บทความวิจัย



ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา  Factors related to Quality of life of Patients post Covid Syndrome Khlong Phai Subdistrict, Sikhio District, Nakhon Ratchasima Province

พัชรากร เฝือสูงเนิน
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองไผ่ . สีคิ้ว. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ป่วยอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่เคยได้รับการวินิจฉัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปนับจากวันที่พบเชื้ออยู่ในพื้นที่ตำบลคลองไผ่ จำนวน 350 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยภายหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในภาพรวม อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 67.5 ( X ̅=96.25, S.D.=20.22) องค์ประกอบคุณภาพชีวิตรายด้าน พบว่า ด้านร่างกาย อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 82.0 ด้านจิตใจ อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 66.3 ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 61.4 ด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 66.3 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยคุณลักษณะทั่วไปและด้านสุขภาพ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพหลัก รายได้ การศึกษา ลักษณะครอบครัว ดัชนีมวลกาย การได้รับวัคซีน จำนวนครั้งของการติดเชื้อ ความเมื่อยล้า ความอ่อนเพลีย ภาวะนอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนปัจจัยโรคประจำตัว ความจำเสื่อม ภาวะเหนื่อยหอบ ภาวะวิตกกังวล ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


คำสำคัญ : ปัจจัย; คุณภาพชีวิต; ผู้ป่วยภายหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

A cross-sectional analytical method applied in this study aims to examine the characteristics and factors related to the quality of life of patients with post-COVID-19 in Khlong Phai Sub-district, Sikhio District, Nakhon Ratchasima Province. The sample group consisted of individuals aged 20 years and above, who had previously been diagnosed with COVID-19 at least 3 months prior to the date when the virus was detected in the Khlong Phai Sub-district area. The sample size of 350 participants by Simple random sampling. Data collection by interview on factors related to patients who have had contact with COVID-19. Data analysis encompassed descriptive statistics, including percentage, mean, standard deviation, and chi-square analysis.

The research findings indicated that the overall quality of life of patients with post-COVID-19 was at a moderate level 67.5%. In terms of the physical aspect a moderate quality of life 82.0%. In terms of mental well-being a moderate quality of life 66.3% Regarding social relationships a moderate quality of life 61.4% Concerning the environment a moderate quality of life 66.3%. The test, it was found that general characteristics and health-related factors, such as gender, age, marital status, primary occupation, income, education level, family structure, body mass index, vaccination status, the number of COVID-19 infections, fatigue, weakness, insomnia, and depression, were statistically significantly correlated with the quality of life level among patients with post-COVID-19 (p< 0.05). As for the factors of medical conditions, memory impairment, shortness of breath, and anxiety, there was no statistically significant correlation with the quality-of-life level among patients with post-COVID-19.


keywords : Factors; Quality of life; Patients with post-COVID-19

อ้างอิง


[1] แพทย์โรคติดเชื้อและระบาดวิทยา.ความรู้พื้นฐาน COVID-19. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http:// phoubon.in.th/covid20%รามา.pdf

[2] World health organization. Director-General opening remarks at the media briefing on COVID-19. [Online]. (2021). [cited 1 June 2022]. Available from https://www.who.int/directorgeneral/speeches/detail/who-director-general-s-opening-remarks-at-the-media-briefing-on-covid-19---7-october-2021

[3] Sandra Lopez Leon, Talia Wegman Ostrosky, Carol Perelman, Rosalinda Sepulveda, Paulina A. Rebolledo, Angelica Cuapio & Sonia Villapol. More than 50 long term effects of COVID-19: a systematic review and meta analysis. [Online]. (2021). [cited 30 June 2022]. Available from http://www. nature. Com /scientificreports

[4] พัชรากร เฝือสูงเนิน. แบบประเมินตนเอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองไผ่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา; 2565.

[5] กรมการแพทย์. แนวปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หลังรักษาหาย (Post COVID syndrome) หรือ ภาวะ Long COVID สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://covid19.dms.go.th/Content/Select _ Landding_page ?contentId=157

[6] World Health Organization. Programmed on mental health: WHOQOL Measuring quality of life. Geneva: WHO; 2002.

[7] Yamane T. Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. New York : Harper & Row; 1973.

[8] Morin, C. M. Insomnia Severity Index (ISI) [Database record]. APA PsycTests; 1993.

[9] บรรพต ปานเคลือบ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดภูเก็ต. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https:// www.vachiraphuket.go.th/vchpk-health-and-public-health-sciences-journal/

[10] วิทยา ชินบุตร และนภัทร์ ภักดีสรวิชญ์. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564; 6(2): 304 – 18 .

[11] Yoonjung Kim, Sohyun Bae , HyunHa Chang & Shin, Woo Kim. Long COVID prevalence and impact on quality of life 2 years after acute COVID-19. Scientifc Reports 2023; 13 : 11207.

[12] สุพิชญา วงศ์วาสนา. ปัจจัยผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายการโดยสาร กรณีศึกษา บริษัทบางกอกไฟลท์เซอร์วิสเซส จำกัด. วารสารรัชต์ภาคย์ 2564; 15(39): 15 – 30.

ดาวน์โหลด