บทความวิจัย



ผลของการสร้างเสริมการจัดการตนเองต่อการควบคุมความดันโลหิต,ระดับน้ำตาลในเลือด, ระดับไขมันในเลือด และอัตราการกรองของไต ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสะสมมากกว่า 7 เปอร์เซ็นต์  Effects of Self–Management Support on Hihtht Blood Pressure control, Blood Sugar Level, Blood Lipid level, and Glomerular Filtration Rate among People with DM type 2 with HbA1c more than 7 percent

สุพัฒน์ ลือขุนทด
    โรงพยาบาลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา. ขามทะเลสอ. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ในระดับโลก และประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-Experimental Research) เพื่อศึกษาผลของการสร้างเสริมการจัดการตนเองต่อการควบคุมความดันโลหิต,ระดับน้ำตาลในเลือด,ระดับไขมันในเลือด และอัตราการกรองของไต ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด สะสม มากกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองประชากรที่ศึกษา คือผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดมากกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ ที่เข้ารักษาที่โรงพยาบาลขามทะเลสอ แผนกผู้ป่วยนอก ในลุ่มอายุ 40 – 59 ปี กลุ่มทดลองได้จากการจับสลากได้ทั้งสิ้น 38 ราย ดำเนินการทดลองโดยใช้กรอบแนวคิดการจัดการตนเองของ เครียร์ มาเป็นแนวทางใน

การวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย แผนการสอน ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เครื่องมือวัดระดับน้ำตาลในเลือด วัดระดับไขมัน และวัดระดับการกรองของไต จากห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลขามทะเลสอ ที่ได้รับการสอบเทียบทุกปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันและอัตราการกรองของไต โดยใช้ค่าสถิติที

ผลการวิจัย พบว่า การจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลสะสม ในเลือดสะสมมากกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ พบว่า ค่าความดันโลหิตตัวบน ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ระดับไขมันในเลือด และระดับการกรองของไต ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P< 0.1 แต่พบค่าความดันโลหิตตัวล่างมีค่า p >0.5 แต่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อการลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยในระยะยาว ควรมีการเพิ่มศึกษาการจัดการตนเองของผู้ป่วยในระยาวต่อไป


คำสำคัญ : ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2; การจัดการตนเอง

diabetes and high blood pressure It is a chronic non-communicable disease that is an important public health problem worldwide and in Thailand. This research is a quasi-experimental research. (Quasi-Experimental Research) To study the effect of self-management promotion on blood pressure levels, blood sugar levels, blood lipid levels. and glomerular filtration rate In patients with type 2 diabetes with cumulative blood sugar levels more than 7 percent The single group was measured before and after the study population trials. This was a type 2 diabetes patient with a blood sugar level greater more than 7 percent who was admitted to Kham Thale So Hospital. Outpatient department in the age group 40 – 59 years. A total of 38 samples were drawn by lottery. The experiment was conducted using the self-management framework. Of Creer. A guideline for research The experimental instrument consisted of a lesson plan, which was examined for structural validity and content. From 3 experts. Blood sugar measurement tools. measure the fat level and measure the glomerular filtration level from the laboratory of Kham Thalesor Hospital is calibrated every year The data were analyzed by distribution of frequency, percentage, mean and standard deviation. Compare average blood sugar levels. lipid levels and glomerular filtration rate using statistical values.

The results of this study found that self-management of type 2 diabetic patients with accumulated blood sugar levels of more than 7 percent found that systolic blood pressure values Blood sugar levels, blood lipid levels, and kidney filtration levels Decreased with statistical significance, P < 0.1, but diastolic blood pressure values were found to have a value of p > 0.5, but tended to decrease. This will result in reducing complications for patients in the long term. Long-term studies of self-management of inpatients should be added.


keywords : type 2 diabetes patient; self-management

อ้างอิง


[1] สามคมโคไตแห่งประเทศไทย. คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: บรัษัท ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต จำกัด; 2555.

[2] สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย,กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. ปทุมธานี : บริษัทร่มเย็นมีเดีย จำกัด; 2560.

[3] สมาคมเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (America Diabetes Association, ADA 2013) ของโชติกา สัตนาโค และ จุฬาภรณ์ โสตะ; 2560.

[4] วิชัย เทียนถาวร. เอกสารนำเสนอจาราจรปิงปอง 7 สี. [ออนไลน์]. (2565). [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ 2556]. เข้าถึงได้จาก http://www.moph.go.th/ ops/iprg/ include/admin_hotnew/show_hotnew.php ?idHot_new

[5] Holt, Richard and Hanley, Neil, Essential endocrinology and diabetes. 5th revised edition, Massachusetts : Blackwell Publishing ; 2007.

[6] Creer, L. T. Self-management of chronic illness. Handbook of self-regulation; 2002.

[7] Wagner, E. H, et al. Quality improvementin chronic illness care: A collaborativeapproach. Joint Commission Journal on Quality Improvement 2001; 27(2) : 63 – 80.

[8] Wattana, C.Self-management Support: Strategies for Promoting Disease Control. Journal of Phrapokklao Nursing College Vol.26 Suppl.1 September 2015; 16(1) : 117 – 27.

[9] Creer, T. L., & Holroyd, K. A. Selfmanagement. In Baum, A., McManus, C.,Newman, S., Weinman, J., & West, R. (Eds.).Cambridgehandbookofpsychology, health, andbehavior. Cambridge: Cambridge University Press; 1997.

[10] โชติกา สัตนาโค และ จุฬาภรณ์ โสตะ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2564; 11(1) : 66 – 78.

[11] อารีย์ เสนีย์. โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง.วารสารการพยาบาลทหารบก 2557; 15 (2) : 129 – 34.

[12] ประพิมศรี หอมฉุย ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร และชญานินท์ ประทุมสูตร. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้าตาลในกระแสเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2563; 12(1) : 240 – 54.

[13] อุษนีย์ รามฤทธิ์.การพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวา . วารสารสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน กาฬสินธุ์ 2564; 6(3) : 29 – 37.

[14] นุสรา วิโรจนกูฎ. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้ การจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดและการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560; 31(1) : 41 – 8.

[15] Jekel JF, Katz DL, Elmore JG. Epidemiology, Biostatistics and Preventive Medicine – Second edition. Place of publication: W. B. Saunders Company; 2001.

ดาวน์โหลด