บทความวิจัย



ผลของการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องในกลุ่มผู้ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ในรูปแบบเครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา  Results of Care for Patients Undergoing Laparoscopic Cholecystectomy Among Chronic Non-Communicable Diseases Patients in the Health Service Network at Debaratana Nakhon Ratchasima Hospital

รุ่งรัตน์ แช่มชูกลิ่น
    โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


นิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ การผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องด้วยวิธีการส่องกล้องเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ศึกษาผลของการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับ การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) เป็นโรคร่วม ทำการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยหลังการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคร่วม โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ที่มีการจำหน่ายตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 - 2566 ประชากร 234 ราย ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Yamane 148 ราย เผื่อความเสียหายของข้อมูล 5% ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ 155 ราย ศึกษาคุณลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย และการปฏิบัติกิจกรรมทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation Coefficient) และสถิติไคสแควร์ (chi-square)

ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมของกิจกรรมการพยาบาลตั้งแต่ระยะเตรียมก่อนการผ่าตัด ระยะผ่าตัดถึงหลังผ่าตัด 4 ชั่วโมง ระยะหลังผ่าตัดครบ 24 ชั่วโมง และระยะก่อนการจำหน่าย ในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ที่ได้รับผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง มีความสัมพันธ์ทางตรงกันข้ามกับระยะเวลาการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.901 p-value <0.001) กิจกรรมการพยาบาล ระยะเตรียมก่อน การผ่าตัด และระยะผ่าตัด-หลังผ่าตัด 4 ชั่วโมง มีความสัมพันธ์ทางตรงกันข้ามเช่นเดียวกันกับภาพรวม (r = -0.735 และ -0.840, p-value <0.001 และ p-value <0.001 ตามลำดับ) ในขณะที่กิจกรรมการพยาบาลในระยะผ่าตัด-หลังผ่าตัด 4 ชั่วโมงและภาพรวมกิจกรรมการพยาบาล มีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นกัน (r = -0.706 และ -0.801, p-value <0.001 และ p-value <0.001 ตามลำดับ) อาการดีขึ้นทุกราย แพทย์จำหน่ายให้กลับบ้าน ไม่มีการกลับมารักษาซ้ำด้วยอาการผิดปกติหลังการผ่าตัด จากผลการวิจัย กิจกรรมการพยาบาลตั้งแต่ระยะเตรียมก่อนการผ่าตัดจนถึงระยะก่อนการจำหน่าย มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาของผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีที่ได้รับการผ่าตัดแบบส่องกล้องในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) เป็นโรคร่วม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญ กำหนดแนวทางปฏิบัติและนิเทศกำกับติดตาม เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย


คำสำคัญ : โรคนิ่วในถุงน้ำดี; ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง; การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD)

The study format is analytical research. To study the outcomes of patients undergoing laparoscopic gallstone surgery. Among patients with chronic non-communicable diseases as co-morbidities. Data were studied from the medical records of patients after endoscopic gallstone surgery. Retrospective study of data from medical records of patients after endoscopic gallstone surgery in patients at Debaratana Nakhon Ratchasima Hospital who were discharged from the hospital from Fiscal year 2019 - 2023. The population used in the research consisted of 234 patients. Sample of 148 patients was drawn from Yamane formula. There may have been incomplete data, so an additional 5% of data were collected. A total of 155 patients were used in this study. Present the general characteristics of the patient and carry out nursing activities Data in this study were analyzed using mean, percentage, Pearson correlation coefficient, and chi-square.

The results of the study found that Nursing activities for patients with chronic non-communicable diseases (NCD) who have undergone laparoscopic gallstone surgery. Overall nursing activities are related to the length of time a patient stays in the hospital. Statistically significant (r = -0.901 p-value <0.001), especially nursing activities during preparation for surgery and during surgery until 4 hours after surgery (r = - 0.735 and -0.840, p-value <0.001 and p -value < 0.001 respectively) In addition, it was found that nursing activities during the intraoperative period up to 4 hours after surgery and an overview of nursing activities It also has a relationship with postoperative patient complications (r = -0.706 and -0.801, p-value <0.001 and p -value <0.001, respectively). All patients had improved discharge status. and no repeat treatment was found. caused by abnormalities after surgery From the results of the research, it was found that nursing care from before surgery until before discharge from the hospital is related to the treatment results of gallstone patients undergoing laparoscopic surgery in patients with non-communicable diseases (NCD). The agency should Emphasis is placed on setting guidelines and monitoring and overseeing the achievement of patient safety goals.


keywords : Gall Stone; Laparoscopic Cholecystectomy ; Care for Chronic Non Communicable Diseases Patients (NCD)

อ้างอิง


[1] ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย.2565. แนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทางศัลยกรรม โรคนิ่วทางเดินน้ำดี. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// www.rcst.or.th/web upload/filecenter/CPG/Gallstone%20.html

[2] สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2563. รายงานการศึกษา การประเมินทางเศรษฐศาสตร์การผ่าตัดผ่านกล้องเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดในการรักษานิ่วในถุงน้ำดี. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/Research/Attach/25640705131439PM_รายงาน% 20MIS% 20202101 19.pdf

[3] ภิญญลักษณ์ เรวัติพัฒนกิตติ์. การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีและมีโรคร่วม : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2563; 17(1) มกราคม – เมษายน : 131 - 38

[4] อรรถพร ปฏิวงศ์ไพศาล. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้องเป็นการผ่าตัด แบบเปิดหน้าท้อง โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562; 16(3) กันยายน – ธันวาคม : 129 – 35.

[5] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “การผ่าตัดส่องกล้องหมายถึง?” [ออนไลน์]. (ม.ป.ป). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http:/th.wikipedia.org/wiki/การผ่าตัดส่องกล้อง

[6] กลุ่มงานประกันสุขภาพ โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. เอกสารประกอบ การประชุมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา; 2565.

[7] ดรุณี สมบูรณ์กิจ และคณะ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2561; 15(3) กันยายน – ธันวาคม : 24-34

[8] Gordon,M. Nursing diagnosis : process and application. New York : Mc.Graw-Hill Book Co; 1982

[9] Yamane Taro. Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row; 1973.

[10] Likert, R. The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill; 1967.

[11] ทรงศักดิ์ จำปาแพง และคณะ .ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องโงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก [ออนไลน์].(ม.ป.ป) [เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://hpc2appcenter.anamai .moph. go.th/academic/web/files/2566/research/MA2566-004-01-0000001321-0000001414 .pdf

[12] นิลุบล ศรีประโมทย์. การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่ได้รับยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักด้วยวิธีส่องกล้อง :กรณีศึกษา. [ออนไลน์].(ม.ป.ป). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://nrh.nopparat .go.th/academic/public/view/read.php?id=5

ดาวน์โหลด