บทความวิจัย



การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา  Development of a participation model for the community health network in the prevention and control of dengue hemorrhagic fever, Thepalai Subdistrict, Kong District, Nakhon Ratchasima Province.

มนัส รอดวินิจ
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวัด . คง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์โดยเพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพชุมชน ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลเมืองเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ภาคีสุขภาพชุมชน จำนวน 87 คน โดยเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า (1) การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและการวางแผน พบว่า ความรู้เกี่ยวกับไข้เลือดออกโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.60 มีการดำเนินการจัดทำกลยุทธ์การดำเนินการป้องกันก่อนเกิดโรค การดำเนินการควบคุมขณะเกิดโรค และกิจกรรมพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชน (2) การปฏิบัติตามแผน เป็นการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่กำหนดไว้ เช่น พัฒนาศักยภาพชุมชนแบบเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน สนับสนุนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง และประสานงานและสนับสนุนหน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการด้านกฎหมายในการป้องกันควบคุมโรค รวบรวมข้อมูล เป็นต้น (3) การสังเกตผล กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกก่อนและหลังดำเนินการ ปรับปรุงและวางแผนปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅= 3.61) และ (X ̅= 3.82) ส่วนการมีส่วนร่วมก่อนและหลังการจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅= 3.79 และ (X ̅= 3.77) ด้านเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการ ค่าเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P-value < .05 (4) การสะท้อนผล โดยการทบทวนเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรค มีการดำเนินการจัดทำกลยุทธ์การดำเนินการป้องกันก่อนเกิดโรค การดำเนินการควบคุมขณะเกิดโรค การตั้งรับและเชิงรุกในการเกิดการระบาด โดยกิจกรรมพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชน ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ภาคีสุขภาพชุนชน มีเจตคติต่อการมีส่วนร่วมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ข้อเสนอเชิงนโยบาย อำเภอควรกำหนดเป็นนโยบาย ในการพัฒนากิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบหุ้นส่วนหรือหลักการมีส่วนร่วมกับภาคีสุขภาพชุมชน เพื่อให้เกิดกระบวนการดำเนินการร่วมกัน


คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม; เครือข่ายสุขภาพชุมชน; การป้องกันโรคไข้เลือดออก; การควบคุมโรคไข้เลือดออก

This research is action research. The objective is to develop a participation model for the community health network in the prevention and control of dengue hemorrhagic fever in Thepalai Subdistrict, Kong District, Nakhon Ratchasima Province. The sample group included 87 community health partners. The research instruments were questionnaires, while the data was analyzed using descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation.

According to the study findings, (1) problem situation analysis and planning revealed that, on average, 64.60 percent of participants had knowledge about dengue hemorrhagic fever, which was at a moderate level. A strategy has been developed to prevent disease before it occurs. Control operations during disease outbreaks and activities to develop the participation process of networks and communities. (2) Implementation of the plan It is an operation according to the action plan for prevention and control of dengue hemorrhagic fever that has been established, such as developing community potential by emphasizing public participation, supporting the building of strong communities, and coordinating and supporting local administrative organizations. To gather data, establish regulations, and implement legal measures for the prevention and control of disease. (3) Observation of results: The sample group had a level of knowledge about dengue hemorrhagic fever before and after the intervention. Improved and planned operations to prevent and control dengue hemorrhagic fever overall at a high level (X ̅= 3.61) and (X ̅= 3.82). As for participation before and after creating the dengue hemorrhagic fever prevention and control plan, the overall level was at a high level (X ̅= 3.79 and (X ̅= 3.77). Comparing before and after implementation, the mean value was significantly higher (P-value <.05.). (4) Reflection of results by reviewing to solve problems or obstacles. A strategy has been developed to prevent disease before it occurs. Control operations during disease, being proactive in outbreaks by activities to develop the participation process of networks and communities. To prevent and control dengue hemorrhagic fever. The Community Health Alliance has an attitude towards participating in the prevention and control of dengue fever. at the level of strongly agreeing. Policy proposals, that is, the district should set it as a policy in developing activities to prevent and control dengue hemorrhagic fever using partnerships or principles of participation with community health partners, in order to create a joint operating process.


keywords : Participation; Community Health Network; Prevention of dengue hemorrhagic fever; Control of dengue hemorrhagic fever

อ้างอิง


[1] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของจังหวัดนครราชสีมา2565. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2565. (เอกสารอัดสำเนา).

[2] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของจังหวัดนครราชสีมา2556. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2556. (เอกสารอัดสำเนา).

[3] สำนักนโยบายและแผนงานสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางและมาตรการด้านกฎหมายในการป้องกันควบคุมโรค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

[4] มานิตย์ ไชยพะยวน. การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลาย อำเภอนิคมน้ำอูนจังหวัดสกลนคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2546.

[5] สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก คปสอ.คง จังหวัดนครราชสีมา ของปี 2564. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคง; 2564. (เอกสารอัดสำเนา).

[6] สุภควดี ธนสีลังกูร. การมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเป็ด จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2545.

[7] จ่าเอกกิตติ ยิ้มสงวน. การรับรู้ของประชาชนต่อการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. [การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ]. กรุงเทพฯ ; มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2553.

[8] นิรุจน์ อุทธา และคณะ. รูปแบบการควบคุมโรคและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; 2547.

[9] สมหวัง ซ้อนงาม. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขพิษณุโลก 2547; 2 (5) : 15 – 24.

[10] ไพบูลย์ กาญจนบัตร สังคม ศุภรัตนกุล และศรีสวัสดิ์ พรหมแสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมลูกน้ำยุงลายของประชาชนในจังหวัดหนองบัวลำภู. หนองบัวลำภู: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู; 2546.

[11] อรทัย ก๊กผล. การมีส่วนร่วมของประชาชน. มูลนิธิปริญญาโทสำหรับนักบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (EPAF); 2546.

ดาวน์โหลด