บทความวิจัย



การศึกษาการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองโดยไม่ฉีดสารทึบรังสีด้วยเทคนิคลดปริมาณรังสี โรงพยาบาลปากช่องนานา  A study of dose optimization in computed tomography of the brain without contrast, Pakchongnana Hospital

ประไพพิศ พรมมา* และ อุมาวดี อัฐนาค**
    กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลปากช่องนานา. ปากช่อง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบค่า CTDIvol, DLP และ ED ในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองโดยไม่ฉีดสารทึบรังสีด้วยปริมาณรังสีมาตรฐาน และเทคนิคลดปริมาณรังสี และประเมินคุณภาพโดยรังสีแพทย์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานปริมาณรังสีของผู้รับบริการ ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ PHILIPS รุ่น Incisive CT ขนาด 128 slice ใช้เทคนิคมาตรฐาน และเทคนิคลดปริมาณรังสีแบ่งเป็น 2 กลุ่ม จำนวน 102 ราย ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เทคนิคมาตรฐาน standard dose (120, 350 mAs, UB) กลุ่มที่ 2 เทคนิคลดปริมาณรังสี low dose (120 kV, 300 mAs, UB) ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566

ผลการวิจัย พบว่า ผู้รับบริการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองโดยไม่ฉีดสารทึบรังสีด้วยเทคนิคลดปริมาณรังสีกลุ่มที่ 2 มีค่าเฉลี่ยของปริมาณรังสี CTDIvol เท่ากับ 42.37 mGy ค่าปริมาณรังสี DLP เท่ากับ 956.35 mGy.cm และค่าปริมาณรังสียังผลเท่ากับ 1.81 mSv ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานอ้างอิงของประเทศไทย และลดลงจากเทคนิคมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความพึงพอใจของรังสีแพทย์ต่อคุณภาพของภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองโดยไม่ฉีดสารทึบรังสีด้วยเทคนิคลดปริมาณรังสีกลุ่มที่ 2 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีเยี่ยมร้อยละ 96.10 การใช้เทคนิคลดปริมาณรังสีในการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองโดยไม่ฉีดสารทึบรังสี สามารถลดปริมาณรังสีที่ผู้รับบริการได้รับ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงคุณภาพของภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ได้ควบคู่กันไปด้วย


คำสำคัญ : CTDIvol, DLP; ปริมาณรังสียังผล; คุณภาพของภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

This quasi-experimental research aims to study and compare the CT radiation dose index volume (CTDIvol), radiation dose length product (DLP), and the effective dose (ED) in brain CT scans without contrast media injection with standard radiation doses and techniques to reduce the amount of radiation and quality assessment by a radiologist. Data collection came from the radiation dose reports of patients. With the PHILIPS computerized x-ray machine, the Incisive CT model, size 128 slices, using standard techniques and techniques for reducing the amount of radiation, was divided into 2 groups, totaling 102 cases as follows: Group 1: Standard dose technique (120, 350 mAs, UB). Group 2: Low dose reduction technique (120 kV, 300 mAs, UB) between July 1 and September 30, 2023.

The results of this study found that recipients of computerized tomography of the brain without contrast using the radiation dose reduction technique in Group 2 had a mean CTDIvol dose of 42.37 mGy, a DLP radiation dose of 956.35 mGy.cm, and an effective dose of 1.81 mSv, which was lower than the reference standard of Thailand and decreased from standard techniques with statistical significance. Radiologists satisfaction with the image quality of computerized tomography of the brain without contrast using the radiation dose reduction technique in Group 2 was mostly at the good level of 96.10%. Using techniques to reduce radiation exposure in computerized tomography of the brain without contrast can reduce the amount of radiation that the patient is exposed to. Additionally, consideration should be given to the quality of the computed tomography images.


keywords : CTDIvol, DLP; Effective dose; Quality of CT images

อ้างอิง


[1] The American Association of Physicists in Medicine. AAPM Response in Regards to CT Radiation Dose and its Effects. December 17, 2009. [Online]. (2009). [cited 2023 June 1]. Available from : https://w3.aapm.org/media/releases/CTDoseResponse.php

[2] อัมพร ฝันเซียน. อันตรายจากรังสีและการควบคุม. [ออนไลน์]. (2547). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://medinfo.psu.ac.th/radiology/rt/image/page1/ know/ control.pdf

[3] กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ของประเทศไทย 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด; 2564.

[4] ศิริวรรณ จูเลียง และสายัณห์ เมืองสว่าง. ปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจสมองและช่องท้องด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2556; 6 : 1035 – 41.

[5] ภรภัทร อินพรม. การพัฒนาเทคนิคการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองเพื่อลดปริมาณรังสีในผู้ป่วยที่ต้องสแกนซ้ำ. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://www.cmneuro.go.th> research.

[6] Samue Anim-Sampong, Benard Ohene-Botwe, Esther Boatemaa Adom, et al. Dose optimization of adult head computed tomography examination in an academic hospital in Ghana. [Online]. (2022). [cited 2023 June 1]. Available from : https://www.sciecedirect.com sciencedirect/science/article/pii/S0969806X22007988.

[7] วัฒนา วงษ์ศานนท์ จิรันธนิน เภารอด เพชรากร หาญพานิชย์ และคณะ. การศึกษาค่าผลคูณปริมาณรังสีตลอดความยาวของการสแกนจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563; 35(4) : 433 – 7.

[8] ICRP Publication. Recommendation of the International Commission on Radiological Protection. Ann. ICP 37 (2-4). [Online]. (2007). [cited 2023 Sep 4]. Available from : https://www.icrp.org/ publication.asp?id=ICRP%20Publication%20103

[9] Pooja Shah, Amish Sharma, Jayanti Gyawali et al. Dose optimization in computed tomography of brain using CARE kV and CARE Dose 4D. [Online]. (2018). [cited 2023 May 1].Available from : https://journals.oslomet.no/index.php/ radopen/article/download/3110/3062/11232

[10] European Commission’s Radiation Protection Actions. European guidelines on quality criteria for computed tomography [Internet]. [cited 2023 Mar 9]. Available from: http://www.drs.dk/

guidelines/ct/quality/htmlindex.htm.

ดาวน์โหลด