บทความวิจัย



กรณีศึกษาความสัมพันธ์ของชุมชนกับการมีส่วนร่วมจัดระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะพึ่งพิง ตำบลหนองขาม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา  A Case Study of Community Relationships and Participation in Organizing a Care System for Dependent on patients in Nongkham Subdistrict, Chakkarat District Nakhon Ratchasima Province

ไพบูลย์ ขมโคกกรวด
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองขาม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. จักราช. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในพื้นที่ตำบลหนองขาม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา ที่มีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลระยะยาว เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของชุมชนกับการมีส่วนร่วมจัดระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะพึ่งพิง โดยใช้วงจร PAOR ในด้าน (1) บทบาทหน้าที่ (2) การจัดระบบ และ (3) การมีส่วนร่วมในการจัดระบบบริการ การดูแลผู้ป่วยภาวะพึ่งพิง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 92 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุของกรมการแพทย์ และแบบสอบถามเพื่อการสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ ด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสังเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัย พบว่า ทั้ง 2 กุล่ม มีเพศหญิงมากกว่าเพศชาย จากการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุของกรมการแพทย์ กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง มีสุขภาวะในแต่ละด้านดีขึ้น ลดปัญหาเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่จะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และได้รับการดูแลในระดับมากที่สุด ร้อยละ 100.00 สามารถปรับเข้ากลุ่มติดสังคมได้ 15 คน (ร้อยละ 26.32) กลุ่มภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยภาวะพึ่งพิง ระดับมากที่สุด ด้านการจัดระบบบริการ ร้อยละ 80.00 รองลงมา ด้านการมีส่วนร่วม ร้อยละ 77.15 และด้านบทบาทหน้าที่ ร้อยละ 42.86 ข้อเสนอเชิงนโยบาย หน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมรูปแบบการดูแลระยะยาวครบทุกมิติ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนมีแผนการดูแล แผนการรักษาพยาบาลเชิงสังคมสำหรับภาคเอกชน และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสนับสนุนทีมพี่เลี้ยงเพื่อสร้างรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง อย่างต่อเนื่อง


คำสำคัญ : ผู้ป่วยภาวะพึ่งพิง; ระบบการดูแลระยะยาว; การมีส่วนร่วม

This research is action research. In the area of Nong Kham Subdistrict, Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province. that has a health promotion system and long-term care to study the community relationship with participation in organizing a system for caring for dependent patients, using the PAOR cycle (1) roles and responsibilities (2) service system organization (3) Participating in organizing, using purposive sampling method 92 cases, divided into 2 groups: patients with dependency conditions and Relevant network agencies, the research tools is a health assessment/screening form for the elderly of the Department of Medical Services and a questionnaire for interviews. Data were collected by interview. and questions from group discussions. Analyze quantitative and qualitative data Statistics for data analysis were mean, percentage, standard deviation (S.D.) and descriptive analysis from questionnaire, synthesized content from group discussions.

The results showed that: found that both groups had more females than males. From the assessment/screening of the health of the elderly by the Department of Medical Services. Group of patients with dependency better health in each area Reduce problems with complications that will affect daily life. and received the highest level of care, highest level (100.00), able to adjust to the social group, 15 people (26.32), network group participate in the operation of caring for dependent patients. highest level in terms of service system organization highest level (80.00) percent, followed by participation high level (77.15), and roles and responsibilities middling level (42.86). Suggestions for policy Relevant network agencies should promote a model of long-term care in all dimensions with community participation, care plans, and social healthcare plans for the private sector. and the Provincial Public Health Office supports a team of mentors to create a model for caring for dependent patients. Continuously


keywords : Dependency Ratio; Long–term Care; Involvement

อ้างอิง


[1] สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2561.

[2] สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการคาดประมาณประชากรของ ประเทศไทย พ.ศ. 2553 – 2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2562.

[3] กลุ่มสถิติสุขภาพและภาวะทางสังคม. อัตราส่วนพึ่งพิงวัยสูงอายุ 2565. กรุงเทพฯ : กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2565.

[4] มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ เดือนตุลา จำกัด; 2564.

[5] สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. รายงานประจำปี 2563 (Bureau of Elderly Health Annual Report 2020). นนทบุรี : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

[6] Office of Policy and Strategy. International Health Policy Program 2515. Ministry of Public Health, Thailand; 2015.

[7] Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. The Situation of the Thai Elderly Report 2017. Institute for Population and Social Research, Mahidol University and Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute (TGRI). Deuan Tula Printing House; 2017.

[8] สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. แบบฟอร์มสำหรับคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ (Basic Geriatric Screening: BGS) ปี 2564. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

[9] สุวิมล ติรกานันท์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

[10] Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. Victoria: Deakin University Press 1988; (3): 85 – 112.

[11] ยุทธพล เดชารัตนชาติ และยิ่งศักดิ์ คชโคตร. บทบาทในการร่วมพัฒนารูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ 2565; 22(3): 63-80.

[12] ปาณิศา บุณยรัตกลิน ศึกษาการดูแลระยะยาวกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน: บทบาทพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2561; 11(1): 47-59.

[13] รุ่งลาวัลย์ รัตนพันธ์. การพัฒนาระบบการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564; 15(37): 250 – 61.

[14] ชัยยา ปานันท์ และบุญมา สุนทราวิรัตน. ระบบบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง:มุมมองผู้ให้บริการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(1): 887 – 901.

[15] เจริญศรี พงษ์สิมา. รูปแบบการดูแลต่อเนื่องในชุมชนสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2564; 4(2): 1 – 20.

[16] ยุทธพล เดชารัตนชาติ และยิ่งศักดิ์ คชโคตร. รูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 2565: 22(3): 63 – 80.

[17] วรางคณา ศรีภูวงษ์ ชาญยุทธ ศรีภูวงษ์ สุรศักดิ์ เทียบฤทธ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 6(2): 13 – 28.

[18] กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์ ฐิติมา โกศัลวิตร และนฤมล บุญญนิวารวัฒน์. รูปแบบการดูแลระยะยาวแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลดงบัง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยสังคมสาร (มสส.) 2562; 17(1): 1 – 20.

[19] พชรดนัย วัชรธนพัฒน์ธาดา. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืนในการขับเคลื่อนตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการของจังหวัดพิษณุโลก. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 2562; 7(2): 393 - 460.

[20] รมย์ธนิกา ฝ่ายหมื่นไวย์ นิภา กิมสูงเนิน และเขมศ์ณริณี รื่นฤดีภิรมณ์. ศึกษารูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ : คำตอบอยู่ที่ระบบสุขภาพชุมชน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2564; 44(3): 11 – 22.

[21] อนันต์ คำอ่อน. ศึกษาการพัฒนาระบบการดูแลสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พื้นที่นำร่อง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น; 2565.

ดาวน์โหลด