications for elective cesarean section and are receiving services at the antenatal clinic of Sikhio Hospital. The tools used in this research include the nursing practice guidelines for preparing pregnant women for pre-anesthesia in elective cesarean section, developed according to the ACE Star Model, and a satisfaction survey for pregnant women, validated for content accuracy by three qualified experts with IOC values of 0.90 and 0.84. The reliability coefficient Cronbach alpha values were 0.92 and 0.88. Data were collected from November to December 2023 and analyzed using descriptive statistics, frequency distribution, percentages, means, and standard deviations.

The research findings indicate that the developed practices include assessing the physical and mental condition, physical examination, laboratory tests, pre-operative risk assessment, and anesthesiology nursing. A newly developed assessment form was used for all pregnant women 100% preparing for pre-anesthesia in the elective cesarean section. The outcomes of adherence to the nursing practice guidelines were comprehensive, covering 95.00% of the cases. There were no incidents of surgery cancellations due to risk factors, and no complications occurred before, during, or after the cesarean section. The overall satisfaction level of pregnant women with the nursing practices was high ( X ̅=4.32, S.D=0.421). In conclusion, these practices can be effectively used for assessing and preparing pregnant women for pre-anesthesia in the elective cesarean section surgeries at Sikhio Hospital.


keywords : Nursing Practice Guidelines; Pregnant Women; Anesthesia; Elective Cesarean Section

อ้างอิง


[1] นิติพร อยู่แก้ว. อัตราผ่าคลอดตามระบบรอบสัน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2560; 7(3): 262 – 71.

[2] วิเศก ลุมพิกานนท์. ผ่าคลอดโดยไม่จำเป็น เรื่องใหญ่ใต้คมมีดหมอ. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/ content/2019/04/17049

[3] อรฉัตร จันทร์กระจ่าง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://apps.hpc.go.th/dmkm/ web/uploads/2020/03420720200302144323/ae029e586da7f500996de628a76a724d. pdf

[4] งานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดและวิสัญญี กลุ่มงานการพยาบาล. แบบประเมินตนเอง งานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดและวิสัญญี โรงพยาบาลสีคิ้ว ปีงบประมาณ 2566. โรงพยาบาลสีคิ้ว; 2566.

[5] Stevens, K. R. ACE Star Model of EBP: Knowledge Transformation. Academic Center for Evidence-based Practice. The University of Texas Health Science Center at San Antonio; 2004.

[6] Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. Determining Sample Size for Research Activeties. Education and Psychological Measurement 1970; 30: 607 – 08.

[7] ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. คำแนะนําทางเวชปฏิบัติในการประเมินผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึก (Practice advisory for pre-anesthesia evaluation). ประกาศราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562; 2562.

[8] ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศ ไทย. แนวทางการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การระงับความรู้สึก (Guidance for patient information about anesthesia). ประกาศราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562; 2562.

[9] Garcia, Ferdinand and Shainy Varghese. Prioritizing Acute Care Education in Renal Transplant Recipients – An Evidenced Based Approach with the ACE STAR Model of Knowledge Transformation. Unversity of Houston college of Nursing. [online]. (2020). [cited 1 febeury, 2024]. Available from : https://hdl.handle.net / 10657/7077

[10] ดวงแก้ว พรรณพราว และนงเยาว์ มีเทียน. การพัฒนาแบบบันทึกการดูแลผู้รับบริการหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2563; 17(2): 85 – 93.

[11] ชฎารัตน์ เหลืองอร่าม. ความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www.hpc.go.th/rcenter/ index.php?mode=viewrecord&mid=202 20325213653_3014&kw=

[12] อรุณี พัวโสพิศ. ศึกษาการพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลก่อนและหลังในหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกที่ต้องได้รับการผ่าตัดแบบนัดผ่าตัด. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2566; 8(2): 185 – 93.

ดาวน์โหลด