บทความวิจัย



การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลโนนประดู่ อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา  The Development of Health Promotion Guidelines for the Elderly in Non Pradu Subdistrict, Sida District, Nakhon Ratchasima Province

พัชรณัญญ์ พุฒกลาง
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนประดู่ อำเภอสีดา. สีดา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ และประเมินผลแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลโนนประดู่ อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้สูงอายุ จำนวน 255 คน (2) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 5 คน และ(3) ภาคีเครือข่าย จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้สูงอายุ ตำบลโนนประดู่ อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา ก่อนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ พบความผิดปกติในช่องปาก คือ ตัวฟันผุจนเหลือแต่ราก คิดเป็นร้อยละ 78.82 ลักษณะอาการปวดเข่า มักเป็นอาการปวดลึก ๆ ที่เข่าเล็กน้อย เฉพาะเวลาขยับตัวหรืออยู่ในบางท่าเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 38.43 โดยภาพรวมยังไม่พบอาการผิดปกติ คิดเป็นร้อยละ 83.92 มีระดับสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป (Fair) คิดเป็นร้อยละ 48.24 และไม่พบภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ซึ่งภายหลังจากเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า สุขภาพของผู้สูงอายุดีขึ้นตามลำดับ (2) การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุต้องออกกำลังกายให้เหมาะสม รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุต้องมีความเหมาะสมและเกิดจากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยมีการดำเนินงานตามกระบวนการวงจร PDCA ได้แก่ การวางแผน ดำเนินการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประมวลผลข้อค้นพบ ปรับปรุงข้อค้นพบ (3) ประเมินผลแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุภายใต้ PRADU model สามารถใช้งานได้จริงมีความเหมาะสม สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตำบลที่มีบริบทใกล้เคียงได้ ข้อเสนอแนะ คือ ควรเพิ่มเติมความรู้การส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง


คำสำคัญ : การส่งเสริมสุขภาพ; ผู้สูงอายุ; การประเมินผล

This is action research; the objective is to study the situation of health promotion for the elderly, develop guidelines for promoting the health of the elderly, and evaluate guidelines for promoting the health of the elderly in Non-Pradu Subdistrict, Sida District, Nakhon Ratchasima Province. The research sample was divided into 3 groups: (1) the elderly, 255 people; (2) medical and public health personnel, 5 people; and (3) network partners, 30 people. Research instruments include questionnaires, in-depth interviews, and group discussions. Quantitative data analysis using descriptive statistics, including frequency, percentage, and mean. The qualitative data section analyzed the data by classifying and grouping it.

The results found that (1) the elderly in Non Pradu Subdistrict, Sida District, Nakhon Ratchasima Province Before entering the project to promote the health of the elderly, it was found that problems in their mouths retained dental roots (78.82%). The characteristics of knee pain It is usually a slight, deep pain in the knee. Only when moving or in certain positions were 38.43%. Overall, no abnormal symptoms were found (83.92 %), the mental health level was the same as that of the general population (fair level), accounting for 48.24 %, and depression status was not found in this elderly group. After participating in the research to promote the health of the elderly. It was found that the health of the elderly improved. (2) The development of guidelines for promoting the health of the elderly found that elderly people need to exercise properly and consume food from all 5 food groups, and health promotion activities for the elderly must be appropriate, involve participation from all sectors, and be carried out according to the PDCA cycle process, including planning and conducting studies of related literature, process findings, and improved findings. (3) Evaluate guidelines for promoting the health of the elderly under the PRADU model as being practical and appropriate. Can be applied to sub-districts with a similar context. The recommendation is that knowledge on health promotion for the elderly should be continuously increased.


keywords : Health Promotion; Elderly People; Evaluation

อ้างอิง


[1] สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : http:// www.stopcorruption.moph.go. th/application/editors/userfiles/files/(ร่าง) %20แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ%20ฉบับที่%2013.pdf

[2] Cowgill, D. O. Aging around the world, Belmont, CA: Wadsworth; 1986.

[3] โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลโนนประดู่. ข้อมูลผู้สูงอายุ. นครราชสีมา : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนประดู่. สำเนาอัด; 2565.

[4] Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass, 2007.

[5] Yamane, T. Statistic: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row; 1973.

[6] กรมอนามัย. รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทยปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสิรมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. นนทบุรี: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี; 2559.

[7] Dawson, G., & Lewy, Arousal, attention, and the social impairments of individuals with autism. In G. Dawson (ed.), Autism : Nature, diagnosis, and treatment. New York : Guilford; 1998.

[8] อภิชัย มงคล และคณะ. การศึกษาสุขภาพจิตคนไทย พ.ศ.2550. ขอนแก่น : พระธรรมขันต์; 2550.

[9] กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q). [ออนไลน์]. (2557). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://mhso.dmh.go.th/fileupload/ 202301161 330193317.pdf

[10] รณกร เส็งสอน. พฤติกรรมการใช้เวลาว่างและสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายก. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการกีฬาและนันทนาการ]. นครนายก : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.

[11] นัสมล บุตรวิเศษ และอุปริฏฐา อินทรสาด. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา; 2564.

[12] นิรุวรรณ เทิร์นโบล์ วิลาวัณย์ ชาดา วิพา ชุปวา และคณะ. ภาวะสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563; 30(3) กันยายน - ธันวาคม 2563 : 35 – 49.

[13] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. PDCA เครื่องมือในการจัดการคุณภาพ [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : http ://psdg.mnre.go.th/ckeditor/upload/files/ id147/ KM/PDCA_28_29_ก_ย_2560_กพร_ทส.pdf

ดาวน์โหลด