บทความวิจัย



การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน มีความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคร่วม  Nursing care of Acute Heart Failure with Respiratory Failure and Hypertensive and Coronary Heart Disease Comorbidity

กนกวรรณ เยื้องกลาง
    โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย เพื่อศึกษาการให้การพยาบาล โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็มในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีโรคร่วมและมีการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันที่โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2665 ถึง 31 มีนาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการเจ็บป่วยแบบสมภาษณ์ตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค โรคร่วม การตรวจร่างกาย ผลการตรวจพิเศษทางหัวใจ แผนการรักษา ปัญหาข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล

ผลการศึกษา กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 40 ปี วินิจฉัย NSTEMI with ADHF, HT มีปัญหาการหายใจล้มเหลว Cardiogenic shock ใส่เครื่องช่วยหายใจ ได้รับยา inotrope และvasopressor และติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 48 ปี วินิจฉัย CHF with DM,HT มีปัญหาการแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่อง ร่วมกับมีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ มีเกลือแร่ต่ำ น้ำตาลในเลือดสูง กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มีการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 28 วัน โดยทำการประเมินภาวะสุขภาพด้วยแบบประเมินแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน และนำแนวคิดการพยาบาลของโอเร็มเป็นแนวทางในการวินิจฉัยทางการพยาบาลและให้การพยาบาล ส่งผลให้ปัญหาการพยาบาลได้รับการแก้ไข และจำหน่ายกลับบ้านได้

สรุป จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีปัจจัยเสี่ยงและการดำเนินของโรคที่แตกต่างกัน ดังนั้น พยาบาลจึงต้องวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและมีการประเมินปัญหา เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงพอในการนำมาวิเคราะห์ความสามารถและข้อจำกัดในการดูแลตนเอง เพื่อนำไปวางแผนให้การพยาบาลสอดคล้องกับความต้องการทั้งในระยะที่วิกฤติเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ระยะต่อเนื่อง และการวางแผนจำหน่าย โดยจัดกิจกรรมการส่งเสริมการดูแลตนเองที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจและสามารถจดจำข้อมูลเป็นการพัฒนาความสามารถในการดูแตนเอง


คำสำคัญ : ภาวะหัวใจล้มเหลว; การพยาบาล; การกลับมารักษาซ้ำ

This study is a comparative study of 2 cases to study nursing care by applying Orem theory of nursing and knowledge of pathophysiology, medical knowledge in the care of acute heart failure patients with comorbidities and who are readmitted to hospital at the male internal medicine ward at Debaratana Nakhonratchasima Hospital between December 14, 2022 and March 31, 2023 by collecting data including the general record and illness information form. Interview according to the Gordon Health concept was applied. Data were analyzed by comparative analysis, risk factors for disease, comorbidities, physical examination, results of echocardiography, medical treatment and nursing diagnoses.

Results: Case study 1: A 40-years-old Thai male patient diagnosed with NSTEMI with ADHF, HT had respiratory failure, cardiogenic shock, was put on a ventilator, received inotrope and a vasopressor and urinary tract infection. Case study 2: A 48-years-old Thai male patient diagnosed with CHF with DM, HT impaired gas exchange on HFNC, influenza infection, low in minerals and high blood sugar. In both cases studies, they had re-admitted within 28 days. Health status was assessed using the Gordon Health concept. And there is the use of the Orem’s nursing conceptual framework as a guideline for nursing diagnosis and nursing care. As a result, nursing problems are resolved and discharged.

Conclusion: This study shows that heart failure patients have different risk factors for disease and disease progression. Therefore, nurses must analyze risk factors and assess problems in order to obtain sufficient information to analyze the ability and limitations of self-care in order to plan nursing care in line with the needs during critical periods to keep patients safe, continuation discharge planning by organizing activities to promote effective self-care so that patients can gain confidence and be able to remember information to develop the ability to take care of themselves.


keywords : Congestive Heart failure; nursing; Readmission

อ้างอิง


[1] กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2564. นนทบุรี : กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

[2] สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ : เนคสเตป ดีไซน์; 2562.

[3] ศุภวัลย์ เลิศพงศ์ภาคภูมิ เจนเนตร พลเพชร และจอม สุวรรณโณ.ปัจจัยทำนายการกลับเข้ามารักษาซ้ำภายในช่วงเวลา 1 ปี หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2562; 2: 126 – 40.

[4] โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. งานเวชระเบียน. สถิติผู้รับบริการโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา พ.ศ.2565. นครราชสีมา : โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา; 2565.

[5] ภณธนวัฒน์ สุทธิวาทนฤพุฒิ.การดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังโดยการจัดตั้งคลินิกหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลบ้านโป่ง.วารสารการแพทย์เขต 4 – 5 2565; 1: 645 – 56.

[6] ไวยพร พรมวงค์ จรูญศรี มีหนองหว้า สุมิตรา วีระกุล และวิไลวรรณ ปลูกเจริญ. ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในคลินิกหัวใจล้มเหลวโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 2564; 5: 373 – 86.

[7] Gordon, M. Manual of Nursing Diagnosis 1995 – 1996. St.Louis: Mosby; 1995.

[8] ดวงใจ บุญคง และอภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้แผนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลตติยภูมิ. รามาธิบดีเวชสาร 2564; 2: 202 – 15.

[9] สมจิต หนุเจริญกุล. การดูแลตนเองศาสตร์และศิลปทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: บริษัทวิศิฏสิน; 2534.

[10] อรวิกาญจน์ ชัยมงคล สริญญา ภูวนันท์ และศุทธิจิต ภูมิวัฒนะ. บทบาทพยาบาลใน การดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ณ หน่วย บริการผู้ป่วยนอก. วชิรสารการพยาบาล 2565; 1:75 – 95.

[11] วาสนา รวยสูงเนิน ดลวิวัฒน์ แสนโสม มะลิวรรณ ศิลารัตน์ และคณะ. การพัฒนาเครื่องมือสำรวจความต้องการและการจัดการรายกรณีสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2564; 2: 135 – 51.

[12] อุไรวรรณ ศรีมาดา ทัศนีย์ แดขุนทด และศักดิ์ศิธร พูนชัย. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ณ คลินิกหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2563; 1: 38 – 51.

ดาวน์โหลด