บทความวิจัย



ระดับความรุนแรงและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการของโรคของผู้ป่วยเด็ก ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลครบุรี จังหวัดนครราชสีมา  Severity of symptoms, Factor Associated Disease Symptoms among Pediatric Patients Infected with COVID-19 in Khonburi Hospital, Nakhon Ratchasima

สาวิกา คำคงคุณ
    โรงพยาบาลครบุรี . ครบุรี. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัย เชิงวิเคราะห์โดยศึกษาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรุนแรงของอาการ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อโควิดที่มารับบริการที่โรงพยาบาล ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2564 - 30 มิถุนายน 2565 เป็นการศึกษาข้อมูลที่มีการเก็บไว้ในเวชระเบียนโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด 19 จำนวน 254 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูล และทะเบียนประวัติการรักษาผู้ป่วย วิเคราะห์โดยใช้สถิติ พรรณนา และสถิติไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย (ร้อยละ59.4) ค่าเฉลี่ยอายุ 7 ปี 3 วัน (ค่าต่ำสุด 3 วัน ค่าสูงสุด 14 ปี 11 เดือน SD 4 ปี 6 เดือน) ไม่มีโรคประจำตัว จำนวน 228 คน คิดเป็นร้อยละ 89.8 ไม่ได้รับวัคซีน คิดเป็นร้อยละ 73.6 ความรุนแรงของอาการของโรคของผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรุนแรงในระดับรุนแรงน้อย คิดเป็นร้อยละ 72.4 รองลงมาคือ รุนแรงปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 17.7 อาการที่พบส่วนใหญ่คือไข้ ร้อยละ 63 ไอ ร้อยละ 47 ได้ทำ CXR คิดเป็นร้อยละ 55.9 พบผลเอกซเรย์ผิดปกติร้อยละ 21.2ส่วนใหญ่ ได้รับการรักษาตามอาการ คิดเป็นร้อยละ 56.7 วิเคราะห์สถิติพบความสัมพันธ์พบว่า อายุ และการได้รับวัคซีนโควิด มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของอาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p- value < 0.05)


คำสำคัญ : ผู้ป่วยโรคโควิด 19; จังหวัดนครราชสีมา

This Cross-sectional analytical study aimed to study severity of symptoms and factors associated with the symptoms of pediatric patients diagnosed with COVID infection in Khonburi Hospital, Nakhon Ratchasima, who come to receive services at the hospital from 1 July 2021 - 30 June 2022. The sample used in the study was 254 patients under 15 years of age who were diagnosed with COVID-19. A simple random sampling method the tool used for data collection is a questionnaire from medical record It was analyzed by using descriptive Statistics and Chi-square Tests.

Results Personal factors and clinical characteristics were male (59.4%). The average ages is 7 years 3 day old (range3 day-14 years old SD 4year 5 month), no underlying diseases.(89.8%), did not receive the vaccine (73.6%). The severity of the symptoms of the disease in children infected with the 2019 coronavirus in the sample was mostly mild at 72.4 percent, followed moderate symptom 17.7% Most symptom had fever 63%, cough 47% CXR found abnormality 21.2% (CXR was done 55.9 % from all) Mostly patient received supportive treatment 56.7 % The relationship analysis found that age and covid vaccine received were significantly associated with severity of symptom (p- value < 0.05).


keywords : Covid 19; Nakhonratchasima

อ้างอิง


[1] Sharma A, Ahmad Farouk I, Lal SK. COVID-19: A Review on the Novel Coronavirus Disease Evolution, Transmission, Detection, Control and Prevention. Viruses 2021; Jan 29;13(2): 202.

[2] Melo MM, Neta MMR, Neto ARS,et al. Symptoms of COVID-19 in children. Braz J Med Biol 2022; 13(55) : e12038.

[3] Qi K, Zeng W, Ye M, Zheng L, et al. Clinical, laboratory, and imaging features of pediatric COVID-19: A systematic review and meta-analysis. Medicine (Baltimore) 2021; 100(15):e25230.

[4] Dong Y., Mo X., Hu Y.,et al. Epidemiological characteristics of 2143 Pediatric patients with 2019 coronavirus disease in China. Journal 2020; 10 : 2020 – 0702.

[5] Livingston E., Bucher K. Coronavirus disease 2019 (COVID-19) in Italy. Journal 2020; 10: 4344.

[6] Choi JH, Choi SH, Yun KW. Risk Factors for Severe COVID-19 in Children: A Systematic Review and Meta-Analysis. J Korean Med Sci 2022; 37(5) : e35.

[7] Sacco C, Del Manso M, Mateo-Urdiales A,et al. Italian National COVID-19 Integrated Surveillance System and the Italian COVID-19 vaccines registry. Effectiveness of BNT162b2 vaccine against SARS-CoV-2 infection and severe COVID-19 in children aged 5-11 years in Italy: a retrospective analysis of January-April. Lancet 2022; 400(10346) : 97 – 103.

[8] Ochani R, Asad A, Yasmin F, et al. COVID-19 pandemic: from origins to outcomes. A comprehensive review of viral pathogenesis, clinical manifestations, diagnostic evaluation, and management. Infez Med 2021; 29(1) : 20 – 36.

[9] ณัฐจิรา ตั้งสุขสมบูรณ์. การศึกษาอาการแสดงและปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรคโควิด 19 ในเด็ก ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอินทร์บุรีจังหวัดสิงห์บุรี. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี 2566; 3(3) : 61 - 73.

ดาวน์โหลด