บทความวิจัย



การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมระดับความสุขของบุคลากรด้านสุขภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี  Development of a Model for Promoting the Happiness levels of Health Personnel in Primary care Networks in Sao Hai District, Saraburi Province

สมพงษ์ สุกใส
    สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสาไห้. เสาไห้. สระบุรี. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์ระดับความสุขของบุคลากรด้านสุขภาพ (2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมระดับความสุขของบุคลากรด้านสุขภาพ (3) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมระดับความสุขของบุคลากรด้านสุขภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินความสุขด้วยตนเอง จำนวน 222 คน การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน และการสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 1 จำนวน 10 คน การสนทนากลุ่มครั้งที่ 2 จำนวน 14 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ค่าสถิติที่ใช้ คือ ความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดหมวดหมู่ข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า (1) บุคลากรด้านสุขภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 82.43 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 36.49 ปฏิบัติงานตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพคิดเป็นร้อยละ 32.43 โดยก่อนการดำเนินงานวัดระดับค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมากที่สุด คือ ครอบครัวดี คิดเป็นร้อยละ 73.10 และค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สุขภาพเงินดี คิดเป็นร้อยละ 52.03 (2) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมระดับความสุขของบุคลากรด้านสุขภาพ สามารถอธิบายได้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดวัตถุประสงค์กำหนดรูปแบบหรือวิธีการ ดำเนินการตามแผน ประเมินผล และสรุปผล การนำกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (A-I-C) เข้ามาผนวกในการดำเนินงาน (3) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมระดับความสุขของบุคลากรด้านสุขภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ คือ SAOHAI Model คือ (3.1) ผู้บริหารต้องสนับสนุนกิจกรรมสร้างความสุขต่าง ๆ คอยกระตุ้นเตือนให้บุคลากรเห็นความสำคัญ (Support) (3.2) ผู้บริหารต้องส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงานให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเหมาะสม (Advance) (3.3) เจ้าหน้าที่ต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามรูปแบบการส่งเสริมระดับความสุขอย่างเคร่งครัด (Officer) (3.4) กิจกรรมส่งเสริมความสุข เป็นกิจกรรมที่กำหนดขึ้น โดยทุกกิจกรรมเกิดจากการออกแบบกิจกรรมร่วมกัน (Activity) (3.5) เพื่อนร่วมงานต้องช่วยเหลือกัน (Help) (3.6) ครอบครัวให้ความสนใจ สนับสนุนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จต่าง ๆ (Interest) รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม สามารถใช้งานได้จริง ข้อเสนอแนะควรนำ SAOHAI Model ไปขยายผลต่อในอำเภออื่น ๆ


คำสำคัญ : รูปแบบ; ระดับความสุข; บุคลากรด้านสุขภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ; การประเมินผล

This research is action research. The objectives are to: (1) study the situation of the happiness levels of health personnel; (2) develop a model for promoting the happiness level of health personnel; and (3) evaluate the results of developing a model for promoting the happiness level of network health personnel. Primary Service Network in Sao Hai District, Saraburi Province. Data collection was carried out with a self-assessment of happiness for 222 people, in-depth interviews with 12 people, a first-group discussion with 10 people, and a second-group discussion with 14 people. Quantitative data analysis Statistics used are frequency, percentage, mean, and qualitative data by categorizing data.

The results of the research found that (1) the majority of health personnel in the primary care network are female (82.43%), who graduated with a bachelor degree. Accounting for 36.49%, they work as registered nurses. Accounted for 32.43 percent. Before the operation, the highest average score for happiness was good family, which accounted for 73.10 percent, and the lowest average score was good health and money, which accounted for 52.03%. (2) Developing a model to promote the happiness level of health personnel. It can be described in five steps: setting objectives, specifying formats or methods, implementing the plan, evaluating results, and summarizing results. Incorporating the participatory planning process (A-I-C) into operations. (3) Development of a model for promoting the happiness level of health personnel in the primary care network, namely the SAOHAI Model, which is (3.1) Executives must support various happiness-creating activities and encourage and remind personnel to see the importance (Support); (3.2) Executives must promote career advancement for subordinates appropriately (Advance); (3.3) Health personnel must be aware of and give importance to strictly following the model for promoting happiness levels (Officer); (3.4) Activities to promote happiness It is a designated activity. All activities are created by designing activities together (Activity); (3.5) colleagues must help each other. (3.6) Family pays attention Support behind various successes (interest). The developed format is appropriate and can actually be used. It is suggested that the SAOHAI model be extended to other districts.


keywords : Model; Happiness level; Primary care Network Health Personnel; Evaluation

อ้างอิง


[1] สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี; 2565.

[2] สิรินทร แซ่ฉั่ว. ความสุขในการทำ งานของบุคลากรเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสื่อและกลุ่มงานสร้างสรรค์เพื่อการใช้งาน. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ)]. กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2553.

[3] Diener, E. Subjective Well-Being. American. Psychologist 2000; 55(1) : 34 – 43.

[4] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. การประเมินดัชนีความสุขของคนทำงาน (Happinometer). สระบุรี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี; 2566.

[5] พรชนก กุลยะ. ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม 2563; 7(1) : 95 – 104.

[6] ไพรัช บำรุงสุนทร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสุขของบุคลากรด้านสุขภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2561;4(1) : 22 - 35.

[7] อมฤต จิระเศรษฐศิริ. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสุข ของบุคลากรโรงพยาบาล ปากเกร็ด. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2557; 4(2) พฤษภาคม สิงหาคม : 118 – 24.

[8] วิทยา บุญเลิศเกิดไกร. รูปแบบทางเลือกในการวิเคราะห์ Happinometer: กรณีศึกษา โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(3) กันยายน - ตุลาคม : s524 - 32.

[9] ประสงค์ โคตรมงคล. การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งความสุขของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอปากชม จังหวัดเลย. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://healthregion10.moph.go.th/ชื่อผล งาน-การพัฒนารูปแ/

[10] ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม. [ออนไลน์]. (2558). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www. prachasan.com/mindmapknowledge/aic. html.

[11] Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2007.

ดาวน์โหลด